You are on page 1of 130

งบประมาณโดยสังเขป ประจำปงบประมาณ พ.ศ.

๒๕๕๔
งบประมาณ
โดยสังเขป
ประจำปงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔

สำนักงบประมาณ
สำนักนายกรัฐมนตรี

สำนักงบประมาณ
สำนักนายกรัฐมนตรี
ภาพพระราชทาน
คำ�นำ�
งบประมาณโดยสังเขปฉบับนี้มีความมุ่งหมายที่จะแสดงรายละเอียดสาระส�ำคัญ
โดยสรุปของงบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ซึ่งเป็นทั้งแผนการใช้จ่าย
เงินแผ่นดิน และแผนการบริหารการเงินการคลังของรัฐบาล โดยประมวลข้อมูลส�ำคัญของ
เอกสารงบประมาณซึง่ มีจำ� นวนหลายเล่มและมีรายละเอียดจ�ำนวนมากมารวมไว้ ในเล่มเดียว
เพื่อให้เห็นภาพรวมของการจัดสรรงบประมาณในมิติต่างๆ ได้อย่างชัดเจน สามารถท�ำความ
เข้าใจและสะดวกกว่าการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารงบประมาณประจ�ำปีทั้งชุด โดยได้แบ่ง
เนื้อหาสาระออกเป็น 4 ภาค ดังนี้
ภาค 1 สาระส�ำคัญของงบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554
ภาค 2 ประมาณการรายรับ
ภาค 3 งบประมาณรายจ่าย
ภาค 4 การคลังของรัฐบาล
ส� ำ นั ก งบประมาณหวั งเป็นอย่า งยิ่งว่า เอกสารฉบั บ นี้ จ ะอ� ำ นวยประโยชน์ แ ก่
ส่วนราชการ รัฐสภา วงการศึกษา ประชาชนและผู้ที่สนใจเป็นอย่างดี

ส�ำนักงบประมาณ
สารบัญ
หน้า
ภาค 1 สาระส�ำคัญของงบประมาณรายจ่าย
ประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 1 ถึง 30
1. ภาพรวมแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2554 1
2. นโยบายงบประมาณปี 2554 2
3. โครงสร้างงบประมาณ 3
4. ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่าย
ประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 6
5. การจัดสรรงบประมาณตามงบรายจ่าย 29
ภาค 2 ประมาณการรายรับ 31 ถึง 50
1. รายได้ 31
2. เงินกู้ 32
ภาค 3 งบประมาณรายจ่าย 51 ถึง 95
1. งบประมาณรายจ่ายจ�ำแนกตามลักษณะงานและ
ลักษณะเศรษฐกิจ 51
2. งบประมาณรายจ่ายจ�ำแนกตามกระทรวงและหน่วยงาน 67
3. งบประมาณที่จัดสรรให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 87
4. การผูกพันงบประมาณข้ามปี 89
ภาค 4 การคลังของรัฐบาล 96 ถึง 112
1. ฐานะการคลังของรัฐบาล 96
2. หนี้สาธารณะ 99
3. ความช่วยเหลือจากต่างประเทศ 110
4. เงินและทรัพย์สินช่วยราชการ 112

สารบัญตาราง
ตาราง หน้า
ภาค 1 สาระส�ำคัญของงบประมาณรายจ่าย
ประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554
1 - 1 โครงสร้างงบประมาณ ปีงบประมาณ 2553 - 2554 5
1 - 2 งบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554
จ�ำแนกตามยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ 24
1 - 3 งบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554
จ�ำแนกตามยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณและแผนงาน 25
1 - 4 การจัดสรรงบประมาณตามงบรายจ่ายปีงบประมาณ 2553 - 2554 29

ภาค 2 ประมาณการรายรับ
2 - 1 เปรียบเทียบประมาณการรายรับ 33
2 - 2 ประมาณการรายได้จ�ำแนกตามหน่วยงานที่จัดเก็บ 35
2 - 3 ประมาณการรายได้จ�ำแนกตามกระทรวง 36
2 - 4 เปรียบเทียบประมาณการรายได้กับรายได้ที่จัดเก็บ 39
2 - 5 ประมาณการรายได้จ�ำแนกตามประเภท 40
2 - 6 รายรับจริงจ�ำแนกตามประเภท 41
2 - 7 ประมาณการรายได้จ�ำแนกตามภาค 42
2 - 8 รายได้ประเภทภาษีอากรรวม จ�ำแนกตามหน่วยงานที่จัดเก็บ 43
2 - 9 รายได้ที่ไม่ใช่ภาษีอากร จ�ำแนกตามหน่วยงานที่จัดเก็บ 45
2 - 10 เปรียบเทียบประมาณการรายได้จากภาษีอากรกับภาษีอากรที่จัดเก็บได้ 46
2 - 11 เปรียบเทียบรายได้ที่จัดเก็บกับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ 47
2 - 12 การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 48
2 - 13 เปรียบเทียบเงินกู้จริงภายในประเทศกับรายจ่ายจริงช�ำระคืนต้นเงินกู้ 49
ตาราง หน้า
ภาค 3 งบประมาณรายจ่าย
3 - 1 เปรียบเทียบงบประมาณรายจ่ายจ�ำแนกตามลักษณะงาน 54
3 - 2 งบประมาณรายจ่ายการบริหารทั่วไปของรัฐ 56
3 - 3 งบประมาณรายจ่ายการป้องกันประเทศ 57
3 - 4 งบประมาณรายจ่ายการรักษาความสงบภายใน 58
3 - 5 งบประมาณรายจ่ายการเศรษฐกิจ 59
3 - 6 งบประมาณรายจ่ายการสิ่งแวดล้อม 60
3 - 7 งบประมาณรายจ่ายการเคหะและชุมชน 61
3 - 8 งบประมาณรายจ่ายการสาธารณสุข 62
3 - 9 งบประมาณรายจ่ายการศาสนา วัฒนธรรม และนันทนาการ 63
3 - 10 งบประมาณรายจ่ายการศึกษา 64
3 - 11 งบประมาณรายจ่ายการสังคมสงเคราะห์ 64
3 - 12 งบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ พ.ศ. 2554
จ�ำแนกตามลักษณะงานและงบรายจ่าย 65
3 - 13 งบประมาณรายจ่ายจ�ำแนกตามลักษณะเศรษฐกิจตามระบบ
Government Finance Statistics (GFS) 66
3 - 14 เปรียบเทียบงบประมาณรายจ่ายจ�ำแนกตามกระทรวง 68
3 - 15 งบประมาณรายจ่ายจ�ำแนกตามหน่วยงาน 69
3 - 16 งบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ พ.ศ. 2554
จ�ำแนกตามกระทรวงและงบรายจ่าย 83
3 - 17 เปรียบเทียบงบประมาณรายจ่ายกับเงินเดือนและค่าจ้างประจ�ำ 85
3 - 18 การใช้จ่ายเงินงบประมาณ 86
3 - 19 การจัดสรรรายได้ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปีงบประมาณ
พ.ศ. 2554 88
ตาราง หน้า
3 - 20 ภาระผูกพันงบประมาณข้ามปี ส�ำหรับรายการผูกพัน
ที่จะเริ่มด�ำเนินการในปีงบประมาณ 2554 จ�ำแนกตามกระทรวง 90
3 - 21 ภาระผูกพันงบประมาณข้ามปีทั้งสิ้น จ�ำแนกตามกระทรวง 92
3 - 22 สรุปภาระผูกพันงบประมาณข้ามปีทั้งสิ้น จ�ำแนกเป็นภาระผูกพัน
ที่ได้รับอนุมัติแล้วกับภาระผูกพันที่เสนอขอใหม่ 94

ภาค 4 การคลังของรัฐบาล
4 - 1 ฐานะการคลังของรัฐบาล 97
4 - 2 หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 มกราคม 2553 99
4 - 3 หนี้ภายในประเทศคงค้าง ณ วันที่ 31 มกราคม 2553 101
4 - 4 เงินกู้ภายในประเทศโดยตรงของรัฐบาล 103
4 - 5 หนี้ต่างประเทศคงค้าง ณ วันที่ 31 มกราคม 2553 104
4 - 6 เงินกู้ต่างประเทศโดยตรงของรัฐบาล 107
4 - 7 เงินกู้ต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจซึ่งรัฐบาลค�้ำประกัน 108
4 - 8 แผนการเบิกจ่ายเงินกู้ต่างประเทศประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 109
4 - 9 ความช่วยเหลือจากต่างประเทศ 110
4 - 10 เงินและทรัพย์สินช่วยราชการ 112
สารบัญแผนภูมิ
แผนภูมิ หน้า
ภาค 1 สาระส�ำคัญของงบประมาณรายจ่าย
ประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554
1 - 1 สัดส่วนของโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายตามลักษณะเศรษฐกิจ
ปีงบประมาณ 2530 - 2554 6
1 - 2 งบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554
จ�ำแนกตามยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ 28
1 - 3 สัดส่วนของงบประมาณจ�ำแนกตามงบรายจ่าย
ปีงบประมาณ 2545 - 2554 30

ภาค 2 ประมาณการรายรับ
2 - 1 ประมาณการรายรับ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 34
2 - 2 ประมาณการรายได้สุทธิ จ�ำแนกตามหน่วยที่จัดเก็บ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 38
2 - 3 ประมาณการรายได้ประเภทภาษีอากรรวม
จ�ำแนกตามหน่วยงานที่จัดเก็บ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 44
2 - 4 เปรียบเทียบเงินกู้จริงภายในประเทศกับรายจ่ายจริงช�ำระคืนต้นเงินกู้
ปีงบประมาณ 2538 - 2552 50

ภาค 3 งบประมาณรายจ่าย
3 - 1 งบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ 2553 - 2554
จ�ำแนกตามลักษณะงาน 55
3 - 2 งบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ 2554
จ�ำแนกตามงบรายจ่าย 84
3 - 3 สรุปภาระผูกพันงบประมาณข้ามปีทั้งสิ้น 95
แผนภูมิ หน้า
ภาค 4 การคลังของรัฐบาล
4 - 1 เงินคงคลัง ปีงบประมาณ 2548 - 2552 98
4 - 2 หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 มกราคม 2553 100
4 - 3 หนี้ภายในประเทศ ณ วันที่ 31 มกราคม 2553 102
4 - 4 หนี้ต่างประเทศ ณ วันที่ 31 มกราคม 2553 105
4 - 5 ความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ปีงบประมาณ 2550 - 2552 111
ภาค 1
สาระสำ�คัญของงบประมาณรายจ่ายประจำ�ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554

1. ภาพรวมแนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2554
เศรษฐกิจไทยในปี 2553 คาดว่าจะมีการขยายตัวประมาณร้อยละ 3.5 – 4.5 และ
อัตราเงินเฟ้อประมาณร้อยละ 3.0 – 4.0 ปัจจัยส�ำคัญที่สนับสนุนให้เศรษฐกิจฟื้นตัวอย่าง
ต่อเนื่อง ได้แก่ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะประเทศคู่ค้าใหม่ ในเอเชียที่มีการ
ฟืน้ ตัวมากกว่าทีค่ าดการณ์ ไว้เดิม ส่งผลให้การส่งออกสินค้าและบริการ รวมถึงการท่องเทีย่ ว
กลับมาขยายตัวในอัตราสูงได้ ส�ำหรับการใช้จ่ายในประเทศมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นมากจาก
ปีก่อน และมีการกระจายตัวในแต่ละภาคเศรษฐกิจมากขึ้น โดยที่การบริโภคภาคเอกชน
ปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของรายได้เกษตรกร ซึ่งเป็นผลจากราคาสินค้า
เกษตรในตลาดโลกทีป่ รับตัวสูงขึน้ ประกอบกับการจ้างงานทีเ่ พิม่ ขึน้ และการน�ำเข้าสินค้าทุน
ประเภทเครื่องจักรได้ส่งสัญญาณให้เห็นถึงแนวโน้มการขยายตัวของการลงทุนภาคเอกชน
นอกจากนี้ แรงกระตุน้ จากการใช้จา่ ยของภาครัฐ ส่วนหนึง่ จากการเบิกจ่ายของโครงการภายใต้
แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ที่ยังคงส่งผลอย่างต่อเนื่อง ส�ำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจ
ภายนอกประเทศอยู่ในเกณฑ์ดี โดยทุนส�ำรองระหว่างประเทศอยู่ ในระดับสูง หนี้ต่างประเทศ
อยู่ ในระดับต�่ำ และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล อย่างไรก็ตาม เสถียรภาพภายในประเทศ
มีสัญญาณตลาดแรงงานที่เริ่มตึงตัวขึ้น และมีแรงกดดันให้อัตราเงินเฟ้อปรับสูงขึ้นตาม
การขยายตัวของเศรษฐกิจ และการเพิ่มขึ้นของต้นทุนวัตถุดิบ ปัจจัยที่ต้องพึงระวังในการ
บริหารเศรษฐกิจมหภาคปี 2553 ได้แก่ ความเสี่ยงจากสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ
ที่เพิ่มสูงขึ้นและความเปราะบางของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก อาจส่งผลกระทบต่อ
ความเชื่อมั่น การท่องเที่ยว การบริโภค และการลงทุนได้ นอกจากนี้ เศรษฐกิจอาจได้รับ
แรงกดดันด้านเงินเฟ้อจากความผันผวนของราคาน�้ำมันในตลาดโลก รวมทั้งการแข็งค่า
ของเงินบาทและอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มสูงขึ้น
ส�ำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2554 คาดว่าจะขยายตัวประมาณร้อยละ 3.5 - 4.5
อัตราเงินเฟ้อประมาณร้อยละ 2.0 - 3.0 โดยมีแรงกระตุ้นเศรษฐกิจที่ส�ำคัญจากการขยายตัว
ของการส่งออก อันเป็นผลสืบเนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับ
การด�ำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะที่ผ่านมาของรัฐบาลเป็นปัจจัยสนับสนุนให้เกิด
การบริโภคและการจ้างแรงงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจัยหลักทั้ง 2 ประการดังกล่าวได้ส่งผล
ให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม การใช้ก�ำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้น

1
เกิดการระดมทุนจากแหล่งทุนต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อเร่งรัดการลงทุน
ในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ รวมทั้งส่งผลให้เกิดความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจของ
ผู้บริโภคและนักลงทุนอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ในปี 2554 ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้อง
ระมัดระวัง ได้แก่ แนวโน้มอัตราแลกเปลีย่ นเงินตราต่างประเทศทีอ่ าจส่งผลต่อความสามารถ
ในการแข่งขันด้านราคาสินค้าส่งออกของไทย และการผันผวนของราคาน�้ ำมันที่อาจส่ง
ผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อ รวมทัง้ แนวโน้มอัตราดอกเบีย้ ขาขึน้ ซึง่ จะท�ำให้ตน้ ทุนในการบริโภค
และการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มสูงขึ้นได้

2. นโยบายงบประมาณ ปี 2554
แนวทางการบริหารจัดการเศรษฐกิจมหภาคในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 รัฐบาล
ยังคงให้ความส�ำคัญกับการสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยัง่ ยืน ควบคูก่ บั การเสริม
สร้างความยั่งยืนทางการคลังบนพื้นฐานของการน�ำแนวทางของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เป็นหลักในการพัฒนาและการจัดสรรทรัพยากรของประเทศ ดังนั้น ในการบริหารจัดการ
การใช้จ่ายภาครัฐ จะยึดหลักผลส�ำเร็จของการด�ำเนินงานตามเป้าหมาย ความโปร่งใส
มีประสิทธิภาพ ระมัดระวังปัจจัยเสี่ยงต่างๆ และเพื่อให้สามารถน�ำนโยบายของรัฐบาลไปสู่
การปฏิบัติและเกิดประโยชน์ โดยตรงต่อประชาชน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 จึงก�ำหนด
นโยบายงบประมาณ ดังนี้
1. ด�ำเนินนโยบายงบประมาณขาดดุล ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลัง
เพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
2. เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการเพื่อลดการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ
3. ทบทวนเพือ่ ชะลอหรือยกเลิกการด�ำเนินงานของหน่วยงานของรัฐ (Redeploy)
ที่มีล�ำดับความส�ำคัญลดลงหรือหมดความจ�ำเป็น และสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายได้
4. เพิม่ สัดส่วนรายจ่ายลงทุนในระดับทีเ่ หมาะสมในการสนับสนุนการขยายตัวทาง
เศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
5. สนับสนุนงบประมาณเพือ่ การขับเคลือ่ นยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดและกลุม่
จังหวัดในจ�ำนวนที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ด้านการคลังของประเทศ

2
6. ส่งเสริมการกระจายอ�ำนาจสูท่ อ้ งถิน่ โดยให้ความส�ำคัญกับการเพิม่ ประสิทธิภาพ
ในการจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ และเร่งรัดการถ่ายโอนภารกิจให้ทอ้ งถิน่
ตามนโยบายของรัฐบาล
ภายใต้กรอบนโยบายงบประมาณข้างต้น ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 รัฐบาลจึง
ก�ำหนดให้เป็นงบประมาณขาดดุล โดยก�ำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่าย จ�ำนวน 2,070,000
ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 20.0 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ เพิม่ ขึน้ จากปีงบประมาณ
พ.ศ. 2553 จ�ำนวน 370,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 21.8 และประมาณการรายได้สุทธิ
จ�ำนวน 1,650,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 15.9 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
โดยก�ำหนดเป็นวงเงินกูเ้ พือ่ ชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จ�ำนวน 420,000 ล้านบาท คิดเป็น
สัดส่วนร้อยละ 4.1 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ทัง้ นี้ เพือ่ เป็นเครือ่ งมือในการขับเคลือ่ น
นโยบายและยุทธศาสตร์ส�ำคัญของรัฐบาล สนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจให้ขยายตัวได้
อย่างต่อเนื่องภายใต้ความเสี่ยงจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ รวมทั้งสะท้อนภาระ
ค่าใช้จ่ายที่มีอยู่จริงจากการด�ำเนินนโยบายและมาตรการด้านต่างๆ ของรัฐบาล โดยยังคง
ค�ำนึงถึงการรักษาวินัยทางการคลังและเสถียรภาพทางเศรษฐกิจเป็นส�ำคัญ

3. โครงสร้างงบประมาณ
โครงสร้างงบประมาณปี 2554 มีสาระส�ำคัญสรุปดังนี้
3.1 งบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554
งบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 จ�ำนวน 2,070,000 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 จ�ำนวน 370,000 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 21.8
โดยวงเงินงบประมาณดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.0 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
3.2 รายจ่ายประจ�ำ
รายจ่ายประจ�ำก�ำหนดไว้เป็นจ�ำนวน 1,662,604.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 จ�ำนวน 227,894.1 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.9 โดยรายจ่าย
ประจ�ำดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 80.3 ของวงเงินงบประมาณเทียบกับร้อยละ 84.4
ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2553

3
3.3 รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง
รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลังก�ำหนดไว้เป็นจ�ำนวน 30,346.1 ล้านบาท โดย
รายจ่ายเพือ่ ชดใช้เงินคงคลังจ�ำนวนดังกล่าว คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.5 ของวงเงินงบประมาณ
รวม
3.4 รายจ่ายลงทุน
รายจ่ายลงทุนก�ำหนดไว้เป็นจ�ำนวน 344,495.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 จ�ำนวน 130,126.1 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 60.7 โดยรายจ่าย
ลงทุนจ�ำนวนดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 16.6 ของวงเงินงบประมาณเทียบกับร้อยละ 12.6
ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2553
3.5 รายจ่ายช�ำระคืนต้นเงินกู้
รายจ่ายช�ำระคืนต้นเงินกู้ ได้จัดสรรไว้เป็นจ�ำนวน 32,554.6 ล้านบาท ลดลง
จากปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 จ�ำนวน 18,366.3 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 36.1 โดยรายจ่าย
ช�ำระคืนต้นเงินกู้ดังกล่าวคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.6 ของวงเงินงบประมาณเทียบกับร้อยละ
3.0 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2553
สัดส่วนของโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายตามลักษณะเศรษฐกิจ เปรียบเทียบตัง้ แต่
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2530 - 2554 ปรากฏตามตารางที่ 1 - 1 และแผนภูมิที่ 1 - 1

4
ตารางที่ 1 - 1
โครงสร้างงบประมาณ
ปีงบประมาณ 2553 - 2554
หน่วย : ล้านบาท
ปีงบประมาณ 2553 ปีงบประมาณ 2554
โครงสร้างงบประมาณ เพิ่ม/ลด เพิ่ม/ลด
จำ�นวน จำ�นวน
ร้อยละ ร้อยละ
1. วงเงินงบประมาณรายจ่าย 1,700,000.0 -12.9 2,070,000.0 21.8
(สัดส่วนต่อ GDP) 17.5 20.0
- รายจ่ายประจำ� 1,434,710.1 1.7 1,662,604.2 15.9
(สัดส่วนต่องบประมาณ) 84.4 80.3
- รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง - -100.0 30,346.1 100.0
(สัดส่วนต่องบประมาณ) - 1.5
- รายจ่ายลงทุน 214,369.0 -50.1 344,495.1 60.7
(สัดส่วนต่องบประมาณ) 12.6 16.6
- รายจ่ายชำ�ระคืนต้นเงินกู้ 50,920.9 -20.0 32,554.6 -36.1
(สัดส่วนต่องบประมาณ) 3.0 1.6
2. รายรับ 1,700,000.0 -12.9 2,070,000.0 21.8
(สัดส่วนต่อ GDP) 17.5 20.0
- รายได้ 1,350,000.0 -15.9 1,650,000.0 22.2
(1,522,000.0) (7.9) (8.4)
- เงินกู้ 350,000.0 0.8 420,000.0 20.0
3. ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ 9,726,200.0 7.5 10,358,400.0 6.5
(GDP)

หมายเหตุ 1. ตัวเลขรายได้ ในวงเล็บปีงบประมาณ 2553 เป็นประมาณการปรับปรุง


ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2553
2. ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ณ ราคาประจำ�ปี ตามแถลงภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สี่
ปี 2552 และแนวโน้ม ปี 2553 ของ สำ�นักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2553
ที่มา 1. สำ�นักงบประมาณ
2. กระทรวงการคลัง
3. สำ�นักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

5
แผนภูมิที่ 1 - 1
สัดส่วนของโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายตามลักษณะเศรษฐกิจ
ปีงบประมาณ 2530 - 2554
ร้อยละ
100

80
รายจ่ายประจ�ำ
60

40
รายจ่ายลงทุน
20
รายจ่ายช�ำระคืนต้นเงินกู้ รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง
0
2530 2532 2534 2536 2538 2540 2542 2544 2546 2548 2550 2552 2554

4. ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554


ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 รัฐบาล
ได้ก�ำหนดขึ้นภายใต้กรอบและแนวทางการด�ำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลตามแผนการ
บริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2552 – 2554 เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติราชการตาม
ภารกิจของ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอืน่ ของรัฐให้บรรลุผลส�ำเร็จตามเป้าหมาย
การบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาล เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติ
ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ประกอบ
ด้วย 8 ยุทธศาสตร์และรายการค่าด�ำเนินการภาครัฐ ภายใต้แต่ละยุทธศาสตร์การจัดสรร
งบประมาณและรายการค่าด�ำเนินการภาครัฐ ประกอบด้วยแผนงานรวม 42 แผนงาน สาระ
ส�ำคัญของยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณและแผนงานตามยุทธศาสตร์ โดยสรุป ดังนี้

6
1. ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมั่นของประเทศ
รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายเพื่อส่งเสริมและปลูกจิตส�ำนึกให้ประชาชน
มีความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ สร้างความสมานฉันท์สามัคคีของคนในชาติ
สนับสนุนการแก้ ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เสริมสร้างความเข้มแข็งของ
เศรษฐกิจในระดับฐานรากตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง รวมทัง้ พัฒนาระบบประกันภัย
พืชผล ตลอดจนสนับสนุนการจัดการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน 15 ปี ทัง้ นีไ้ ด้จดั สรรงบประมาณไว้จำ� นวน
ทัง้ สิน้ 161,989 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 7.8 ของวงเงินงบประมาณ โดยจ�ำแนกตาม
แผนงาน ดังนี้
1.1 แผนงานสร้างค่านิยมในการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ และเสริมสร้าง
ความสมานฉันท์ของคนในชาติ จ�ำนวน 243 ล้านบาท เพื่อรณรงค์และประชาสัมพันธ์ ให้
ประชาชนในชาติมีค่านิยมในความจงรักภักดีและปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ส่งเสริม
กิจกรรมการปลูกจิตส�ำนึกให้เกิดความสมานฉันท์และความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ
ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน สนับสนุนให้ประชาชนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการแก้ ไขปัญหา
ความขัดแย้งในชาติในทุกกรณีภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น
ประมุขโดยใช้แนวทางสันติวิธีในสังคมไทยอย่างยั่งยืน
1.2 แผนงานแก้ ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จ�ำนวน 19,102
ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการแก้ ไขปัญหาความไม่สงบและพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ให้สอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์ ในพืน้ ที่ ในลักษณะการบูรณาการร่วมกันของทุกหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดเอกภาพและประสิทธิภาพ โดยมีแผนการพัฒนาพื้นที่พิเศษ 5 จังหวัด
ชายแดนภาคใต้เป็นยุทธศาสตร์ ในการขับเคลือ่ นการแก้ ไขปัญหาและเสริมสร้างสันติสขุ รักษา
ความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นทั้งด้านการศึกษา
สาธารณสุข การประกอบอาชีพ อ�ำนวยความยุตธิ รรมตามหลักนิตธิ รรมให้กบั ประชาชนอย่าง
เท่าเทียม โดยส่งเสริมให้ประชาชนมีสว่ นร่วมในกระบวนการยุตธิ รรม พัฒนาระบบโครงสร้าง
พืน้ ฐานเพือ่ รองรับการพัฒนาชุมชน รวมทัง้ พัฒนาเศรษฐกิจและสังคมให้สอดคล้องกับวิถชี วี ติ
สังคม และวัฒนธรรมของประชาชน โดยยึดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
1.3 แผนงานเพิม่ ศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานรากตามหลักปรัชญาของ
เศรษฐกิจพอเพียง จ�ำนวน 10,063.4 ล้านบาท เพือ่ เสริมสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจฐานราก
ของหมูบ่ า้ นและชุมชนให้มคี วามมัน่ คงตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พัฒนาและสนับสนุน

7
องค์กรภาครัฐ และเอกชนในการปฏิบัติงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริให้เกิด
ประสิทธิภาพและสัมฤทธิผล รวมทั้งเสริมสร้างศักยภาพกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองให้มี
ความเข้มแข็ง และเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนในการบริหารจัดการสินค้าหนึ่งต�ำบล
หนึ่งผลิตภัณฑ์ ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาด ตลอดจนให้การช่วยเหลือผู้มี
รายได้น้อยในการฟื้นฟูและแก้ ไขปัญหาหนี้นอกระบบ
1.4 แผนงานสร้างระบบประกันความเสี่ยงและระบบกระจายสินค้าเกษตร
จ�ำนวน 52,426.4 ล้านบาท เพือ่ ให้เกษตรกรมีระบบประกันความเสีย่ งด้านการผลิตและราคา
พัฒนาระบบประกันภัยพืชผล เพิ่มประสิทธิภาพระบบกระจายสินค้าเกษตรและสินค้าชุมชน
พร้อมจัดหาตลาดรองรับสินค้าในทุกระดับ และส่งเสริมการผลิตและเชื่อมโยงตลาด รวมทั้ง
การวางแผนกระจายสินค้าเกษตร ตลอดจนแก้ ไขปัญหาหนีส้ นิ เกษตรกรทีป่ ระสบภัยธรรมชาติ
1.5 แผนงานสนับสนุนการจัดการศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน 15 ปี จ�ำนวน 80,154.2 ล้านบาท
เพือ่ ให้ประชากรวัยเรียนตัง้ แต่ระดับปฐมวัยจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญและ
สายอาชีพได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปี ที่มีคุณภาพและมาตรฐานโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

2. ยุทธศาสตร์การรักษาความมั่นคงของรัฐ
รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐและความสงบ
เรียบร้อยภายในประเทศ เทิดทูนและพิทักษ์รักษาสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยเสริมสร้าง
พัฒนาระบบป้องกันประเทศให้มีความพร้อมและมีศักยภาพ แก้ ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมือง
และแรงงานต่างด้าวอย่างเป็นระบบ ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการป้องกันและ
แก้ ไขปัญหาการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ พัฒนาระบบข่าวกรองของรัฐ รวมทั้ง
เตรียมความพร้อมในการเผชิญภัยคุกคามทุกรูปแบบ ทัง้ นีไ้ ด้จดั สรรงบประมาณไว้เป็นจ�ำนวน
ทั้งสิ้น 186,364.5 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 9 ของวงเงินงบประมาณ โดยจ�ำแนกตาม
แผนงาน ดังนี้
2.1 แผนงานรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ จ�ำนวน 10,635.7 ล้านบาท
เพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ เทิดทูนและพิทักษ์รักษา
สถาบันพระมหากษัตริยม์ ใิ ห้มกี ารล่วงละเมิดได้ โดยพัฒนาระบบถวายความปลอดภัย และจัด
กิจกรรมเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ในทุกโอกาสอันควร
2.2 แผนงานเสริมสร้างระบบป้องกันประเทศ จ�ำนวน 165,031.2 ล้านบาท เพือ่
เสริมสร้างและพัฒนาระบบป้องกันประเทศให้มคี วามมัน่ คง ปลอดภัยจากภัยคุกคามทัง้ ภายใน
8
และภายนอกประเทศ โดยมุ่งพัฒนายุทโธปกรณ์ พัฒนาทางการทหาร ส่งเสริมการวิจัยและ
พัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ต่อกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ และ
ผนึกก�ำลังทุกภาคส่วนให้มีสมรรถนะ พร้อม และมีศักยภาพ รวมทั้งพัฒนาความร่วมมือทาง
ทหารกับประเทศเพื่อนบ้านและมิตรประเทศ และส่งเสริมบทบาทในการรักษาสันติภาพของ
โลกภายใต้กรอบสหประชาชาติ ตลอดจนบริหารจัดการพื้นที่ชายแดนให้เกิดประโยชน์และ
สอดคล้องกับสถานการณ์และสภาพปัญหาในพื้นที่
2.3 แผนงานพัฒนาระบบแก้ ไขปัญหาผูห้ ลบหนีเข้าเมืองและแรงงานต่างด้าว
จ�ำนวน 1,201.4 ล้านบาท เพือ่ สนับสนุนการแก้ ไขปัญหาผูห้ ลบหนีเข้าเมืองและแรงงานต่างด้าว
ตามนโยบายความมัน่ คงและความสงบสุขของประเทศ โดยปรับปรุงระบบการตรวจคนเข้าเมือง
จัดระเบียบชายแดน ด�ำเนินการป้องกันปราบปรามผู้หลบหนีเข้าเมืองและควบคุมแรงงาน
ต่างด้าวทีผ่ ดิ กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ จับกุมและผลักดันคนต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมาย
ออกนอกราชอาณาจักร ตลอดจนดูแล ตรวจสอบ ควบคุมการท�ำงานของแรงงานต่างด้าวให้
เป็นไปตามกฎหมาย โดยจัดท�ำทะเบียนและพิจารณาอนุญาตการท�ำงานแก่แรงงานต่างด้าว
2.4 แผนงานป้องกันและแก้ ไขปัญหาการก่อการร้าย และการรักษาผลประโยชน์
ของชาติ จ�ำนวน 9,496.2 ล้านบาท เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ
และประชาคมโลกในการอ�ำนวยความปลอดภัย การเตรียมความพร้อม และการจัดการ
วิกฤตการณ์ทเี่ กิดจากภัยก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ และภัยคุกคามทุกรูปแบบให้ดำ� เนิน
ไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นเอกภาพ รวมทั้งดูแลประชาชนในเขตหมู่บ้านชายแดนและ
น่านน�ำ้ รักษาผลประโยชน์ของชาติทงั้ ทางบกและทางทะเล เร่งขจัดเงือ่ นไขความไม่เข้าใจกับ
ประเทศเพื่อนบ้านเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์และพัฒนาความร่วมมือทั้งด้านเศรษฐกิจและ
ด้านความมั่นคง รวมทั้งพัฒนาระบบงานด้านข่าวกรองและต่อต้านข่าวกรองทางการสื่อสาร
โดยประสานงานข่าวกรองระหว่างหน่วยงานภาครัฐและใช้ช่องทางประชาคมข่าวกรอง
ต่างประเทศในการรักษาความมั่นคงและเสริมสร้างผลประโยชน์ของชาติ

3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคม คุณภาพชีวิต และลดความเหลื่อมล�้ำทางสังคม


รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายเพื่อสนับสนุนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษ
ที่สองทั้งระบบให้มีประสิทธิภาพ เกิดความเป็นธรรมและมีความเสมอภาคแก่ประชาชนทุก
กลุ่มทุกวัยอย่างทั่วถึงและต่อเนื่องตลอดชีวิต พัฒนาการสร้างเสริมสุขภาพให้ประชาชนมี
สุขภาพอนามัยที่ดี มีระบบบริการสุขภาพที่ได้มาตรฐานในทุกระดับ มีหลักประกันสุขภาพ

9
ถ้วนหน้าที่มีคุณภาพอย่างเพียงพอ ให้การคุ้มครองและจัดสวัสดิการด้านแรงงาน เพิ่มโอกาส
การมีงานท�ำของประชากรทุกกลุม่ ทุกวัย ส่งเสริมการท�ำนุบำ� รุงศาสนา รักษาศิลปะ วัฒนธรรม
ไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น เสริมสร้างสังคมและคนไทยให้มีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่
ดีงาม มีหลักธรรมทางศาสนาในการด�ำรงชีวิตและอยู่ร่วมกันอย่างเอื้ออาทร จัดสวัสดิการ
สังคมให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความมั่นคงและความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
มีภูมิคุ้มกันภัยจากปัญหายาเสพติด สนับสนุนให้เยาวชนและประชาชนได้ออกก�ำลังกายและ
เล่นกีฬาเพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศและกีฬาอาชีพ ทั้งนี้ได้จัดสรรงบประมาณไว้เป็นจ�ำนวน
ทั้งสิ้น 624,418.7 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 30.2 ของวงเงินงบประมาณ โดยจ�ำแนกตาม
แผนงาน ดังนี้
3.1 แผนงานขยายโอกาสและพัฒนาการศึกษา จ�ำนวน 317,466.6 ล้านบาท
เพื่อให้คนไทยทุกกลุ่มทุกวัยได้มีโอกาสเข้าถึงบริการทางการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน
อย่างทั่วถึงเป็นธรรมและต่อเนื่อง โดยให้การสนับสนุนการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง
มุ่งเน้นจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพตั้งแต่ระดับปฐมวัยต่อเนื่องไปตลอดชีวิต โดยให้ความ
ส�ำคัญกับการพัฒนาเพิ่มศักยภาพบุคลากรครูทั้งระบบ และการสร้างครูยุคใหม่ที่เก่ง ดี
มีจิตวิญญาณในความเป็นครู ควบคู่ไปกับการปรับปรุงหลักสูตรและพัฒนาระบบการเรียน
การสอนทีเ่ น้นการปฏิบตั แิ ละฝึกอบรมทีเ่ ข้มข้น สนับสนุนการผลิตบัณฑิตเพือ่ ตอบสนองความ
ต้องการที่หลากหลายของผู้เรียนทั้งภาคเศรษฐกิจและภาคสังคม รวมทั้งสนับสนุนการให้
บริการทางวิชาการแก่ชุมชนและสังคม พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการทางการศึกษา
เพื่อผลักดันให้ระบบการศึกษาเป็นเครื่องมือที่แท้จริงในการพัฒนาคนอย่างยั่งยืน ตลอดจน
สนับสนุนให้เอกชนมีสว่ นร่วมในการจัดการศึกษา จัดสรรกองทุนกูย้ มื เพือ่ การศึกษาแก่นกั เรียน
นิสิต นักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ พัฒนาระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาที่
เข้มแข็งและมีประสิทธิภาพเป็นทีย่ อมรับ สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาและพัฒนา
เครือข่ายสารสนเทศเพือ่ การศึกษาวิจยั ทีส่ ามารถเชื่อมโยงสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา
ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3.2 แผนงานพัฒนาและยกระดับมาตรฐานแรงงาน จ�ำนวน 29,079.7 ล้านบาท
เพื่อให้ประชากรทุกกลุ่มมีทางเลือกในการประกอบอาชีพ สามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานได้
มีงานท�ำ มีรายได้ทเี่ หมาะสม มีทกั ษะฝีมอื ตามมาตรฐานฝีมอื แรงงานสอดคล้องกับโครงสร้าง
ภาคการผลิตและบริการตามความต้องการของตลาดแรงงานทั้งในและต่างประเทศ พัฒนา
ทักษะฝีมอื แรงงานเพือ่ เพิม่ ศักยภาพและโอกาสในการท�ำงานแก่แรงงาน ช่วยเหลือแรงงานที่

10
ถูกเลิกจ้าง ผูว้ า่ งงาน แรงงานใหม่ ผูส้ งู อายุ ผูพ้ กิ ารและแรงงานนอกระบบให้ ได้รบั การพัฒนา
ศักยภาพในการท�ำงานเพิม่ ขึน้ และมีโอกาสในการสร้างรายได้และการประกอบอาชีพตามความ
ต้องการ ให้ความส�ำคัญในเรือ่ งความปลอดภัยในการท�ำงานและส่งเสริมระบบแรงงานสัมพันธ์
และสวัสดิการของแรงงาน คุม้ ครองแรงงานทัง้ ในระบบและนอกระบบให้ ได้รบั สิทธิประโยชน์
ตามกฎหมาย ส่งเสริมและก�ำกับดูแลแรงงานไทยในต่างประเทศให้ ได้รับความเป็นธรรม
ใช้มาตรการทางกฎหมายเพือ่ ป้องกันคนหางานจากปัญหาการถูกหลอกลวงและถูกเอารัดเอา
เปรียบ ให้การคุ้มครองลูกจ้าง รวมทั้งสนับสนุนระบบข้อมูลเตือนภัยและติดตามสถานการณ์
การจ้างงาน พัฒนาระบบบริหารจัดการด้านแรงงานให้มีประสิทธิภาพ ตลอดจนให้การ
ช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนด้านการเงินแก่ผู้ ใช้แรงงานผ่านสหกรณ์ออมทรัพย์ ใน
สถานประกอบกิจการและรัฐวิสาหกิจ
3.3 แผนงานพัฒนาด้านสาธารณสุข จ�ำนวน 211,445.4 ล้านบาท เพื่อให้
ประชาชนได้รับการเสริมสร้างสุขภาพและป้องกันโรค ควบคู่ไปกับการบริการทางการแพทย์
และสาธารณสุขทีม่ คี ณ ุ ภาพมาตรฐานอย่างทัว่ ถึง เป็นธรรม ครบวงจร โดยพัฒนาเพิม่ คุณภาพ
การให้บริการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพือ่ ให้ประชาชนได้รบั บริการทีม่ ปี ระสิทธิภาพและ
มีมาตรฐานเพิ่มขึ้น รวมทั้งเพิ่มสิทธิประโยชน์ ให้ครอบคลุมการรักษามากยิ่งขึ้น พัฒนาระบบ
บริการสถานีอนามัยให้เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจ�ำต�ำบล สนับสนุนการจัดตัง้ ด่าน
อาหารและยาเพื่อเพิ่มมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค จัดบริการแก่คนไทยไร้รัฐให้ ได้รับสิทธิ
ขัน้ พืน้ ฐานด้านสาธารณสุขแก่กลุม่ บุคคลทีร่ อสถานะสัญชาติไทย ปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพ
บริการด่านหน้าเพือ่ ลดความแออัด ปฏิรปู ระบบฐานข้อมูลด้านสุขภาพ เพือ่ รองรับการบริการ
บั ต รเดี ย ว ด�ำเนินงานสาธารณสุขเชิงรุกโดยพัฒนาระบบบริ การสุ ข ภาพแบบองค์ ร วม
สนับสนุนกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในรูปแบบสมัชชาสุขภาพ ส่งเสริมและ
สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจ�ำหมู่บ้านในการเฝ้าระวังโรค
และดูแลผู้ป่วยในชุมชน รวมทั้งเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยที่คุกคามสุขภาพ เตรียม
ความพร้อมส�ำหรับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข พัฒนาเพิม่ ประสิทธิภาพการบริการการแพทย์
เฉพาะทาง พัฒนาการบ�ำบัดรักษาผูป้ ว่ ยทางด้านจิตเวชให้มปี ระสิทธิภาพยิง่ ขึน้ ให้บริการการ
แพทย์ฉุกเฉินที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน พัฒนาและส่งเสริมการให้บริการทางการแพทย์และ
สาธารณสุขตามแนวพระราชด�ำริและโครงการด้านสาธารณสุขที่ส�ำคัญ สนับสนุนการผลิต
แพทย์ พยาบาล พัฒนาเพิม่ สมรรถนะของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขอย่างเหมาะสม
และเพียงพอ ตลอดจนให้การสนับสนุนการศึกษาวิจัย พัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้

11
การแพทย์และสาธารณสุข การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์ทางเลือก การ
ใช้สมุนไพรไทยอย่างเหมาะสมเพือ่ ลดการน�ำเข้ายาจากต่างประเทศ ผลักดันการขับเคลือ่ นให้
ไทยเป็นศูนย์กลางด้านสุขภาพและการรักษาพยาบาลในระดับนานาชาติ โดยมียทุ ธศาสตร์การ
บริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งสนับสนุนการใช้ทรัพยากร
ทางการแพทย์รว่ มกันระหว่างภาครัฐและเอกชน สนับสนุนการผลิตวัคซีนทีม่ คี ณ ุ ภาพในระดับ
อุตสาหกรรมตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลก สนับสนุนการด�ำเนินงานของสภากาชาดไทย
ให้สามารถให้บริการแก่ประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
3.4 แผนงานส่งเสริมและพัฒนาศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม จ�ำนวน 7,989.7
ล้านบาท เพื่อให้ประชาชนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่ดีงาม มีหลักธรรมทางศาสนา
เป็นแนวทางในการด�ำรงชีวิตและอยู่ร่วมกันอย่างเอื้ออาทร มีความภาคภูมิใจและร่วมพื้นฟู
สืบสานศิลปะ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของชาติให้คงอยู่อย่างยั่งยืน ใช้มิติทางศาสนา ศิลปะ
และวัฒนธรรมเป็นกลไกในการขับเคลื่อนสังคม เสริมสร้างความรู้รักสามัคคีและความเอื้อ
อาทรที่เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนและท้องถิ่น สนับสนุนการสร้างภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรม
และการมีค่านิยมที่ดีงามให้แก่ประชาชน สนับสนุนการผลิตสื่อสร้างสรรค์ที่ดีมีคุณภาพและ
ขจัดสื่อที่เป็นภัยต่อเด็กและเยาวชน ส่งเสริมการเรียนรู้ทางวัฒนธรรมและศาสนา สนับสนุน
การเรียนการสอนของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ จัดให้มีการบวชและอบรม
จริยธรรมเด็กภาคฤดูรอ้ น สนับสนุนการอบรมศาสนาอิสลามและจริยธรรมประจ�ำมัสยิด บูรณะ
ปฏิสังขรณ์วัด สนับสนุนการศึกษาพระปริยัติธรรม อุปถัมภ์พระสังฆาธิการ สนับสนุนองค์กร
เครือข่ายสภาวัฒนธรรมในระดับต�ำบลทั่วประเทศ ท�ำนุบ�ำรุงและรักษามรดกทางศิลป
วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย อนุรักษ์และพัฒนาโบราณสถานที่เป็นมรดกโลก พัฒนาองค์
ความรูท้ างด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยให้แก่เยาวชนและศิลปินรุน่ ใหม่ ให้บริการองค์ความรู้
และสนับสนุนงานวิจัยทางวัฒนธรรมและมานุษยวิทยา ตลอดจนส่งเสริมการอนุรักษ์และ
เผยแพร่ข้อมูลองค์ความรู้ด้านภาพยนตร์และสื่อโสตทัศน์และสิ่งเกี่ยวเนื่อง
3.5 แผนงานสวัสดิการสังคมและความมัน่ คงของมนุษย์ จ�ำนวน 47,076.4 ล้านบาท
เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีหลักประกันความมั่นคงในการด�ำรงชีวิต มีศักยภาพ
ในการแก้ ไขปัญหาความยากจนอย่างครบวงจร สนับสนุนการหยุดยัง้ การเลือกปฏิบตั แิ ละการ
ละเมิดสิทธิ รวมทั้งให้การคุ้มครองและจัดสวัสดิการทางสังคมแก่เด็ก สตรี ผู้พิการ ผู้ด้อย
โอกาสและผูส้ งู อายุให้สามารถพึง่ ตนเองได้ ให้การคุม้ ครองสิทธิผบู้ ริโภคอย่างเป็นธรรม พัฒนา
อาชีพและเพิม่ ศักยภาพเพือ่ การพึง่ ตนเองแก่ประชาชน เสริมสร้างความมัน่ คงของมนุษย์และ

12
สังคมให้มีความเข้มแข็ง มั่นคง มีภูมิคุ้มกันและมีสภาพแวดล้อมทางครอบครัวที่เหมาะสม
ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและเชื่อมโยงบูรณาการในการแก้ ไขปัญหาความ
ยากจน ส่งเสริมบทบาทภาคีเครือข่ายและครอบครัวเพื่อร่วมป้องกันและแก้ ไขปัญหาสังคม
รวมทั้งให้การคุ้มครองทางสังคม พิทักษ์สิทธิแก่เด็ก สตรี ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาส สนับสนุนการ
ประกอบอาชีพของผูม้ รี ายได้นอ้ ย พัฒนาทีอ่ ยูอ่ าศัยทัง้ ในเมืองและชนบทเพือ่ ให้ประชาชนผูม้ ี
รายได้น้อยได้มีที่อยู่อาศัยและมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี
ขึน้ ให้ความส�ำคัญกับการเสริมสร้างศักยภาพและพัฒนารูปแบบการจัดสวัสดิการทีเ่ หมาะสม
ในทุกด้านแก่ผู้สูงอายุ สร้างโอกาสในการเข้าถึงหลักประกันทางสังคม ตลอดจนเตรียม
ความพร้อมเข้าสูส่ งั คมผูส้ งู อายุอย่างมีคณ
ุ ภาพ และสนับสนุนให้ทกุ ภาคส่วนมีสว่ นร่วมตระหนัก
ในคุณค่าและศักดิ์ศรีของผู้สูงอายุ
3.6 แผนงานป้องกันแก้ ไขปัญหายาเสพติด จ�ำนวน 4,948 ล้านบาท เพื่อเสริม
สร้างให้ชุมชนและสังคมเข้มแข็ง มีความปลอดภัยและมีภูมิคุ้มกันภัยยาเสพติด มีการป้องกัน
เฝ้าระวังและแก้ ไขปัญหายาเสพติด ให้การบ�ำบัดรักษา ฟืน้ ฟูผตู้ ดิ ยาเสพติดให้กลับคืนสูส่ งั คม
และสามารถด�ำเนินชีวิตได้อย่างปกติ รวมทั้งปราบปรามผู้ค้า ผู้ผลิตและผู้น�ำเข้ายาเสพติด
โดยใช้มาตรการทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมอย่างเป็นระบบ โดยเร่งรัดการแก้ ไข
ปัญหายาเสพติดอย่างครบวงจร ให้ความส�ำคัญกับกระบวนการป้องกันมิให้กลุม่ เสีย่ งเป็นเหยือ่
ของยาเสพติด ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมโดยจัดตั้งหมู่บ้านชุมชนเข้มแข็งเอาชนะยาเสพติด
ควบคูไ่ ปกับการปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับสถานการณ์และมีการบังคับใช้กฎหมายโดย
เคร่งครัด รวมทั้งขยายความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านและนานาชาติในการแก้ ไขปัญหา
ยาเสพติด
3.7 แผนงานส่งเสริมและพัฒนากีฬาและนันทนาการ จ�ำนวน 6,412.9 ล้านบาท
เพื่อเสริมสร้างสุขภาพและสมรรถภาพทางกายที่ดี โดยส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน ผู้พิการและ
ประชาชน ได้ออกก�ำลังกาย ร่วมกิจกรรมนันทนาการ เล่นกีฬาและพัฒนาทักษะด้านกีฬาสู่
ความเป็นเลิศและอาชีพทั้งในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ สนับสนุนการจัดการศึกษา
ด้านกีฬา พัฒนางานวิจยั เพือ่ สร้างองค์ความรูด้ า้ นกีฬาและนันทนาการ วิทยาศาสตร์การกีฬา
และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ให้บริการทางวิชาการด้านกีฬาแก่ประชาชน ตลอดจนสนับสนุน
การพัฒนาโครงสร้างพืน้ ฐาน การบริหารจัดการและเพิม่ ศักยภาพบุคลากรด้านพลศึกษา กีฬา
วิทยาศาสตร์การกีฬา วิทยาศาสตร์สุขภาพ และนันทนาการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

13
4. ยุทธศาสตร์การจัดการเศรษฐกิจให้ขยายตัวได้อย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน
รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายเพื่อให้การบริหารจัดการเศรษฐกิจมหภาค
เกิดความยัง่ ยืน รักษาวินยั ทางการเงิน การคลัง โดยด�ำเนินการในภารกิจต่างๆ ได้แก่ การเพิม่
มูลค่าเศรษฐกิจภาคเกษตร รัฐบาลส่งเสริม สนับสนุน การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภาคเกษตร
อย่างครบวงจรเพือ่ ให้เกิดความเข้มแข็งของเกษตรกรและชุมชน การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ
ภาคอุตสาหกรรมให้มีมูลค่าเพิ่มด้วยนวัตกรรมและสินค้าเชิงสร้างสรรค์รับผิดชอบต่อสังคม
เสริมสร้างความเชื่อมั่น ด้านการท่องเที่ยวและบริการทั้งในประเทศและต่างประเทศให้มี
มาตรฐานเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ พัฒนาโครงสร้างการตลาด การค้า และการลงทุนให้
มีการด�ำเนินการเชิงรุกเพื่อการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและ
ระบบบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการเพือ่ ยกระดับคุณภาพและเพิม่ ขีดความสามารถใน
การแข่งขันของประเทศให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล พัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้
พลังงานอย่างมีเสถียรภาพ ทัง้ พลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกอืน่ เพือ่ ความมัน่ คงและ
ยัง่ ยืนของประเทศ นอกจากนี้ ยังพัฒนาโครงสร้างพืน้ ฐานด้านเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสาร รวมทั้งพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ ตลอดจน
น�ำ เทคโนโลยีส ารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ ในการบริหารและบริการภาครัฐอย่า งมี
ประสิทธิภาพและทั่วถึง ทั้งนี้ได้จัดสรรงบประมาณไว้จ�ำนวนทั้งสิ้น 219,797.3 ล้านบาท หรือ
คิดเป็นร้อยละ 10.6 ของวงเงินงบประมาณ โดยจ�ำแนกตามแผนงาน ดังนี้
4.1 แผนงานการเงินการคลัง จ�ำนวน 20,163.9 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนความ
ยัง่ ยืนทางเศรษฐกิจและสร้างเสถียรภาพทางการคลัง โดยก�ำหนดนโยบายการเงินการคลังให้
เกิดความสมดุล เพิ่มประสิทธิภาพการงบประมาณ พัฒนาระบบสถาบันการเงินให้มีความ
เข้มแข็ง สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในภาวะทีเ่ ริม่ ฟืน้ ตัวจากความผันผวนของ
สภาวะการเงินโลก บริหารจัดการหนีส้ าธารณะให้มปี ระสิทธิภาพภายใต้วนิ ยั การเงิน การคลัง
ส่งเสริมการออม การลงทุน ก�ำหนดกรอบการลงทุนของภาครัฐให้ชัดเจน รวมทั้งการบริหาร
ที่ราชพัสดุให้เกิดประโยชน์ และฟื้นฟูรัฐวิสาหกิจเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ปรับปรุงระบบภาษีและ
การจัดเก็บภาษีเพือ่ ขยายฐานรายได้และให้เกิดความเป็นธรรมและโปร่งใส ตลอดจนให้ความ
ช่วยเหลือทางการเงินและวิชาการตามกรอบความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศ
เพื่อนบ้าน
4.2 แผนงานปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภาคเกษตร จ�ำนวน 85,791.8 ล้านบาท
เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของภาคเกษตร โดยสนับสนุนการบริหารจัดการและด�ำเนินการ

14
เชิงรุก เพื่อเพิ่มมูลค่าและการรักษาเสถียรภาพราคา จัดท�ำยุทธศาสตร์การพัฒนาระยะยาว
ของสินค้าเกษตร ก�ำหนดเขตการผลิตสินค้าเกษตรเพือ่ ส่งออก เพิม่ ประสิทธิภาพการผลิตและ
แปรรูปสินค้าเกษตรตรวจสอบรับรองฟาร์มแหล่งผลิตพืชในระบบการผลิตทางการเกษตรอย่าง
ถูกต้องและเหมาะสม (GAP) รวมถึงมาตรฐานปัจจัยการผลิตสินค้าเกษตรเพื่อน�ำเข้าและ
ส่งออก ส่งเสริมและพัฒนาการผลิตเมล็ดพันธุพ์ ชื วิจยั พันธุกรรมพืช จุลนิ ทรียเ์ ห็ด และแมลง
ที่อนุรักษ์ ไว้ ใช้ประโยชน์ ผลิตเมล็ดข้าวพันธุ์ดี พัฒนาอาหารสัตว์ที่ได้มาตรฐานตรงต่อความ
ต้องการของตลาด ส่งเสริมการท�ำการเกษตรตามแนวพระราชด�ำริ การท�ำเกษตรอินทรียแ์ ละ
ลดการใช้สารเคมีในการปรับปรุงคุณภาพดินและสินค้าเกษตร พัฒนา ปรับปรุง และขยาย
ระบบชลประทาน รวมทั้งรณรงค์ ให้มีการใช้น�้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เพิ่มพื้นที่ชลประทาน
สนับสนุนให้เกษตรกรผู้ยากไร้มีที่ท�ำกินเป็นของตนเอง เร่งรัดฟื้นฟูอาชีพและแก้ ไขปัญหา
จากการเป็นหนี้สินของเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง พัฒนาความสามารถและความเข้มแข็งของ
เกษตรกร ชุมชนและสถาบันเกษตรในการสร้างโอกาสทางการตลาดและการมีสว่ นร่วมพัฒนา
การเกษตรต่างๆ ที่ตรงกับความต้องการโดยส่งเสริมการจัดตั้งสภาเกษตรกรแห่งชาติ
4.3 แผนงานปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม จ�ำนวน 6,828.3 ล้านบาท
เพือ่ พัฒนาประสิทธิภาพและผลิตภาพของภาคอุตสาหกรรมให้มมี ลู ค่าเพิม่ ด้วยนวัตกรรมและ
สินค้าอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์ พัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันให้มศี กั ยภาพสูงเพือ่
เป็นฐานการผลิต การลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่งเสริมพื้นที่อุตสาหกรรมและ
พัฒนาผูป้ ระกอบการ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และวิสาหกิจชุมชนให้มโี อกาสเข้าถึง
แหล่งทุน สร้างความเข้มแข็ง และความรับผิดชอบต่อสังคมตามแนวทางมาตรฐานอุตสาหกรรม
โดยก�ำกับดูแลสถานประกอบการให้มีการแข่งขันอย่างมีคุณภาพ เป็นธรรม และได้มาตรฐาน
ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา และถ่ายทอดความรูแ้ ละเทคโนโลยีให้ผปู้ ระกอบการภาคอุตสาหกรรม
ด้านต่างๆ ส่งเสริมการเพิม่ มูลค่าการลงทุนของภาคอุตสาหกรรมผ่านทางวิสาหกิจขนาดกลาง
และขนาดย่อม ยกระดับศักยภาพและประสิทธิภาพวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และ
วิสาหกิจชุมชนในการประกอบธุรกิจให้มกี ารบริหารจัดการอย่างเป็นระบบได้มาตรฐาน พัฒนา
ความรูด้ า้ นการประกอบการ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและด้านการมาตรฐานให้แก่บคุ ลากร
ของวิสาหกิจต่างๆ ก�ำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ชุมชน และมาตรฐาน
ระหว่างประเทศ ให้การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ รวมทั้งการบริการข้อมูลสารสนเทศด้าน
เศรษฐกิจอุตสาหกรรมที่สามารถน�ำไปใช้ ได้ ในเชิงพาณิชย์ ตลอดจนก�ำกับดูแลและสร้าง
จิตส�ำนึกให้ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม

15
4.4 แผนงานปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยวและบริการ จ�ำนวน
9,290 ล้านบาท เพือ่ เสริมสร้างความเชื่อมั่นด้านการท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ
โดยประชาสัมพันธ์ส่งเสริมภาพลักษณ์ประเทศไทยและจัดกิจกรรมทางการตลาด รวมทั้ง
พัฒนาให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายหลักในการจัดประชุม จัดแสดงสินค้าและนิทรรศการ
นานาชาติ อ�ำนวยความสะดวกและเพิม่ ประสิทธิภาพการรักษาความปลอดภัยแก่นกั ท่องเทีย่ ว
พัฒนาธุรกิจท่องเที่ยว และบริการให้ ได้มาตรฐาน พัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและ
บริการให้มศี กั ยภาพสามารถแข่งขันได้ ตลอดจนสร้างภาพลักษณ์ทดี่ กี บั กลุม่ นักท่องเทีย่ วเพือ่
เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน สนับสนุนผู้ประกอบการด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อ
ต่อยอดไปสู่ธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งพัฒนาระบบฐานข้อมูลกลาง
ด้านการท่องเทีย่ ว และพัฒนายกระดับธุรกิจมัคคุเทศก์ ผูป้ ระกอบการน�ำเทีย่ วและการถ่ายท�ำ
ภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย
4.5 แผนงานปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ การตลาด การค้าและการลงทุน จ�ำนวน
6,958.1 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงสร้างการตลาดและกลไกตลาด ส่งเสริมการใช้ข้อตกลง
การเปิดเสรีทางการค้า เพิม่ ศักยภาพภาคการส่งออกไทยให้สามารถรักษาตลาดเดิมและขยาย
ไปสูต่ ลาดใหม่ให้ครอบคลุมภูมภิ าคส�ำคัญอย่างต่อเนือ่ ง รวมถึงผูป้ ระกอบการไทยด้านการค้า
ระหว่างประเทศ ตลอดจนส่งเสริมองค์ประกอบทางการค้าให้เอื้อต่อความสามารถในการ
แข่งขันของประเทศ และสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพเศรษฐกิจของประเทศให้มั่นคงยั่งยืน
ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ โดยเชื่อมโยงกับรากฐานทางวัฒนธรรม การสั่งสม
องค์ความรูท้ างสังคมและนวัตกรรมทีท่ นั สมัยในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการเพือ่ สร้าง
มูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ส่งเสริมการสร้างสรรค์และพัฒนาระบบการคุ้มครองทรัพย์สินทาง
ปัญญาเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการที่ใช้นวัตกรรมและภูมิปัญญาในการใช้
ประโยชน์เชิงพาณิชย์ และสร้างค่านิยมด้านทรัพย์สนิ ทางปัญญาทีถ่ กู ต้องในสังคมไทย รวมทัง้
พัฒนาระบบในการประเมินมูลค่าสินทรัพย์ทางปัญญา
4.6 แผนงานพัฒนาโครงสร้างพืน้ ฐานและระบบบริหารจัดการขนส่งสินค้า และ
บริการ จ�ำนวน 85,894.4 ล้านบาท เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและเพิ่มขีดความสามารถใน
การแข่งขันของประเทศ โดยพัฒนาโครงข่ายคมนาคมให้มกี ารเชือ่ มโยงอย่างเป็นระบบทัง้ ทาง
บก น�ำ้ อากาศ และทางราง พัฒนาโครงสร้างพืน้ ฐานเพือ่ เพิม่ ประสิทธิภาพการบริหารจัดการ
ขนส่งสินค้าและระบบบริการในหลายรูปแบบเพื่อความสะดวก ปลอดภัย ประหยัด และได้
คุณภาพตามมาตรฐานสากล โดยก�ำกับ ดูแล พัฒนาการคมนาคมขนส่งทางบก ทางน�้ำ และ

16
ทางอากาศให้ปลอดภัยและสะดวกแก่ผู้ ใช้บริการและเพือ่ เพิม่ ประสิทธิภาพระบบขนส่งสินค้า
สนับสนุนระบบโลจิสติกส์เพื่อให้มีต้นทุนต�่ำ แก้ ไขบริเวณอันตรายบนทางหลวงและทางหลวง
ชนบท เร่งรัดขยายทางสายประธานให้เป็น 4 ช่องจราจร สร้างทางเพือ่ แก้ ไขปัญหาการจราจร
ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และเมืองหลัก ก่อสร้างและบูรณะทางหลวงสายหลัก
และสะพานทั่วประเทศ พัฒนาระบบบริการขนส่งผู้ โดยสารสาธารณะให้มีประสิทธิภาพและ
ครอบคลุมพื้นที่ให้มากยิ่งขึ้นทั้งทางบกและทางราง
4.7 แผนงานพัฒนาและเพิม่ ประสิทธิภาพการใช้พลังงาน จ�ำนวน 2,130 ล้านบาท
เพื่อจัดหาพลังงานให้เพียงพอ และพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานพลังงานที่เกี่ยวข้อง
ลดสัดส่วนการพึ่งพาการน�ำเข้าจากต่างประเทศ ก�ำกับ ดูแลธุรกิจพลังงานให้มีเสถียรภาพ
ส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การอนุรักษ์พลังงาน การสร้างแรงจูงใจ และสิทธิ
ประโยชน์ ในการลงทุนเพื่อประหยัดพลังงาน สนับสนุนการจัดท�ำแผนพลังงานระดับชุมชน
ตลอดจนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกอื่นอย่างยั่งยืน
4.8 แผนงานพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสือ่ สาร จ�ำนวน 2,740.8 ล้านบาท
เพื่ อ สนั บ สนุ น ให้ มี ก ารพั ฒ นาโครงสร้ า งพื้ น ฐานด้ า นเครื อ ข่ า ยเทคโนโลยี ส ารสนเทศ
และการสือ่ สารโทรคมนาคม อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ดิจทิ ลั คอนเทนท์ รวมทัง้ พัฒนาบุคลากร
ให้มีศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ ตลอดจนน�ำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มาใช้ ในการบริหาร และบริการภาครัฐอย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง สามารถน�ำเทคโนโลยี
สารสนเทศและการสือ่ สารมาใช้ ในการเพิม่ รายได้และคุณภาพชีวติ มีการจัดตัง้ ศูนย์การเรียนรู้
เทคโนโลยีสารสนเทศชุมชน พัฒนาบุคลากรและส่งเสริมการตลาด การลงทุนด้านซอฟต์แวร์
ส่งเสริมธุรกิจการขนาดกลางและขนาดย่อมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ บริการเชื่อมโยง
เครือข่ายการสื่อสารภาครัฐ ตลอดจนประชาชนทุกภาคส่วนให้ ได้รับการพัฒนาทักษะด้าน
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมทั้งพัฒนาระบบเฝ้าระวังและติดตามเพื่อยุติการใช้
ระบบเครือข่ายที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

5. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อรองรับ
การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศของโลก
รัฐบาลได้จดั สรรงบประมาณรายจ่ายเพือ่ บริหารจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติ และ
ความหลากหลายทางชีวภาพให้เกิดความสมดุล และใช้ประโยชน์ ในมิติเศรษฐกิจ สังคม และ
สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน จัดท�ำแนวเขตการใช้ประโยชน์

17
ที่ดินให้ชัดเจน ส่งเสริมการปลูกป่าไม้ จัดให้มีระบบป้องกัน เตือนภัยทางธรรมชาติและ
สาธารณภัย จัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้อยู่ ในระดับมาตรฐาน ส่งเสริม พัฒนาการใช้
พลังงานสะอาด เพือ่ ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันมีผลกระทบต่อการเปลีย่ นแปลง
สภาวะภูมิอากาศของโลก ทั้งนี้ได้จัดสรรงบประมาณไว้เป็นจ�ำนวนทั้งสิ้น 36,954.9 ล้านบาท
หรือคิดเป็นร้อยละ 1.8 ของวงเงินงบประมาณ โดยจ�ำแนกตามแผนงาน ดังนี้
5.1 แผนงานอนุรักษ์และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ จ�ำนวน 16,577.8
ล้านบาท เพื่อการคุ้มครอง อนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาทรัพยากรที่ดิน ป่าไม้ สัตว์ป่า สัตว์น�้ำ
ทรัพยากรทางทะเลและชายฝัง่ และทรัพยากรธรณี ให้มคี วามสมดุลของการใช้ประโยชน์จาก
ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน ภายใต้การมีส่วนร่วมของ
ทุกภาคส่วน ผลักดันยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ พัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อ
การจัดการทรัพยากรชีวภาพและภูมปิ ญ ั ญา ป้องกันและอนุรกั ษ์ทรัพยากรป่าไม้ ให้มคี วามอุดม
สมบูรณ์ สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม ฟืน้ ฟูพนื้ ทีป่ า่ เสือ่ มโทรมให้กลับคืนสูค่ วามอุดม
สมบูรณ์ ส่งเสริมการปลูกป่าเศรษฐกิจ จัดท�ำแนวเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ แนวเขตที่ดินของรัฐ
เพื่อแก้ ไขปัญหาการบุกรุกลดข้อพิพาทกับประชาชน และตรวจสอบรับรองสิทธิท�ำกินของ
ราษฎรในพืน้ ทีป่ า่ ควบคุม ป้องกันการแพร่ระบาดของไข้หวัดนก อนุรกั ษ์และขยายพันธุส์ ตั ว์ปา่
ที่หายากใกล้สูญพันธุ์ ให้บริการด้านทรัพยากรธรณีและธรณีวิทยา ตลอดจนจัดท�ำผังเมือง
ชุมชน และผังเมืองเพื่ออนุรักษ์พื้นที่ประวัติศาสตร์
5.2 แผนงานบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำ จ�ำนวน 6,802.7 ล้านบาท เพื่อพัฒนา
กลไกการบริหารจัดการทรัพยากรน�ำ้ อย่างมีประสิทธิภาพเกิดประโยชน์ตอ่ ส่วนรวม สอดคล้อง
กับความจ�ำเป็นในการด�ำรงชีวิตและการผลิตที่มีผลต่อเศรษฐกิจ ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้าน
บูรณาการน�ำ้ แก่ประชาชน หน่วยงาน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ ผ่านเครือข่ายประชาชน
องค์กรลุ่มน�้ำ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พัฒนา ปรับปรุง ฟื้นฟูแหล่งน�้ำธรรมชาติ
และจัดหาแหล่งน�ำ้ บาดาลสะอาด ส�ำหรับโรงเรียนและหมูบ่ า้ นภัยแล้ง ตลอดจนเฝ้าระวังและ
เตือนภัยด้านน�้ำในพื้นที่เสี่ยงภัย
5.3 แผนงานป้องกัน เตือนภัย แก้ ไขและฟืน้ ฟูความเสียหายจากภัยธรรมชาติ
และสาธารณภัย จ�ำนวน 8,475.9 ล้านบาท เพือ่ จัดให้มรี ะบบการป้องกัน เตือนภัย และบรรเทา
ความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัยทางธรรมชาติและสาธารณภัย รวมถึงบริเวณพื้นที่ชายแดน
และชายฝั่ง โดยใช้ระบบภูมิสารสนเทศมาก�ำหนดพื้นที่เสี่ยงภัย ติดตั้งระบบเตือนภัย และ
ระบบพยากรณ์ที่มีประสิทธิภาพ จัดตั้งเครือข่ายเพื่อเฝ้าระวังแจ้งเตือนธรณีพิบัติภัย และ
18
ประกาศเตือนภัยธรรมชาติอย่างถูกต้อง ทันเหตุการณ์ รวมทั้งจัดให้มีระบบป้องกันน�ำ้ ท่วม
พื้นที่ชุมชน
5.4 แผนงานบริหารจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม จ�ำนวน 4,997.7 ล้านบาท เพื่อ
บริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษได้อย่างเหมาะสมเอื้อต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีของ
ประชาชนเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่รัฐก�ำหนด โดยการควบคุม ก�ำกับ ดูแล รักษาคุณภาพ
สิ่งแวดล้อม ทั้งอากาศ น�้ำเสีย กลิ่น เสียง และขยะทุกประเภท สนับสนุนให้ประชาชน ชุมชน
มีส่วนร่วม พัฒนาขีดความสามารถและถ่ายทอดองค์ความรู้แก่ส่วนราชการ และองค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมภายในท้องถิ่นของตนเองได้
5.5 แผนงานแก้ ไขปัญหาการเปลีย่ นแปลงสภาวะภูมอิ ากาศ จ�ำนวน 100.8 ล้านบาท
เพื่ อ จั ด ท� ำ แผนและก� ำ หนดมาตรการแก้ ไ ขปั ญ หา โดยการมี ส ่ ว นร่ ว มของทุ ก ภาคส่ ว น
เพื่อบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลก โดยการส่งเสริมพัฒนา
การใช้พลังงานสะอาดเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าชเรือนกระจก

6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม


รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณเพื่อส่งเสริมให้เกิดความคิดสร้างสรรค์และถ่ายทอด
องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม แก่เยาวชนให้มีการเผยแพร่ข้อมูล
สูป่ ระชาชนอย่างทัว่ ถึง รวมทัง้ สนับสนุนทัง้ ภาครัฐและเอกชนในการผลิตและพัฒนาขีดความ
สามารถของบุคลากรโดยเฉพาะในระดับบัณฑิตให้มีความสามารถตอบสนองภาคการผลิต
และบริการ บริหารจัดการงานวิจัย บุคลากรและระบบฐานข้อมูลการวิจัยของประเทศอย่าง
บูรณาการ เพื่อเผยแพร่และขยายผลการปฏิบัติในภาคการผลิตและบริการสู่การพัฒนาโดย
ความร่วมมือในระดับประเทศและภูมภิ าค ทัง้ นีไ้ ด้จดั สรรงบประมาณไว้จ�ำนวนทัง้ สิน้ 18,532.3
ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.9 ของวงเงินงบประมาณ โดยจ�ำแนกได้ ดังนี้
6.1 แผนงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม จ�ำนวน 4,292.5
ล้านบาท เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้าน
วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมแก่เยาวชนให้มีการเผยแพร่ข้อมูลอย่างทั่วถึง รวมทั้ง
สนับสนุนภาครัฐและเอกชนในการผลิตและพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรโดยเฉพาะ
ระดับบัณฑิตให้มีความสามารถตอบสนองภาคการผลิตและบริการสามารถน�ำผลงานวิจัยไป
ใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
อย่างมีประสิทธิภาพ
19
6.2 แผนงานวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศ จ�ำนวน 14,239.8 ล้านบาท เพื่อส่งเสริม
สร้างองค์ความรู้ ถ่ายทอดเทคโนโลยี และบริหารจัดการงานวิจัย บุคลากรและระบบฐาน
ข้อมูลการวิจัยของประเทศอย่างบูรณาการ เพื่อพัฒนาเผยแพร่และขยายผลไปสู่การปฏิบัติ
ในภาคการผลิตและบริการโดยความร่วมมือในระดับประเทศและภูมิภาค ตลอดจนสามารถ
น�ำผลงานวิจัยไปเผยแพร่ขยายผล เพื่อใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์และสังคม

7. ยุทธศาสตร์การต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายเพื่อส่งเสริมการพัฒนาความสัมพันธ์อันดีกับ
นานาประเทศ ขยายความร่วมมือทัง้ ทวิภาคีและพหุภาคีในทุกมิตกิ บั ประเทศคูค่ า้ และประเทศ
หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ การจัดตั้งเขตการค้าเสรี ส่งเสริมความร่วมมือเพื่อสร้างความแข็งแกร่ง
ของอาเซียน สนับสนุนให้ ไทยมีบทบาทส�ำคัญในองค์กรระหว่างประเทศ และเป็นที่ยอมรับใน
ประชาคมโลก การด�ำเนินการด้านพิธกี ารทูตเชิงรุก และกฎหมายระหว่างประเทศเพือ่ คุม้ ครอง
รักษา ส่งเสริมสิทธิและผลประโยชน์ของไทย ทั้งนี้ได้จัดสรรงบประมาณไว้เป็นจ�ำนวนทั้งสิ้น
8,182.6 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.4 ของวงเงินงบประมาณ โดยจ�ำแนกตามแผนงาน
ดังนี้
7.1 แผนงานส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จ�ำนวน 7,286.3 ล้านบาท
เพือ่ ส่งเสริมพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในกรอบทวิภาคีและพหุภาคีกบั ประเทศเพือ่ นบ้าน
และประเทศที่มีบทบาทส�ำคัญทั่วโลก เพื่อแก้ ไขปัญหาความมั่นคง หรือข้อพิพาท และมี
ปฏิสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับประเทศมุสลิมเพื่อแก้ ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ ส่งเสริมความร่วมมือ
ในการสร้างความแข็งแกร่งของอาเซียนผ่านกรอบความร่วมมืออาเซียน ผลักดันให้เกิดสมาคม
อาเซียนขึ้นในภูมิภาค สนับสนุนให้ประเทศไทยมีบทบาทส�ำคัญที่สร้างสรรค์ ในเวทีระหว่าง
ประเทศเพื่อผลประโยชน์และสถานะของไทยให้เป็นที่ยอมรับในประชาคมโลก
7.2 แผนงานบริการกงสุลและคุ้มครองสิทธิประโยชน์ จ�ำนวน 896.3 ล้านบาท
เพื่อสนับสนุนการด�ำเนินการกงสุล งานพิธีการทูต การให้ค�ำปรึกษาด้านกฎหมายระหว่าง
ประเทศ การคุ้มครอง ดูแลสิทธิประโยชน์ของคนไทยทั้งในและต่างประเทศให้ ได้รับบริการ
อย่างทั่วถึงเป็นธรรม เพื่อที่ประเทศไทยสามารถด�ำรงสถานะที่มีความเป็นอิสระทางการทูต
การด�ำเนินนโยบายต่างประเทศ และการด�ำเนินการภายในประเทศโดยไม่ถูกแทรกแซงจาก
ภายนอก

20
8. ยุทธศาสตร์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายเพื่อพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการภาครัฐ
ให้มคี ณ
ุ ภาพมาตรฐาน มีธรรมาภิบาล ทัง้ ส่วนราชการ จังหวัดและกลุม่ จังหวัด องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นให้มีขีดความสามารถในการบริการสาธารณะได้อย่างเหมาะสม และพัฒนา
กฎหมายและกระบวนการยุตธิ รรมให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล รวมทัง้ การบังคับใช้กฎหมาย
อย่างถูกต้องและทั่วถึง ตลอดจนสนับสนุนการบริหารงานของรัฐสภา ศาล และองค์กรตาม
รัฐธรรมนูญอย่างต่อเนื่อง ให้มีประสิทธิภาพ และความเป็นอิสระ ทั้งนี้ได้จัดสรรงบประมาณ
ไว้ทั้งสิ้น 304,287.6 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 14.7 ของวงเงินงบประมาณ โดยจ�ำแนก
ตามแผนงาน ดังนี้
8.1 แผนงานส่งเสริมการกระจายอ�ำนาจการปกครอง จ�ำนวน 129,989.3 ล้านบาท
เพือ่ ส่งเสริมการกระจายอ�ำนาจและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ มีความเข้มแข็ง
มีศกั ยภาพในการจัดเก็บรายได้เพิม่ ขึน้ สามารถพึง่ พาตนเองได้ และมีบทบาทในการจัดบริการ
สาธารณะของท้องถิ่นให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน ตอบสนองความต้องการของประชาชน
โดยค�ำนึงถึงความจ�ำเป็นและเหมาะสมตามศักยภาพของท้องถิ่น รวมทั้งให้ความส�ำคัญกับ
ภาพรวมการเร่งรัดด�ำเนินถ่ายโอนภารกิจและการใช้จ่ายงบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุด
และคุ้มค่าอย่างแท้จริง เพื่อให้เกิดผลในการพัฒนาท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ ตลอดจนให้ความ
ช่วยเหลือขั้นพื้นฐานในการด�ำรงชีวิตของประชาชนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี
8.2 แผนงานบริหารจังหวัดและกลุ่มจังหวัด จ�ำนวน 18,344.1 ล้านบาท เพื่อ
สนับสนุนให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดด�ำเนินการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมและความมั่นคงในพื้นที่อย่างบูรณาการ รวมทั้งการบริหารจัดการตาม
แผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดให้สอดคล้องกับศักยภาพ โอกาส และความต้องการของ
ประชาชน ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วนในพื้นที่ ทั้งภาครัฐ
ภาคประชาสังคม และภาคธุรกิจเอกชน เพื่อให้สามารถก�ำหนดแนวทางในการบริหารงาน
แก้ ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ในเขตจังหวัดและกลุ่มจังหวัดได้อย่างเหมาะสม
8.3 แผนงานบริหารจัดการภาครัฐ จ�ำนวน 44,061.9 ล้านบาท เพือ่ สนับสนุนการ
ปรับปรุงการบริหารงานบริการของหน่วยงานภาครัฐให้มขี ดี ความสามารถ ในการอ�ำนวยความ
สะดวกในการให้บริการแก่ประชาชนอย่างเสมอภาค ทัว่ ถึง มีคณ ุ ภาพมาตรฐาน มีธรรมาภิบาล
และความโปร่งใสควบคู่กับการพัฒนาระบบบริหารบุคลากรภาครัฐไปสู่ระบบสากล สามารถ

21
ปฏิบัติราชการได้อย่างมืออาชีพ เป็นที่ยอมรับของประชาชน และพัฒนาคุณภาพชีวิต
ของบุคลากรภาครัฐอย่างต่อเนื่องให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพใน
การปฏิบัติงาน รวมทั้งพัฒนาสื่อภาครัฐ ระบบข้อมูลสารสนเทศ การให้บริการข่าวสาร และ
นโยบายส�ำคัญของรัฐบาล สู่สาธารณะเพื่อให้ประชาชนมีโอกาสได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร
เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้อง
8.4 แผนงานพัฒนากฎหมายและกระบวนการยุตธิ รรม จ�ำนวน 76,644.6 ล้านบาท
เพื่อพัฒนากระบวนการยุติธรรม ให้มีระบบการอ�ำนวยความยุติธรรมตามมาตรฐานสากล
โดยการพัฒนากฎหมาย ส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายอย่าง
ถูกต้องและทัว่ ถึง รวมทัง้ ส่งเสริมกระบวนการยุตธิ รรมทางเลือก ความยุตธิ รรมเชิงสมานฉันท์
และการระงับข้อพิพาท พัฒนาประสิทธิภาพการท�ำงานและระบบการบริหารจัดการ เพือ่ ให้มี
การบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง การบังคับคดีตามค�ำพิพากษา การคุม้ ครองสิทธิและเสรีภาพ
สร้างความปลอดภัยในชีวติ และทรัพย์สนิ และการอ�ำนวยความยุตธิ รรม ป้องกันและปราบปราม
อาชญากรรมพิเศษและการทุจริตในภาครัฐ ปราบปรามผู้มีอิทธิพล ตลอดจนลดปัญหา
อาชญากรรม และพัฒนางานสอบสวน งานนิตวิ ทิ ยาศาสตร์ เพือ่ ให้ประชาชนในสังคมทุกระดับ
ได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย สามารถเข้าถึงกระบวนการ
ยุติธรรมได้อย่างเท่าเทียมเป็นธรรมและโปร่งใส
8.5 แผนงานสนับสนุนการจัดการของรัฐสภา ศาล และองค์กรตามรัฐธรรมนูญ
จ�ำนวน 35,247.7 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนการบริหารงานของรัฐสภา ศาล และองค์กรตาม
รัฐธรรมนูญให้สามารถด�ำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการมีสว่ นร่วมทางการเมือง
ของภาคประชาชน พัฒนากระบวนการยุติธรรม ให้มีการอ�ำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชน
อย่างเสมอภาค การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน สนับสนุนการด�ำเนินมาตรการใน
การป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบให้เกิดประสิทธิผล ตลอดจนส่งเสริมให้
ภาครัฐและประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผลการใช้จ่ายของภาครัฐ
ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล คุ้มค่า และโปร่งใส สนับสนุนการพิจารณาและ
สอบสวนเรื่องร้องเรียนของประชาชน ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการด�ำเนินงานของ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายอย่างเป็นธรรมภายใต้มาตรฐานเดียวกัน

9. รายการค่าด�ำเนินการภาครัฐ
รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายเพื่อรองรับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่ได้

22
คาดหมายกรณีฉุกเฉินและจ�ำเป็น การบริหารบุคลากรภาครัฐให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
รวมทั้งการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ ทั้งนี้ได้จัดสรรงบประมาณไว้ทั้งสิ้น 509,473.1 ล้านบาท
หรือคิดเป็นร้อยละ 24.6 ของวงเงินงบประมาณ โดยจ�ำแนกตามแผนงาน ดังนี้
9.1 แผนงานบริหารเพือ่ รองรับกรณีฉกุ เฉินหรือจ�ำเป็น จ�ำนวน 50,350 ล้านบาท
เพื่อส�ำรองไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการแก้ ไขปัญหาในสภาวะฉุกเฉินให้แก่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ
หน่วยงานของรัฐที่ไม่สามารถเจียดจ่ายจากงบประมาณประจ� ำปีได้น�ำไปช่วยเหลือตาม
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่มิได้คาดหมาย เช่น กรณีที่เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างรุนแรง ที่มี
ผลกระทบต่อโครงสร้างพืน้ ฐาน พืน้ ทีก่ ารเกษตร ชีวติ และทรัพย์สนิ ของประชาชน เพือ่ บรรเทา
ความเดือดร้อนของประชาชนได้อย่างรวดเร็วและกรณีช่วยเหลือผู้ประกอบการก่อสร้าง
โดยให้เป็นเงินชดเชยค่างานก่อสร้าง เป็นต้น
9.2 แผนงานบริหารบุคลากรภาครัฐ จ�ำนวน 212,213 ล้านบาท เพือ่ เป็นค่าใช้จา่ ย
ส�ำหรับการรักษาพยาบาลข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานของรัฐ เงินเบีย้ หวัดบ�ำเหน็จบ�ำนาญ
เงินช่วยเหลือข้าราชการ ลูกจ้างและพนักงานของรัฐ เงินเลื่อนเงินเดือนและเงินปรับวุฒิ
ข้าราชการ เงินส�ำรอง เงินสมทบและเงินชดเชยของข้าราชการ และเงินสมทบของลูกจ้างประจ�ำ
ตามสิทธิทางกฎหมายทีเ่ กีย่ วข้อง โดยให้ความส�ำคัญกับการพัฒนาการบริหารจัดการบุคลากร
ภาครัฐ และพัฒนาสมรรถนะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของข้าราชการในการปฏิบัติงานให้มี
คุณธรรม จริยธรรมในการให้บริการแก่ประชาชน รวมทั้งจัดสรรเป็นค่าใช้จ่ายการปรับบัญชี
เงินเดือนค่าจ้างและค่าตอบแทนรายเดือนของบุคลากรภาครัฐ เพื่อเป็นการยกระดับรายได้
และคุณภาพชีวิตของข้าราชการ รวมถึงข้าราชการบ�ำนาญให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ
ในปัจจุบัน
9.3 แผนงานบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ จ�ำนวน 216,564 ล้านบาท เพื่อสนับสนุน
การบริหารจัดการหนีภ้ าครัฐให้เกิดเสถียรภาพทางการคลังและการเงิน การรักษาวินยั ทางการ
คลัง การด�ำเนินการช�ำระหนีข้ องรัฐบาล และติดตามการช�ำระหนีข้ องรัฐวิสาหกิจและองค์กร
อื่นให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ได้ผูกพันไว้ รวมทั้งพัฒนาตราสารหนี้ในประเทศ เพื่อส่งเสริม
ประสิทธิภาพในการลงทุน และเพิม่ ทางเลือกในการลงทุนให้เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพและ
เกิดประโยชน์สูงสุด
9.4 แผนงานรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง ได้จัดสรรงบประมาณเพื่อชดใช้
รายจ่ายทีไ่ ด้ ใช้เงินคงคลังจ่ายไปก่อน จ�ำนวน 30,346.1 ล้านบาท เพือ่ สนับสนุนเสถียรภาพและ
ความมัน่ คงทางการคลัง และเป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
23
ตารางที่ 1 - 2
งบประมาณรายจ่ายประจำ�ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554
จำ�แนกตามยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ
หน่วย : ล้านบาท
งบประมาณ
ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ
จำ�นวน ร้อยละ
รวมทั้งสิ้น 2,070,000.0 100.0
1. ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมั่นของประเทศ 161,989.0 7.8
2. ยุทธศาสตร์การรักษาความมั่นคงของรัฐ 186,364.5 9.0
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคม คุณภาพชีวิต และลดความเหลื่อมล�้ำทางสังคม 624,418.7 30.2
4. ยุทธศาสตร์การจัดการเศรษฐกิจให้ขยายตัวได้อย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน 219,797.3 10.6
5. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศของโลก 36,954.9 1.8
6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม 18,532.3 0.9
7. ยุทธศาสตร์การต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ 8,182.6 0.4
8. ยุทธศาสตร์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 304,287.6 14.7
9. รายการค่าดำ�เนินการภาครัฐ 509,473.1 24.6

24
ตารางที่ 1 - 3
งบประมาณรายจ่ายประจำ�ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554
จำ�แนกตามยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณและแผนงาน
หน่วย : ล้านบาท
ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณและแผนงาน งบประมาณ
รวมงบประมาณทั้งสิ้น 2,070,000.0
1. ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมั่นของประเทศ 161,989.0
1.1 แผนงานสร้างค่านิยมในการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์และเสริมสร้าง
ความสมานฉันท์ของคนในชาติ 243.0
1.2 แผนงานแก้ ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ 19,102.0
1.3 แผนงานเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจในระดับฐานรากตามหลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียง 10,063.4
1.4 แผนงานสร้างระบบประกันความเสี่ยงและระบบกระจายสินค้าเกษตร 52,426.4
1.5 แผนงานสนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปี 80,154.2
2. ยุทธศาสตร์การรักษาความมั่นคงของรัฐ 186,364.5
2.1 แผนงานรักษาความสงบเรียบร้อยภายในประเทศ 10,635.7
2.2 แผนงานเสริมสร้างระบบป้องกันประเทศ 165,031.2
2.3 แผนงานพัฒนาระบบแก้ ไขปัญหาผู้หลบหนีเข้าเมืองและแรงงานต่างด้าว 1,201.4
2.4 แผนงานป้องกันและแก้ ไขปัญหาการก่อการร้าย และการรักษาผลประโยชน์ของชาติ 9,496.2
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคม คุณภาพชีวิต และลดความเหลื่อมล�้ำทางสังคม 624,418.7
3.1 แผนงานขยายโอกาสและพัฒนาการศึกษา 317,466.6
3.2 แผนงานพัฒนาและยกระดับมาตรฐานแรงงาน 29,079.7
3.3 แผนงานพัฒนาด้านสาธารณสุข 211,445.4
3.4 แผนงานส่งเสริมและพัฒนาศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม 7,989.7
3.5 แผนงานสวัสดิการสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 47,076.4
3.6 แผนงานป้องกันแก้ ไขปัญหายาเสพติด 4,948.0
3.7 แผนงานส่งเสริมและพัฒนากีฬาและนันทนาการ 6,412.9

25
หน่วย : ล้านบาท
ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณและแผนงาน งบประมาณ
4. ยุทธศาสตร์การจัดการเศรษฐกิจให้ขยายตัวได้อย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน 219,797.3
4.1 แผนงานการเงินการคลัง 20,163.9
4.2 แผนงานปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภาคเกษตร 85,791.8
4.3 แผนงานปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม 6,828.3
4.4 แผนงานปรับโครงสร้างเศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยวและบริการ 9,290.0
4.5 แผนงานปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ การตลาด การค้าและการลงทุน 6,958.1
4.6 แผนงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการ 85,894.4
4.7 แผนงานพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน 2,130.0
4.8 แผนงานพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2,740.8
5. ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อรองรับ 36,954.9
การเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศของโลก
5.1 แผนงานอนุรักษ์และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ 16,577.8
5.2 แผนงานบริหารจัดการทรัพยากรน�้ำ 6,802.7
5.3 แผนงานป้องกัน เตือนภัย แก้ ไขและฟื้นฟูความเสียหายจากภัยธรรมชาติ 8,475.9
และสาธารณภัย
5.4 แผนงานบริหารจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม 4,997.7
5.5 แผนงานแก้ ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศ 100.8
6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม 18,532.3
6.1 แผนงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม 4,292.5
6.2 แผนงานวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศ 14,239.8

26
หน่วย : ล้านบาท
ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณและแผนงาน งบประมาณ
7. ยุทธศาสตร์การต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ 8,182.6
7.1 แผนงานส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 7,286.3
7.2 แผนงานบริการกงสุลและคุ้มครองสิทธิประโยชน์ 896.3
8. ยุทธศาสตร์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี 304,287.6
8.1 แผนงานส่งเสริมการกระจายอำ�นาจการปกครอง 129,989.3
8.2 แผนงานบริหารจังหวัดและกลุ่มจังหวัด 18,344.1
8.3 แผนงานบริหารจัดการภาครัฐ 44,061.9
8.4 แผนงานพัฒนากฎหมายและกระบวนการยุติธรรม 76,644.6
8.5 แผนงานสนับสนุนการจัดการของรัฐสภา ศาล และองค์กรตามรัฐธรรมนูญ 35,247.7
9. รายการค่าดำ�เนินการภาครัฐ 509,473.1
9.1 แผนงานบริหารเพื่อรองรับกรณีฉุกเฉินหรือจำ�เป็น 50,350.0
9.2 แผนงานบริหารบุคลากรภาครัฐ 212,213.0
9.3 แผนงานบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ 216,564.0
9.4 แผนงานรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง 30,346.1

27
แผนภูมิที่ 1 - 2
งบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554
จ�ำแนกตามยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ
7.8%
24.6% 9.0%

14.7%

0.4% 30.2%
0.9%
1.8% 10.6%

ยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมั่นของประเทศ

ยุทธศาสตร์การรักษาความมั่นคงของรัฐ

ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคม คุณภาพชีวิต และลดความเหลื่อมล�้ำทางสังคม

ยุทธศาสตร์การจัดการเศรษฐกิจให้ขยายตัวได้อย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน

ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศของโลก

ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม

ยุทธศาสตร์การต่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

ยุทธศาสตร์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

รายการค่าด�ำเนินการภาครัฐ

28
5. การจัดสรรงบประมาณตามงบรายจ่าย
งบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 จ�ำนวน 2,070,000 ล้านบาท
ได้จัดสรรเพื่อด�ำเนินงานด้านต่างๆ ตามงบรายจ่ายที่ส�ำคัญ ปรากฏตามตารางที่ 1 - 4

ตารางที่ 1 - 4
การจัดสรรงบประมาณตามงบรายจ่าย
ปีงบประมาณ 2553 - 2554
หน่วย : ล้านบาท
ปีงบประมาณ 2554
ปีงบประมาณ เทียบกับ
งบรายจ่าย ปีงบประมาณ 2553
2553 2554 จำ�นวน ร้อยละ
1. งบบุคลากร 474,489.0 495,979.7 21,490.7 4.5
(สัดส่วนต่องบประมาณ) 27.9 24.0
2. งบดำ�เนินงาน 189,291.5 234,206.9 44,915.4 23.7
(สัดส่วนต่องบประมาณ) 11.2 11.3
3. งบลงทุน 137,677.8 240,961.9 103,284.1 75.0
(สัดส่วนต่องบประมาณ) 8.1 11.6
4. งบเงินอุดหนุน 438,732.0 517,758.1 79,026.1 18.0
(สัดส่วนต่องบประมาณ) 25.8 25.0
5. งบรายจ่ายอื่น 459,809.7 581,093.4 121,283.7 26.4
(สัดส่วนต่องบประมาณ) 27.0 28.1
รวม 1,700,000.0 2,070,000.0 370,000.0 21.8

หมายเหตุ
งบบุคลากร รายจ่ายเพื่อการบริหารงานบุคคลภาครัฐ เช่น เงินเดือน ค่าจ้างประจำ� ค่าจ้างชั่วคราว ค่าตอบแทน
พนักงานราชการ
งบดำ�เนินงาน รายจ่ายเพื่อการบริหารและดำ�เนินงาน เช่น ค่าตอบแทน ใช้สอย วัสดุ และสาธารณูปโภค
งบลงทุน รายจ่ายเพื่อการลงทุน เช่น ค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน สิ่งก่อสร้าง และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่อง
งบเงินอุดหนุน รายจ่ายเพื่อช่วยเหลือ สนับสนุนการดำ�เนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การเอกชน
และนิติบุคคลต่างๆ ซึ่งจำ�แนกรายจ่ายเป็น งบบุคลากร งบดำ�เนินงาน และงบลงทุน
งบรายจ่ายอื่น รายจ่ายที่ ไม่เข้าลักษณะงบรายจ่ายใดหรือสำ�นักงบประมาณกำ�หนดให้ ใช้จ่ายจากงบรายจ่ายนี้
ซึ่งจำ�แนกรายจ่ายเป็น งบบุคลากร งบดำ�เนินงาน และงบลงทุน

29
สัดส่วนของงบประมาณจ� ำแนกตามงบรายจ่าย ตั้งแต่ปีงบประมาณ
2545 - 2554 ปรากฏตามแผนภูมิที่ 1 - 3

แผนภูมิที่ 1 - 3
สัดส่วนของงบประมาณจ�ำแนกตามงบรายจ่าย
ปีงบประมาณ 2545 - 2554

ร้อยละ
50

40
งบบุคลากร
30
งบรายจ่ายอื่น
20 งบเงินอุดหนุน
งบลงทุน
10
งบด�ำเนินงาน
0
2545 2546 2547 2548 2549 2550 2551 2552 2553 2554

30
ภาค 2
ประมาณการรายรับ
รายรับประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ได้ประมาณการไว้ จ�ำนวน 2,070,000
ล้านบาท เพิม่ ขึน้ จ�ำนวน 370,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 21.8 เมือ่ เปรียบเทียบกับประมาณการ
ตามเอกสาร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ซึ่งประมาณการไว้จ�ำนวน 1,700,000 ล้านบาท
ประมาณการรายรับประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 จ�ำนวน 2,070,000 ล้านบาท
จ�ำแนกได้ดังนี้

1. รายได้
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 คาดว่าจะจัดเก็บรายได้ประเภทต่างๆ ได้จ�ำนวน
1,958,500 ล้านบาท เมื่อหักลดภาระการคืนภาษีของกรมสรรพากร จ�ำนวน 212,800
ล้านบาท การจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด จ�ำนวน 11,900 ล้านบาท
การกันเงินเพื่อชดเชยภาษีส�ำหรับสินค้าส่งออก จ�ำนวน 13,300 ล้านบาท และการจัดสรร
ภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติก�ำหนดแผนและขั้นตอน
การกระจายอ�ำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 จ�ำนวน 70,500 ล้านบาท
จะคงเหลือเป็นรายได้สุทธิ จ�ำนวน 1,650,000 ล้านบาท
จ�ำแนกตามประเภทของการจัดเก็บได้ดังนี้
(1) ภาษีอากร (สุทธิ) จ�ำนวน 1,510,387.7 ล้านบาท เท่ากับร้อยละ 73.0 ของ
ประมาณการรายรับ ซึ่งในจ�ำนวนนี้เป็นภาษีทางตรง และภาษีทางอ้อม ดังนี้
(1.1) ภาษีทางตรง จ�ำนวน 737,200.0 ล้านบาท ประกอบด้วย
ก. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จ�ำนวน 217,000.0 ล้านบาท
ข. ภาษีเงินได้นิติบุคคล จ�ำนวน 430,200.0 ล้านบาท
ค. ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม จ�ำนวน 90,000.0 ล้านบาท
(1.2) ภาษีทางอ้อม จ�ำนวน 1,081,687.7 ล้านบาท ประกอบด้วย
ก. ภาษีการขายทั่วไป จ�ำนวน 568,150.0 ล้านบาท
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม จ�ำนวน 536,800.0 ล้านบาท
- ภาษีธุรกิจเฉพาะ จ�ำนวน 23,000.0 ล้านบาท
- อากรแสตมป์ จ�ำนวน 8,350.0 ล้านบาท
ข. ภาษีการขายเฉพาะ จ�ำนวน 424,867.2 ล้านบาท
- ภาษีน�้ำมันและผลิตภัณฑ์น�้ำมัน จ�ำนวน 151,700.0 ล้านบาท
- ภาษีสรรพสามิตจากการน�ำเข้า จ�ำนวน 36,590.0 ล้านบาท
31
- ภาษีโภคภัณฑ์อื่น จ�ำนวน 198,771.8 ล้านบาท
- ค่าภาคหลวงแร่ จ�ำนวน 802.0 ล้านบาท
- ค่าภาคหลวงน�้ำมัน จ�ำนวน 36,997.2 ล้านบาท
และก๊าซธรรมชาติ
- ภาษีทรัพยากรธรรมชาติอื่น จ�ำนวน 6.2 ล้านบาท
ค. ภาษีสินค้าเข้า - ออก จ�ำนวน 86,100.0 ล้านบาท
ง. ภาษีลักษณะอนุญาต จ�ำนวน 2,570.5 ล้านบาท
(1.3) หักลด จ�ำนวน 308,500 ล้านบาท ประกอบด้วยการคืนภาษีของ
กรมสรรพากร จ�ำนวน 212,800 ล้านบาท การจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์การบริหาร
ส่วนจังหวัด จ�ำนวน 11,900 ล้านบาท การกันเงินเพื่อชดเชยภาษีส�ำหรับสินค้าส่งออก
จ�ำนวน 13,300 ล้านบาท และการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ตามพระราชบัญ ญั ติก�ำ หนดแผนและขั้นตอนการกระจายอ� ำ นาจให้แ ก่อ งค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 จ�ำนวน 70,500 ล้านบาท
(2) การขายสิ่งของและบริการ จ�ำนวน 17,909.2 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.9
ของประมาณการรายรับ ซึ่งเป็นรายได้ที่เก็บจาก
(2.1) การขายหลั ก ทรั พ ย์ แ ละทรั พ ย์ สิ น จ� ำ นวน 4,506.9 ล้ า นบาท
ประกอบด้วยค่าขายทรัพย์สินซึ่งเป็นอสังหาริมทรัพย์ จ�ำนวน 296.1 ล้านบาท ค่าขาย
ผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ จ�ำนวน 105.6 ล้านบาท ค่าขายหลักทรัพย์ จ�ำนวน 2,998.0 ล้านบาท
ค่าขายหนังสือราชการ จ�ำนวน 10.3 ล้านบาท ค่าขายสิ่งของอื่น จ�ำนวน 1,096.9 ล้านบาท
(2.2) การขายบริการ จ�ำนวน 13,402.3 ล้านบาท ประกอบด้วยค่าบริการ
จ�ำนวน 10,455.2 ล้านบาท และค่าเช่า จ�ำนวน 2,947.1 ล้านบาท
(3) รายได้จากรัฐพาณิชย์ จ�ำนวน 84,400 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.1 ของ
ประมาณการรายรับ ประกอบด้วยผลก�ำไรขององค์การรัฐบาล หน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาล
เป็นเจ้าของน�ำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน จ�ำนวน 70,237.0 ล้านบาท รายได้จากส�ำนักงาน
สลากกินแบ่งรัฐบาล จ�ำนวน 14,163.0 ล้านบาท
(4) รายได้อื่น จ�ำนวน 37,303.1 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.8 ของประมาณการ
รายรับ ประกอบด้วยค่าแสตมป์ฤชากรและค่าปรับ จ�ำนวน 2,412.4 ล้านบาท เงินรับคืน
จ�ำนวน 2,611.0 ล้านบาท และรายได้เบ็ดเตล็ดอื่น จ�ำนวน 32,279.7 ล้านบาท

2. เงินกู้
ด้วยประมาณการรายจ่ายจะสูงกว่าประมาณการรายได้สุทธิ จ�ำนวน 420,000
ล้านบาท จึงก�ำหนดจ�ำนวนดังกล่าวให้เป็นเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลซึ่งคิดเป็นร้อยละ
20.3 ของประมาณการรายรับ
32
ตารางที่ 2 - 1
เปรียบเทียบประมาณการรายรับ
หน่วย : ล้านบาท
ปีงบประมาณ ปีงบประมาณ 2554
เทียบกับ
ประเภทรายรับ 2553 2554 ปีงบประมาณ 2553
จำ�นวน ร้อยละ จำ�นวน ร้อยละ จำ�นวน ร้อยละ
รายได้
1. ภาษีอากรรวม 1,497,310.7 88.1 1,818,887.7 87.9 321,577.0 21.5
(1,673,681.2) (89.4) (145,206.5) (8.7)
2. การขายสิ่งของและบริการ 16,081.0 0.9 17,909.2 0.9 1,828.2 11.4
(15,161.0) (0.8) (2,748.2) (18.1)
3. รัฐพาณิชย์ 83,300.0 4.9 84,400.0 4.1 1,100.0 1.3
(4.4)
4. รายได้อื่น 28,908.3 1.7 37,303.1 1.8 8,394.8 29.0
(38,757.8) (2.1) (-1,454.7) (-3.8)
รายได้รวม 1,625,600.0 95.6 1,958,500.0 94.6 332,900.0 20.5
(1,810,900.0) (96.7) (147,600.0) (8.2)
หักลด
1. การคืนภาษีของ 210,000.0 12.4 212,800.0 10.3 2,800.0 1.3
กรมสรรพากร (204,400.0) (10.9) (8,400.0) (4.1)
2. การจัดสรรภาษี 9,200.0 0.5 11,900.0 0.6 2,700.0 29.3
มูลค่าเพิ่มให้ อบจ. (10,500.0) (0.6) (1,400.0) (13.3)
3. การกันเงินเพื่อชดเชย 11,000.0 0.6 13,300.0 0.6 2,300.0 20.9
ภาษีสำ�หรับสินค้าส่งออก (12,300.0) (0.7) (1,000.0) (8.1)
รายได้สุทธิ 1,395,400.0 82.1 1,720,500.0 83.1 325,100.0 23.3
(1,583,700.0) (84.6) (136,800.0) (8.6)
การจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้ 45,400.0 2.7 70,500.0 3.4 25,100.0 55.3
อปท.ตาม พ.ร.บ. กระจายอำ�นาจฯ (61,700.0) (3.3) (8,800.0) (14.3)
คงเหลือรายได้สุทธิ 1,350,000.0 79.4 1,650,000.0 79.7 300,000.0 22.2
(1,522,000.0) (81.3) (128,000.0) (8.4)
เงินกู้ 350,000.0 20.6 420,000.0 20.3 70,000.0 20.0
(18.7)
รวมรายรับ 1,700,000.0 100.0 2,070,000.0 100.0 370,000.0 21.8
(1,872,000.0) (100.0) (198,000.0) (10.6)

หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บ เป็นประมาณการปรับปรุงปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ตามมติ ครม. เมื่อ 26 มกราคม 2553

33
แผนภูมิที่ 2 - 1
ประมาณการรายรับ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554
ยอดรวม 2,070,000 ล้านบาท

72.9%
0.9%
4.1%

1.8%

20.3%

ภาษีอากร (สุทธิ)

การขายสิ่งของและบริการ

รัฐพาณิชย์

รายได้อื่น

เงินกู้

34
ตารางที่ 2 - 2
ประมาณการรายได้จำ�แนกตามหน่วยงานที่จัดเก็บ
หน่วย : ล้านบาท
ปีงบประมาณ ปีงบประมาณ 2554
เทียบกับ
หน่วยงานที่จัดเก็บ 2553 2554 ปีงบประมาณ 2553
จำ�นวน ร้อยละ จำ�นวน ร้อยละ จำ�นวน ร้อยละ
1. กรมสรรพากร 1,097,900.0 81.3 1,305,600.0 79.1 207,700.0 18.9
(1,189,550.0) (78.1) (116,050.0) (9.8)
2. กรมสรรพสามิต 291,000.0 21.5 387,100.0 23.5 96,100.0 33.0
(366,600.0) (24.1) (20,500.0) (5.6)
3. กรมศุลกากร 73,800.0 5.5 88,400.0 5.4 14,600.0 19.8
(83,600.0) (5.5) (4,800.0) (5.7)
4. ส่วนราชการอื่น 79,600.0 5.9 93,000.0 5.6 13,400.0 16.8
(87,850.0) (5.8) (5,150.0) (5.9)
5. รัฐพาณิชย์ 83,300.0 6.2 84,400.0 5.1 1,100.0 1.3
(5.5)
รายได้รวม 1,625,600.0 120.4 1,958,500.0 118.7 332,900.0 20.5
(1,810,900.0) (119.0) (147,600.0) (8.2)
หักลด
1. การคืนภาษีของ 210,000.0 15.5 212,800.0 12.9 2,800.0 1.3
กรมสรรพากร (204,400.0) (13.4) (8,400.0) (4.1)
2. การจัดสรรภาษี 9,200.0 0.7 11,900.0 0.7 2,700.0 29.3
มูลค่าเพิ่มให้ อบจ. (10,500.0) (0.7) (1,400.0) (13.3)
3. การกันเงินเพื่อชดเชย 11,000.0 0.8 13,300.0 0.8 2,300.0 20.9
ภาษีสำ�หรับสินค้าส่งออก (12,300.0) (0.8) (1,000.0) (8.1)
รายได้สุทธิ 1,395,400.0 103.4 1,720,500.0 104.3 325,100.0 23.3
(1,583,700.0) (104.1) (136,800.0) (8.6)
การจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้ 45,400.0 3.4 70,500.0 4.3 25,100.0 55.3
อปท.ตาม พ.ร.บ. กระจายอำ�นาจฯ (61,700.0) (4.1) (8,800.0) (14.3)
คงเหลือรายได้สุทธิ 1,350,000.0 100.0 1,650,000.0 100.0 300,000.0 22.2
(1,522,000.0) (100.0) (128,000.0) (8.4)

หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บ เป็นประมาณการปรับปรุงปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2553

35
ตารางที่ 2 - 3
ประมาณการรายได้จำ�แนกตามกระทรวง
หน่วย : ล้านบาท
ปีงบประมาณ ปีงบประมาณ 2554
เทียบกับ
กระทรวง 2553 2554 ปีงบประมาณ 2553
จำ�นวน ร้อยละ จำ�นวน ร้อยละ จำ�นวน ร้อยละ
1. สำ�นักนายกรัฐมนตรี 157.0 0.0 194.3 0.0 37.4 23.8
2. กระทรวงกลาโหม 206.7 0.0 272.4 0.0 65.7 31.8
3. กระทรวงการคลัง 1,483,452.7 109.9 1,806,233.9 109.5 322,781.2 21.8
(1,668,752.7) (109.6) (137,481.2) (8.2)
4. กระทรวงการต่างประเทศ 3,953.6 0.3 3,270.3 0.2 -683.3 -17.3
5. กระทรวงการท่องเที่ยว 3.2 0.0 4.4 0.0 1.2 39.0
และกีฬา
6. กระทรวงการพัฒนาสังคม 13.0 0.0 7.4 0.0 -5.7 -43.5
และความมั่นคงของมนุษย์
7. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 583.9 0.1 1,082.4 0.1 498.5 85.4
8. กระทรวงคมนาคม 1,416.6 0.1 1,533.7 0.1 117.1 8.3
9. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ 475.7 0.0 634.4 0.0 158.7 33.4
และสิ่งแวดล้อม
10. กระทรวงเทคโนโลยี 423.7 0.0 422.9 0.0 -0.7 -0.2
สารสนเทศและการสื่อสาร
11. กระทรวงพลังงาน 39,251.4 2.9 47,632.7 2.9 8,381.3 21.4
(2.6)
12. กระทรวงพาณิชย์ 1,949.2 0.1 1,820.0 0.1 -129.2 -6.6
13. กระทรวงมหาดไทย 1,289.6 0.1 1,623.8 0.1 334.1 25.9
14. กระทรวงยุติธรรม 2,344.1 0.2 2,364.1 0.1 20.0 0.9
15. กระทรวงแรงงาน 582.2 0.1 883.9 0.1 301.7 51.8
16. กระทรวงวัฒนธรรม 38.5 0.0 41.4 0.0 2.9 7.4
17. กระทรวงวิทยาศาสตร์ 60.0 0.0 55.7 0.0 -4.4 -7.3
และเทคโนโลยี
18. กระทรวงศึกษาธิการ 470.2 0.0 708.8 0.1 238.5 50.7
19. กระทรวงสาธารณสุข 505.2 0.0 540.4 0.0 35.2 7.0

36
หน่วย : ล้านบาท
ปีงบประมาณ ปีงบประมาณ 2554
เทียบกับ
กระทรวง 2553 2554 ปีงบประมาณ 2553
จำ�นวน ร้อยละ จำ�นวน ร้อยละ จำ�นวน ร้อยละ
20. กระทรวงอุตสาหกรรม 1,349.5 0.1 1,369.1 0.1 19.6 1.5
21. ส่วนราชการที่ ไม่สังกัด 2,343.7 0.2 1,847.7 0.1 -496.0 -21.2
สำ�นักนายกรัฐมนตรี
กระทรวงหรือทบวง
22. หน่วยงานของรัฐสภา 3.4 0.0 9.9 0.0 6.5 189.6
23. หน่วยงานของศาล 1,414.2 0.1 1,541.1 0.1 126.9 9.0
24. หน่วยงานขององค์กร 12.7 0.0 5.3 0.0 -7.4 -58.0
ตามรัฐธรรมนูญ
25. รัฐพาณิชย์ 83,300.0 6.2 84,400.0 5.1 1,100.0 1.3
(5.4)
รายได้รวม 1,625,600.0 120.4 1,958,500.0 118.7 332,900.0 20.5
(1,810,900.0) (119.0) (147,600.0) (8.2)
หักลด
1. การคืนภาษีของ 210,000.0 15.5 212,800.0 12.9 2,800.0 1.3
กรมสรรพากร (204,400.0) (13.4) (8,400.0) (4.1)
2. การจัดสรรภาษี 9,200.0 0.7 11,900.0 0.7 2,700.0 29.3
มูลค่าเพิ่มให้ อบจ. (10,500.0) (0.7) (1,400.0) (13.3)
3. การกันเงินเพื่อชดเชยภาษี 11,000.0 0.8 13,300.0 0.8 2,300.0 20.9
สำ�หรับสินค้าส่งออก (12,300.0) (0.8) (1,000.0) (8.1)
รายได้สุทธิ 1,395,400.0 103.4 1,720,500.0 104.3 325,100.0 23.3
(1,583,700.0) (104.1) (136,800.0) (8.6)
การจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้ 45,400.0 3.4 70,500.0 4.3 25,100.0 55.3
อปท.ตาม พ.ร.บ. กระจายอำ�นาจฯ (61,700.0) (4.1) (8,800.0) (14.3)
คงเหลือรายได้สุทธิ 1,350,000.0 100.0 1,650,000.0 100.0 300,000.0 22.2
(1,522,000.0) (100.0) (128,000.0) (8.4)

หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บ เป็นประมาณการปรับปรุงปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2553

37
แผนภูมิที่ 2 - 2
ประมาณการรายได้สุทธิ
จ�ำแนกตามหน่วยงานที่จัดเก็บ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554
ยอดรวม 1,650,000 ล้านบาท

61.2%
23.5%

4.6%
5.6%
5.1%

กรมสรรพากร

กรมสรรพสามิต

กรมศุลกากร

ส่วนราชการอื่น

รัฐพาณิชย์

38
ตารางที่ 2 - 4
เปรียบเทียบประมาณการรายได้กับรายได้ที่จัดเก็บได้
หน่วย : ล้านบาท
จัดเก็บได้เทียบกับประมาณการ
ปีงบประมาณ ประมาณการ จัดเก็บได้
จำ�นวน ร้อยละ
2544 805,000.0 772,966.4 -32,033.6 -4.0
(8.3) (3.1)
2545 823,000.0 851,097.2 28,097.2 3.4
(2.2) (10.1)
2546 825,000.0 961,365.1 136,365.1 16.5
(0.2) (13.0)
2547 1,063,600.0 1,114,834.7 51,234.7 4.8
(28.9) (16.0)
2548 1,250,000.0 1,255,629.2 5,629.2 0.5
(17.5) (12.6)
2549 1,360,000.0 1,339,690.2 -20,309.8 -1.5
(8.8) (6.7)
2550 1,420,000.0 1,444,411.3 24,411.3 1.7
(4.4) (7.8)
2551 1,495,000.0 1,547,850.2 52,850.2 3.5
(5.3) (7.2)
2552 1,472,590.0 1,410,857.2 -61,732.8 -4.2
(-1.5) (-8.9)
2553 1,350,000.0
(-8.3)
(1,522,000.0)
(3.4)

หมายเหตุ 1. ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราเพิ่ม / ลดจากปีก่อน


2. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 เป็นประมาณการปรับปรุง
3. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ตัวเลขในวงเล็บเป็นประมาณการปรับปรุง
ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2553

39
ตารางที่ 2 - 5
ประมาณการรายได้จำ�แนกตามประเภท หน่วย : ล้านบาท

40
ปีงบประมาณ 2550 2551 2552 2553 2554
ประเภทรายได้ จำ�นวน ร้อยละ จำ�นวน ร้อยละ จำ�นวน ร้อยละ จำ�นวน ร้อยละ จำ�นวน ร้อยละ
1. ภาษีอากรรวม 1,552,180.2 109.3 1,626,015.4 108.8 1,768,497.1 111.5 1,497,310.7 110.9 1,818,887.7 110.2
(1,504,901.7) (108.3) (1,623,125.9) (109.7) (1,630,867.6) (110.7) (1,673,681.2) (110.0)
2. การขายสิ่งของและบริการ 14,891.8 1.0 15,141.3 1.0 14,607.1 0.9 16,081.0 1.2 17,909.2 1.1
(14,518.7) (1.0) (16,699.2) (1.1) (14,603.1) (1.0) (15,161.0) (1.0)
3. รัฐพาณิชย์ 72,650.0 5.1 98,650.0 6.6 93,000.0 5.9 83,300.0 6.2 84,400.0 5.1
(88,820.0) (6.4) (6.7) (85,000.0) (5.8) (5.5)
4. รายได้อื่น 33,478.0 2.4 32,693.4 2.2 23,895.8 1.5 28,908.3 2.1 37,303.1 2.3
(40,859.6) (2.9) (27,135.0) (1.8) (17,419.3) (1.2) (38,757.8) (2.5)
รายได้รวม 1,673,200.0 117.8 1,772,500.0 118.6 1,900,000.0 119.8 1,625,600.0 120.4 1,958,500.0 118.7
(1,649,100.0) (118.6) (1,765,610.0) (119.3) (1,747,890.0) (118.7) (1,810,900.0) (119.0)
หักลด
1. การคืนภาษีของ 167,400.0 11.8 190,000.0 12.7 218,000.0 13.7 210,000.0 15.5 212,800.0 12.9
กรมสรรพากร (180,000.0) (12.9) (199,150.0) (13.5) (192,400.0) (13.1) (204,400.0) (13.4)
2. การจัดสรรภาษี 9,100.0 0.6 10,600.0 0.7 11,700.0 0.7 9,200.0 0.7 11,900.0 0.7
มูลค่าเพิ่มให้ อบจ. (9,600.0) (0.7) (10,560.0) (0.7) (10,300.0) (0.7) (10,500.0) (0.7)
3. การกันเงินเพื่อชดเชยภาษี 11,400.0 0.8 11,900.0 0.8 12,900.0 0.8 11,000.0 0.8 13,300.0 0.8
สำ�หรับสินค้าส่งออก (11,000.0) (0.8) (12,000.0) (0.8) (11,700.0) (0.8) (12,300.0) (0.8)
รายได้สุทธิ 1,485,300.0 104.6 1,560,000.0 104.4 1,657,400.0 104.5 1,395,400.0 103.4 1,720,500.0 104.3
(1,448,500.0) (104.2) (1,543,900.0) (104.3) (1,533,490.0) (104.1) (1,583,700.0) (104.1)
การจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้ อปท. 65,300.0 4.6 65,000.0 4.4 71,900.0 4.5 45,400.0 3.4 70,500.0 4.3
ตาม พ.ร.บ. กระจายอำ�นาจฯ (58,500.0) (4.2) (63,900.0) (4.3) 60,900.0 (4.1) (61,700.0) (4.1)
คงเหลือรายได้สุทธิ 1,420,000.0 100.0 1,495,000.0 100.0 1,585,500.0 100.0 1,350,000.0 100.0 1,650,000.0 100.0
(1,390,000.0) (100.0) (1,480,000.0) (100.0) (1,472,590.0) (100.0) (1,522,000.0) (100.0)
หมายเหตุ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 ตัวเลขในวงเล็บเป็นประมาณการปรับปรุง ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2550
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 ตัวเลขในวงเล็บเป็นประมาณการปรับปรุง ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2551
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ตัวเลขในวงเล็บเป็นประมาณการปรับปรุง ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2552 และได้รวมประมาณการรายได้
จำ�นวน 19,139.5 ล้านบาท จากพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำ�ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ด้วยแล้ว
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ตัวเลขในวงเล็บเป็นประมาณการปรับปรุง ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2553
ตารางที่ 2 - 6
รายรับจริงจำ�แนกตามประเภท
หน่วย : ล้านบาท
ปีงบประมาณ อัตรา อัตรา อัตรา อัตรา อัตรา
2548 2549 2550 2551 2552
ประเภทรายรับ เพิ่ม/ลด เพิ่ม/ลด เพิ่ม/ลด เพิ่ม/ลด เพิ่ม/ลด
รายได้
1. ภาษีอากรรวม 1,354,946.8 15.6 1,463,328.3 8.0 1,530,969.1 4.6 1,698,544.6 10.9 1,551,033.5 -8.7
2. การขายสิ่งของและบริการ 15,910.5 -64.9 16,013.8 0.6 14,936.3 -6.7 20,212.6 35.3 20,068.8 -0.7
3. รัฐพาณิชย์ 82,113.7 40.1 77,165.5 -6.0 86,128.3 11.6 101,430.1 17.8 86,640.7 -14.6
4. รายได้อื่น 12,149.2 -38.2 25,016.6 105.9 71,692.6 186.6 19,467.9 -72.8 26,554.2 36.4
รายได้รวม 1,465,120.2 13.1 1,581,524.2 7.9 1,703,726.3 7.7 1,839,655.2 8.0 1,684,297.2 -8.4
หักลด
1. การคืนภาษีของ 131,219.0 13.5 162,951.0 24.2 181,793.0 11.6 202,716.0 11.5 199,408.0 -1.6
กรมสรรพากร
2. การจัดสรรภาษี 7,451.0 17.0 9,172.0 23.1 9,514.0 3.7 11,625.0 22.2 9,040.0 -22.2
มูลค่าเพิ่มให้ อบจ.
3. การกันเงินเพื่อชดเชยภาษี 12,421.0 10.6 12,399.0 -0.2 10,416.0 -16.0 12,044.0 15.6 11,160.0 -7.3
สำ�หรับสินค้าส่งออก
รายได้สุทธิ 1,314,029.2 13.0 1,397,002.2 6.3 1,502,003.3 7.5 1,613,270.2 7.4 1,464,689.2 -9.2
การจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้ อปท. 58,400.0 22.4 57,312.0 -1.9 57,592.0 0.5 65,420.0 13.6 53,832.0 -17.7
ตาม พ.ร.บ. กระจายอำ�นาจฯ
คงเหลือรายได้สุทธิ 1,255,629.2 12.6 1,339,690.2 6.7 1,444,411.3 7.8 1,547,850.2 7.2 1,410,857.2 -8.9
เงินกู้ -100.0 146,200.0 165,000.0 12.9 441,060.5 167.3

41
รวมรายรับทั้งสิ้น 1,255,629.2 4.2 1,339,690.2 6.7 1,590,611.3 18.7 1,712,850.2 7.7 1,851,917.7 8.1
ตารางที่ 2 - 7
ประมาณการรายได้จำ�แนกตามภาค
หน่วย : ล้านบาท
ประเภทรายได้ รายได้จัดเก็บ ประมาณการ
ภาค 2552 2553 2554
รายได้สุทธิ 1,410,857.2 1,522,000.0 1,650,000.0
งบภาษีอากร 1,277,593.5 1,384,781.2 1,510,387.7
งบการขายสิ่งของและบริการ 20,068.8 15,161.0 17,909.2
งบรัฐพาณิชย์ 86,640.7 83,300.0 84,400.0
งบรายได้อื่น 26,554.2 38,757.8 37,303.1
1. กรุงเทพมหานคร 861,505.0 922,040.4 1,029,790.6
งบภาษีอากร 745,197.3 802,499.8 906,987.8
งบการขายสิ่งของและบริการ 10,026.7 7,574.2 10,052.4
งบรัฐพาณิชย์ 86,640.7 83,300.0 84,400.0
งบรายได้อื่น 19,640.3 28,666.4 28,350.4
2. ภาคเหนือ 17,166.9 18,652.4 20,479.1
งบภาษีอากร 14,181.7 15,510.1 16,614.3
งบการขายสิ่งของและบริการ 1,726.0 1,303.8 1,253.6
งบรายได้อื่น 1,259.2 1,838.5 2,611.2
3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 22,587.7 24,902.4 27,568.5
งบภาษีอากร 19,200.9 21,000.0 24,166.2
งบการขายสิ่งของและบริการ 1,479.0 1,117.5 1,164.1
งบรายได้อื่น 1,907.8 2,784.9 2,238.2
4. ภาคกลาง 485,144.1 530,066.6 543,458.9
งบภาษีอากร 478,422.1 523,250.9 537,698.0
งบการขายสิ่งของและบริการ 4,252.9 3,213.4 3,522.7
งบรายได้อื่น 2,469.1 3,602.3 2,238.2
5. ภาคใต้ 24,453.5 26,338.2 28,702.9
งบภาษีอากร 20,591.5 22,520.3 24,921.4
งบการขายสิ่งของและบริการ 2,584.2 1,952.2 1,916.3
งบรายได้อื่น 1,277.8 1,865.7 1,865.2

หมายเหตุ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 เป็นรายได้นำ�ส่งคลัง จำ�แนกตามภาคเป็นตัวเลขประมาณการ


ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 เป็นประมาณการปรับปรุงตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2553

42
ตารางที่ 2 - 8
รายได้ประเภทภาษีอากรรวม จำ�แนกตามหน่วยงานที่จัดเก็บ
หน่วย : ล้านบาท
ปีงบประมาณ 2550 2551 2552 2553 2554
หน่วยงานที่จัดเก็บ จำ�นวน ร้อยละ จำ�นวน ร้อยละ จำ�นวน ร้อยละ จำ�นวน ร้อยละ จำ�นวน ร้อยละ
กรมสรรพากร 1,118,974.0 73.2 1,276,004.0 75.1 1,138,341.0 73.4 1,097,650.0 73.3 1,305,350.0 71.8
(1,189,300.0) (71.1)
กรมสรรพสามิต 264,799.4 18.5 278,157.1 16.4 291,221.2 18.8 290,849.5 19.4 387,100.0 21.3
(366,270.0) (21.9)
กรมศุลกากร 88,504.9 5.6 97,488.0 5.7 77,590.8 5.0 71,800.0 4.8 86,100.0 4.7
(81,100.0) (4.8)
กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ 33,941.7 2.2 44,050.5 2.6 40,777.4 2.6 34,075.4 2.3 36,997.2 2.0
(2.0)
สำ�นักงานตำ�รวจแห่งชาติ 1,421.9 0.1 1,393.5 0.1 1,298.6 0.1 1,381.0 0.1 1,356.9 0.1

ส่วนราชการอื่น 23,327.3 0.4 1,451.5 0.1 1,804.5 0.1 1,554.8 0.1 1,983.6 0.1

รวมทั้งสิ้น 1,530,969.1 100.0 1,698,544.6 100.0 1,551,033.5 100.0 1,497,310.7 100.0 1,818,887.7 100.0
(1,673,681.2) (100.0)

หมายเหตุ 1. ปีงบประมาณ 2550 - 2552 เป็นรายได้ที่จัดเก็บได้


2. ปีงบประมาณ 2553 - 2554 เป็นตัวเลขประมาณการ
3. ตัวเลขในวงเล็บ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 เป็นประมาณการปรับปรุงตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2553

43
แผนภูมิที่ 2 - 3
ประมาณการรายได้ประเภทภาษีอากรรวม
จ�ำแนกตามหน่วยงานที่จัดเก็บ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554
ยอดรวม 1,818,887.7 ล้านบาท

4.7% 2.2%
21.3%

71.8%

กรมสรรพากร

กรมสรรพสามิต

กรมศุลกากร

ส่วนราชการอื่น

44
ตารางที่ 2 - 9
รายได้ที่ ไม่ ใช่ภาษีอากร จำ�แนกตามหน่วยงานที่จัดเก็บ
หน่วย : ล้านบาท
ปีงบประมาณ 2550 2551 2552 2553 2554
หน่วยงานที่จัดเก็บ จำ�นวน ร้อยละ จำ�นวน ร้อยละ จำ�นวน ร้อยละ จำ�นวน ร้อยละ จำ�นวน ร้อยละ
สำ�นักงานปลัดกระทรวงการคลัง 54,387.2 31.5 382.6 0.3 2,230.6 1.7 12,237.2 9.5 16,651.3 11.9
(20,487.2) (14.9)
กรมธนารักษ์ 3,145.3 1.8 4,809.0 3.4 3,838.8 2.9 3,500.0 2.7 3,600.0 2.6
(2.6)
สำ�นักงานปลัดกระทรวงการต่างประเทศ 3,685.3 2.1 4,731.1 3.3 3,022.2 2.2 3,953.6 3.1 3,270.3 2.3
(2.9)
กรมที่ดิน 277.5 0.2 356.1 0.3 354.1 0.3 308.8 0.2 353.8 0.3

สำ�นักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม 260.8 0.2 308.3 0.2 255.0 0.2 284.3 0.2 243.7 0.2

กรมโรงงานอุตสาหกรรม 99.5 0.1 114.5 0.1 91.2 0.1 50.0 0.1 70.5 0.1

สำ�นักงานศาลยุติธรรม 1,927.8 1.1 2,235.2 1.6 2,289.4 1.7 1,414.2 1.1 1,541.1 1.1
(1.0)
รัฐพาณิชย์ 86,128.3 49.9 101,430.1 71.9 86,640.7 65.0 83,300.0 65.0 84,400.0 60.4
(60.7)
ส่วนราชการอื่น 22,845.6 13.2 26,743.7 18.9 34,541.6 25.9 23,241.2 18.1 29,481.6 21.1
(23,920.7) (17.4)
รวมทั้งสิ้น 172,757.2 100.0 141,110.6 100.0 133,263.6 100.0 128,289.3 100.0 139,612.3 100.0
(137,218.8) (100.0)
หมายเหตุ 1. ปีงบประมาณ 2550 - 2552 เป็นรายได้ที่จัดเก็บได้
2. ปีงบประมาณ 2553 - 2554 เป็นตัวเลขประมาณการ

45
3. ตัวเลขในวงเล็บ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 เป็นประมาณการปรับปรุงตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2553
ตารางที่ 2 - 10
เปรียบเทียบประมาณการรายได้จากภาษีอากรกับภาษีอากรที่จัดเก็บได้
หน่วย : ล้านบาท
ภาษีอากรรวม จัดเก็บได้เทียบกับประมาณการ
ปีงบประมาณ
ประมาณการ จัดเก็บได้ จำ�นวน ร้อยละ
2538 688,759.1 731,534.4 42,775.3 6.2
2539 820,803.4 808,631.8 -12,171.6 -1.5
2540 882,603.1 807,882.1 -74,721.0 -8.5
2541 732,915.3 731,023.9 -1,891.4 -0.3
2542 666,231.5 691,597.7 25,366.2 3.8
2543 705,095.9 727,078.1 21,982.2 3.1
2544 783,809.3 784,386.5 577.2 0.1
2545 815,920.6 863,949.6 48,029.0 5.9
2546 856,440.3 1,002,509.3 146,069.0 17.1
2547 1,083,409.3 1,172,124.7 88,715.4 8.2
2548 1,333,928.5 1,354,946.8 21,018.3 1.6
2549 1,459,678.4 1,463,328.3 3,649.9 0.3
2550 1,504,901.7 1,530,969.1 26,067.4 1.7
2551 1,623,125.9 1,698,544.6 75,418.7 4.6
2552 1,630,867.6 1,551,033.5 -79,834.1 -4.9

หมายเหตุ 1. ประมาณการปีงบประมาณ 2540 - 2543 เป็นประมาณการปรับปรุง


2. ประมาณการปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 เป็นประมาณการปรับปรุงตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2548
3. ประมาณการปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 เป็นประมาณการปรับปรุงตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2549
4. ประมาณการปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 เป็นประมาณการปรับปรุงตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 5 มิถนุ ายน 2550
5. ประมาณการปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 เป็นประมาณการปรับปรุงตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2551
6. ประมาณการปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 เป็นประมาณการปรับปรุงตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2552

46
ตารางที่ 2 - 11
เปรียบเทียบรายได้ที่จัดเก็บกับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
หน่วย : ล้านบาท
รายได้ที่จัดเก็บ ผลิตภัณฑ์มวลรวม (1) เป็นร้อยละ
ปีงบประมาณ
(1) ในประเทศ (2) ของ (2)
2540 843,365.5 4,732,610.0 17.8
2541 733,463.7 4,626,447.0 15.9
2542 709,117.7 4,637,079.0 15.3
2543 750,082.5 4,922,731.0 15.2
2544 772,966.4 5,133,502.0 15.1
2545 851,097.2 5,450,643.0 15.6
2546 961,365.1 5,917,369.0 16.2
2547 1,114,834.7 6,489,476.0 17.2
2548 1,255,629.2 7,092,893.0 17.7
2549 1,339,690.2 7,850,193.0 17.1
2550 1,444,411.3 8,529,836.0 16.9
2551 1,547,850.2 9,075,493.0 17.1
2552 1,410,857.2 9,047,631.0 15.6
2553 1,522,000.0 9,726,200.0 15.6
2554 1,650,000.0 10,358,400.0 15.9

หมายเหตุ 1. ปีงบประมาณ 2540 - 2543 เป็นรายได้สุทธิ


2. ปีงบประมาณ 2544 - 2552 เป็นรายได้สุทธิหลังหักการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้ อปท.
ตาม พ.ร.บ. กระจายอำ�นาจฯ
3. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 เป็นตัวเลขประมาณการปรับปรุงรายได้สุทธิหลังหักการจัดสรร
ภาษีมูลค่าเพิ่มให้ อปท. ตาม พ.ร.บ. กระจายอำ�นาจฯ ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2553
4. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 เป็นตัวเลขประมาณการรายได้สุทธิหลังหักการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่ม
ให้ อปท. ตาม พ.ร.บ. กระจายอำ�นาจฯ

ที่มา 1. สำ�นักงบประมาณ
2. สำ�นักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

47
ตารางที่ 2 - 12
การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ
หน่วย : ล้านบาท
งบประมาณ วงเงินสูงสุดที่กู้ ได้ เงินกู้เพื่อชดเชย
รายจ่าย ตาม พ.ร.บ. วิธีการ การขาดดุล (3) เป็นร้อยละ
ปีงบประมาณ
ตาม พ.ร.บ. งบประมาณ* งบประมาณ ของ (1)
(1) (2) (3)
2539 843,200.0 195,474.6 - -
2540 984,000.0 216,397.5 - -
2541 923,000.0 209,588.9 - -
2542 825,000.0 169,280.2 25,000.0 3.0
2543 860,000.0 177,853.8 110,000.0 12.8
2544 910,000.0 191,708.2 105,000.0 11.5
2545 1,023,000.0 225,135.1 200,000.0 19.6
2546 999,900.0 227,941.4 174,900.0 17.5
2547 1,163,500.0 260,024.3 99,900.0 8.6
2548 1,250,000.0 290,061.0 - -
2549 1,360,000.0 306,549.8 - -
2550 1,566,200.0 357,632.4 146,200.0 9.3
2551 1,660,000.0 368,421.6 165,000.0 9.9
2552 1,951,700.0 441,280.9 441,060.5 22.6
2553 1,700,000.0 380,736.7 350,000.0 20.6
2554 2,070,000.0 440,043.7 420,000.0 20.3

หมายเหตุ 1.* การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณในแต่ละปีต้องไม่เกิน


- ร้อยละยี่สิบของจำ�นวนเงินงบประมาณรายจ่ายประจำ�ปีกับอีก
- ร้อยละแปดสิบของงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้สำ�หรับชำ�ระคืนต้นเงินกู้
2. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 รวมงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำ�ปี จำ�นวน 116,700 ล้านบาท
3. เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 รวมเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ
ตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำ�ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552
จำ�นวน 97,560.5 ล้านบาท และเงินกู้เพื่อรองรับกรณีรายจ่ายสูงกว่ารายได้
จำ�นวน 94,000 ล้านบาท ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2552
4. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 เป็นตัวเลขตามร่าง พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำ�ปี

48
ตารางที่ 2 - 13
เปรียบเทียบเงินกู้จริงภายในประเทศกับรายจ่ายจริงชำ�ระคืนต้นเงินกู้
หน่วย : ล้านบาท
เงินกู้จริง รายจ่ายจริง เงินกู้เทียบกับ
ปีงบประมาณ
ภายในประเทศ ชำ�ระคืนต้นเงินกู้ ชำ�ระคืนต้น
2538 - 35,783.9 -35,783.9
2539 - 24,295.8 -24,295.8
2540 - 14,774.3 -14,774.3
2541 - 8,443.6 -8,443.6
2542 40,000.0 6,738.7 33,261.3
2543 107,925.0 6,564.2 101,360.8
2544 104,797.3 12,403.3 92,394.0
2545 170,000.0 3,312.7 166,687.3
2546 76,000.0 18.3 75,981.7
2547 90,000.0 5,354.1 84,645.9
2548 - 20,017.7 -20,017.7
2549 - 24,140.0 -24,140.0
2550 146,200.0 10,015.1 136,184.9
2551 165,000.0 18,014.5 146,985.5
2552 441,060.5 55,606.0 385,454.5

ที่มา สำ�นักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง

49
แผนภูมิที่ 2 - 4
เปรียบเทียบเงินกู้จริงภายในประเทศ
กับรายจ่ายจริงช�ำระคืนต้นเงินกู้
ปีงบประมาณ 2538 - 2552

ล้านบาท
480,000
450,000
420,000
390,000
360,000
330,000
300,000
270,000
240,000
210,000
180,000
150,000
120,000
90,000
60,000
30,000
0
6
7
8
9
0
1
2
2
3
4
5
8
9
0
1

255
255
255
254
254
254
254
254
254
254
253
253
254
254
254

เงินกู้จริงภายในประเทศ รายจ่ายจริงช�ำระคืนต้นเงินกู้

50
ภาค 3
งบประมาณรายจ่าย

1. งบประมาณรายจ่ายจำ�แนกตามลักษณะงานและลักษณะเศรษฐกิจ*
การจ�ำแนกตามลักษณะงาน เป็นการแสดงงบประมาณรายจ่ายตามวัตถุประสงค์
ในการด�ำเนินกิจกรรมต่างๆ ของรัฐบาลโดยยึดถือหลักการในการจ�ำแนกรายจ่ายรัฐบาล
ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ­­ ซึง่ ได้จำ� แนกการด�ำเนินงานของรัฐบาลตามวัตถุประสงค์
อย่างกว้างขวางออกเป็นด้านต่างๆ 10 ด้าน ดังนี้
1. การบริหารทั่วไปของรัฐ
2. การป้องกันประเทศ
3. การรักษาความสงบภายใน
4. การเศรษฐกิจ
5. การสิ่งแวดล้อม
6. การเคหะและชุมชน
7. การสาธารณสุข
8. การศาสนา วัฒนธรรม และนันทนาการ
9. การศึกษา
10. การสังคมสงเคราะห์
งบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 จ�ำนวน 2,070,000 ล้านบาทนี้
ได้ก�ำหนดเป้าหมายที่จะน�ำไปใช้จ่ายตามลักษณะต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. การบริหารทั่วไปของรัฐ จ�ำนวน 519,410.1 ล้านบาท หรือร้อยละ 25.1
ของงบประมาณรายจ่ายทั้งสิ้น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายส�ำหรับการด�ำเนินกิจกรรมขององค์กร
นิตบิ ญ
ั ญัติ การบริหารการเงิน การคลัง การบริหารงานบุคคลกลาง การจัดท�ำสถิติ การบริหาร
งานต่างประเทศ การให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่ประเทศต่างๆ ตลอดจนการวิจยั และ
การพัฒนาด้านการบริหารทั่วไปของรัฐ นอกจากนี้ยังรวมถึงการช�ำระหนี้เงินกู้และเงินโอนให้
ท้องถิ่น
* ตัง้ แต่ปงี บประมาณ 2554 เป็นต้นไป ส�ำนักงบประมาณได้ปรับปรุงหลักการจ�ำแนกงบประมาณรายจ่าย จากที่เคยใช้หลัก
Government Finance Statistics (GFS) ปี ค.ศ. 1986 มาใช้หลัก GFS ปี ค.ศ. 2001

51
2. การป้องกันประเทศ จ�ำนวน 170,130.7 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 8.2
ของงบประมาณรายจ่ายทั้งสิ้น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายส�ำหรับการด�ำเนินงานป้องกันประเทศ
ของกระทรวงกลาโหมและการรักษาดินแดนโดยฝ่ายพลเรือน รวมทั้งสมาชิกอาสารักษา
ดินแดนและเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง
3. การรักษาความสงบภายใน จ�ำนวน 124,241.1 ล้านบาท หรือร้อยละ 6
ของงบประมาณรายจ่ายทัง้ สิน้ เพือ่ เป็นค่าใช้จา่ ยส�ำหรับงานตุลาการ อัยการ ต�ำรวจ การป้องกัน
อัคคีภัย และงานราชทัณฑ์ ตลอดจนการวิจัยและการพัฒนาด้านการรักษาความสงบภายใน
4. การเศรษฐกิจ จ�ำนวน 421,193.9 ล้านบาท หรือร้อยละ 20.4 ของงบประมาณ
รายจ่ายทั้งสิ้น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการที่ดิน การจัดที่ดินท�ำกินให้เกษตรกร การพยุง
ราคาผลผลิต การส่งเสริมการเกษตร การปศุสัตว์ การควบคุมศัตรูพืช การป่าไม้ การประมง
การส�ำรวจ การจัดหา พัฒนา และควบคุมทรัพยากรเชือ้ เพลิง การผลิตไฟฟ้าจากแหล่งพลังงาน
ต่างๆ การด�ำเนินงานด้านทรัพยากรธรณี การส่งเสริมการควบคุมอุตสาหกรรมของกระทรวง
อุตสาหกรรม การวิจยั เพือ่ การพัฒนาอุตสาหกรรมของสถาบันวิจยั วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
แห่งประเทศไทย การด�ำเนินงานของกรมโยธาธิการและผังเมือง การพาณิชย์ต่างประเทศ
ของกระทรวงพาณิชย์ การควบคุมการด�ำเนินกิจการโรงแรมและภัตตาคาร การส่งเสริม
การท่องเที่ยว การแรงงาน การด�ำเนินโครงการอเนกประสงค์ต่างๆ การบริหารและก่อสร้าง
ระบบขนส่งทางบก ทางน�้ำ และทางอากาศ การสื่อสาร (ซึ่งไม่รวมระบบโทรทัศน์และวิทยุ
กระจายเสียง ซึ่งจัดอยู่ ในลักษณะงานการศาสนา วัฒนธรรม และนันทนาการ) ตลอดจน
การวิจัยและการพัฒนาด้านการเศรษฐกิจ
5. การสิ่งแวดล้อม จ�ำนวน 3,081.8 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.2 ของ
งบประมาณรายจ่ายทั้งสิ้น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บ การแปรสภาพ และการก�ำจัด
การจัดการสิ่งปฏิกูลและน�้ำโสโครกในท่อระบายน�ำ้ ระบบการบ�ำบัดน�้ำเสีย การจัดการและ
การก่อสร้างระบบท่อระบายน�้ำ รางน�้ำ การป้องกันสิ่งแวดล้อมทางอากาศและภูมิอากาศ
การป้องกันพืน้ ดินและน�ำ้ บริเวณผิวดิน การลดมลภาวะทางเสียง การป้องกันกัมมันตภาพรังสี
การก่อสร้างเขื่อนหรือรั้วกั้นเสียง มาตรการลดมลภาวะทางน�ำ้ การรักษาระบบนิเวศวิทยา
และภูมิทัศน์ ตลอดจนการวิจัยและการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม
6. การเคหะและชุมชน จ�ำนวน 45,611.5 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2.2
ของงบประมาณรายจ่ายทั้งสิ้น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายส�ำหรับการด�ำเนินงานจัดหาที่พักอาศัยและ

52
การก�ำหนดมาตรฐาน การวางผังเมือง การพัฒนาชุมชน ตลอดจนการจัดหาน�้ำเพื่ออุปโภค
บริโภค และการวิจัยและการพัฒนาด้านการเคหะและชุมชน
7. การสาธารณสุข จ�ำนวน 209,848 ล้านบาท หรือร้อยละ 10.1 ของงบประมาณ
รายจ่ายทั้งสิ้น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดบริการสาธารณสุข ทั้งการวางแผน การบริหาร
การด�ำเนินงานโรงพยาบาล สถานพยาบาลต่างๆ การวิจยั เพือ่ การพัฒนาด้านการสาธารณสุข
และการให้ความรู้และบริการด้านสุขภาพอนามัย ทั้งที่ด�ำเนินการโดยกระทรวงสาธารณสุข
และส่วนราชการอื่น
8. การศาสนา วัฒนธรรม และนันทนาการ จ�ำนวน 14,821.9 ล้านบาท หรือ
ร้อยละ 0.7 ของงบประมาณรายจ่ายทั้งสิ้น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการกีฬาของการกีฬา
แห่งประเทศไทย ในส่วนที่เป็นนโยบายนอกเหนือจากการจัดการศึกษา นอกจากนั้นยังเป็น
ค่ า ใช้ จ ่ า ยในการด� ำ เนิ น งานทางด้ า นวั ฒ นธรรมของกรมศิ ล ปากร การศาสนาของ
กรมการศาสนา ค่าใช้จ่ายในการกระจายเสียงและจัดระบบโทรทัศน์ของกรมประชาสัมพันธ์
ตลอดจนการบริหารด้านสิง่ พิมพ์ตา่ งๆ ค่าจัดสร้างสวนสาธารณะหรือสถานทีพ่ กั ผ่อนหย่อนใจ
ห้องสมุด พิพธิ ภัณฑ์สตั ว์นำ�้ และสวนพฤกษศาสตร์ และการวิจยั และการพัฒนาด้านการศาสนา
วัฒนธรรม และนันทนาการ
9. การศึกษา จ�ำนวน 422,195.1 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 20.4 ของ
งบประมาณรายจ่ายทั้งสิ้น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการด�ำเนินงานเกี่ยวกับการบริหารการศึกษา
การจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษาจนถึงระดับอุดมศึกษา รวมทั้งการศึกษา
นอกโรงเรียน การจัดทุนการศึกษา และการวิจยั เพือ่ พัฒนาการศึกษา งบประมาณจ�ำนวนดังกล่าว
รวมถึงเงินอุดหนุนกรุงเทพมหานคร และองค์กรบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเพื่อด�ำเนินการ
ด้านการศึกษา
10. การสั ง คมสงเคราะห์ จ�ำนวน 139,465.9 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.7
ของงบประมาณรายจ่ายทั้งสิ้น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการประกันสังคมให้แก่บุคคล
ผูส้ ญ
ู เสียรายได้เนือ่ งจากเจ็บป่วย การให้ประโยชน์ทดแทนแก่บคุ คลทัว่ ไป ลูกจ้างของรัฐกรณี
เกษียณอายุ ค่าใช้จ่ายส�ำหรับการด�ำเนินงานสังคมสงเคราะห์ด้านที่อยู่อาศัย รวมทั้ง
การสงเคราะห์ อื่ น เช่ น กรณี ป ระสบภั ย พิ บั ติ ตลอดจนการวิ จั ย และการพั ฒ นาด้ า น
สังคมสงเคราะห์

53
ตารางที่ 3 - 1
เปรียบเทียบงบประมาณรายจ่ายจำ�แนกตามลักษณะงาน
หน่วย : ล้านบาท
ปีงบประมาณ ปีงบประมาณ 2554
เทียบกับ
ลักษณะงาน 2553 2554 ปีงบประมาณ 2553
จำ�นวน ร้อยละ จำ�นวน ร้อยละ จำ�นวน ร้อยละ
การบริหารทั่วไปของรัฐ 426,280.3 25.1 519,410.1 25.1 93,129.8 21.8

การป้องกันประเทศ 153,543.8 9.0 170,130.7 8.2 16,586.9 10.8

การรักษาความสงบภายใน 110,556.9 6.5 124,241.1 6.0 13,684.2 12.4

การเศรษฐกิจ 287,860.7 16.9 421,193.9 20.4 133,333.2 46.3

การสิ่งแวดล้อม 4,171.4 0.2 3,081.8 0.2 -1,089.6 -26.1

การเคหะและชุมชน 28,838.6 1.7 45,611.5 2.2 16,772.9 58.2

การสาธารณสุข 178,432.4 10.5 209,848.0 10.1 31,415.6 17.6

การศาสนา วัฒนธรรม และ 13,195.0 0.8 14,821.9 0.7 1,626.9 12.3


นันทนาการ

การศึกษา 379,124.8 22.3 422,195.1 20.4 43,070.3 11.4

การสังคมสงเคราะห์ 117,996.1 7.0 139,465.9 6.7 21,469.8 18.2

รวมทั้งสิ้น 1,700,000.0 100.0 2,070,000.0 100.0 370,000.0 21.8

54
การ
บริห

0
100,000
200,000
300,000
400,000
500,000
600,000
ล้านบาท
ารท
ั่วไป
การ ของ
ป้อ รัฐ
การ ง กัน
รักษ ประ
าคว เทศ
ามส
งบภ
ายใ
การ น
เศร
ษฐก
การ ิจ

2553
สิ่งแ
การ วดล
เคห ้อม
ะแล
ะชุม
แผนภูมิที่ 3 - 1

การ ชน
สาธ
จ�ำแนกตามลักษณะงาน

ารณ
สุข
การ
ศาส

2554
นาฯ
การ
การ ศึกษ
สังค า
งบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ 2553 - 2554

มส
งเค
ราะ
ห์

55
ตารางที่ 3 - 2
งบประมาณรายจ่ายการบริหารทั่วไปของรัฐ
หน่วย : ล้านบาท
ปีงบประมาณ
การบริหารทั่วไปของรัฐ
2553 2554
1. องค์กรบริหารของรัฐ การบริหารงานคลัง 42,319.6 52,450.8
การบริหารงานต่างประเทศ

2. ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจต่างประเทศ 452.0 512.6

3. การบริหารทั่วไป 4,194.4 4,261.5

4. การวิจัยพื้นฐาน 3,253.3 3,819.3

5. การบริหารทั่วไปอื่น 161,665.3 241,801.8

6. การชำ�ระหนี้เงินกู้ 214,395.7 216,564.1

รวมการบริหารทั่วไปของรัฐ 426,280.3 519,410.1


ร้อยละของงบประมาณรายจ่ายประจำ�ปี 25.1 25.1

56
ตารางที่ 3 - 3
งบประมาณรายจ่ายการป้องกันประเทศ

หน่วย : ล้านบาท
ปีงบประมาณ
การป้องกันประเทศ
2553 2554
1. งานกองทัพ 150,446.7 166,223.6

2. การรักษาดินแดน 2,409.5 2,772.2

3. การวิจัยประยุกต์และการพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ 687.6 1,134.9

รวมการป้องกันประเทศ 153,543.8 170,130.7


ร้อยละของงบประมาณรายจ่ายประจำ�ปี 9.0 8.2

57
ตารางที่ 3 - 4
งบประมาณรายจ่ายการรักษาความสงบภายใน

หน่วย : ล้านบาท
ปีงบประมาณ
การรักษาความสงบภายใน
2553 2554
1. งานตำ�รวจ 68,479.6 76,886.7
2. งานป้องกันอัคคีภัย 10.0 10.0
3. งานตุลาการ 20,266.6 23,963.0
4. งานราชทัณฑ์ 7,720.5 8,641.0
5. งานรักษาความสงบภายในอื่น 14,080.2 14,740.4
รวมการรักษาความสงบภายใน 110,556.9 124,241.1
ร้อยละของงบประมาณรายจ่ายประจำ�ปี 6.5 6.0

58
ตารางที่ 3 - 5
งบประมาณรายจ่ายการเศรษฐกิจ

หน่วย : ล้านบาท
ปีงบประมาณ
การเศรษฐกิจ
2553 2554
1. การเศรษฐกิจทั่วไป การพาณิชย์ และการแรงงาน 28,080.7 37,101.0
2. การเกษตร การป่าไม้ การประมง และการสงวนพันธุ์สัตว์ป่า 77,860.1 147,868.4
3. การเชื้อเพลิงและพลังงาน 2,597.6 2,892.3
4. การเหมืองแร่ ทรัพยากรธรณี การอุตสาหกรรม และการโยธา 8,293.7 11,886.7
5. การขนส่ง 61,120.8 86,622.2
6. การสื่อสาร 1,055.7 1,358.0
7. การอุตสาหกรรมอื่น 13,309.8 15,097.1
8. การเศรษฐกิจอื่น 95,542.3 118,368.2
รวมการเศรษฐกิจ 287,860.7 421,193.9
ร้อยละของงบประมาณรายจ่ายประจำ�ปี 16.9 20.4

59
ตารางที่ 3 - 6
งบประมาณรายจ่ายการสิ่งแวดล้อม

หน่วย : ล้านบาท
ปีงบประมาณ
การสิ่งแวดล้อม
2553 2554
1. การกำ�จัดของเสีย 3,262.1 2,070.7
2. การควบคุมและกำ�จัดมลภาวะ 909.3 1,011.1
รวมการสิ่งแวดล้อม 4,171.4 3,081.8
ร้อยละของงบประมาณรายจ่ายประจำ�ปี 0.2 0.2

60
ตารางที่ 3 - 7
งบประมาณรายจ่ายการเคหะและชุมชน

หน่วย : ล้านบาท
ปีงบประมาณ
การเคหะและชุมชน
2553 2554
1. การเคหะ 4,041.7 3,847.2
2. การพัฒนาชุมชน 16,231.8 34,313.5
3. การจัดหาน�้ำอุปโภคบริโภค 7,687.9 6,654.5
4. การเคหะและชุมชนอื่น 877.2 796.3
รวมการเคหะและชุมชน 28,838.6 45,611.5
ร้อยละของงบประมาณรายจ่ายประจำ�ปี 1.7 2.2

61
ตารางที่ 3 - 8
งบประมาณรายจ่ายการสาธารณสุข

หน่วย : ล้านบาท
ปีงบประมาณ
การสาธารณสุข
2553 2554
1. งานโรงพยาบาล 73,434.7 89,646.2
2. งานบริการสาธารณสุข 1,439.9 2,006.1
3. งานวิจัยสาธารณสุข 6,375.3 7,833.7
4. งานสาธารณสุขอื่น 97,182.5 111,362.0
รวมการสาธารณสุข 178,432.4 209,848.0
ร้อยละของงบประมาณรายจ่ายประจำ�ปี 10.5 10.1

62
ตารางที่ 3 - 9
งบประมาณรายจ่ายการศาสนา วัฒนธรรม และนันทนาการ

หน่วย : ล้านบาท
ปีงบประมาณ
การศาสนา วัฒนธรรม และนันทนาการ
2553 2554
1. การกีฬาและนันทนาการ 3,976.8 4,367.1
2. วัฒนธรรม 4,015.3 4,792.9
3. การกระจายเสียงและสิ่งพิมพ์ 1,269.9 1,448.8
4. การศาสนาและบริการชุมชนอื่น 3,905.0 4,213.1
5. การศาสนา วัฒนธรรม และนันทนาการอื่น 28.0 0.0
รวมการศาสนา วัฒนธรรม และนันทนาการ 13,195.0 14,821.9
ร้อยละของงบประมาณรายจ่ายประจำ�ปี 0.8 0.7

63
ตารางที่ 3 - 10
งบประมาณรายจ่ายการศึกษา

หน่วย : ล้านบาท
ปีงบประมาณ
การศึกษา
2553 2554
1. ระดับก่อนวัยเรียน ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา 282,212.1 306,174.2
2. ระดับอุดมศึกษา 62,604.2 72,557.9
3. การศึกษาไม่กำ�หนดระดับ 2,052.8 2,482.8
4. การบริการสนับสนุนการศึกษา 22,471.5 25,797.7
5. การศึกษาอื่น 9,784.2 15,182.5
รวมการศึกษา 379,124.8 422,195.1
ร้อยละของงบประมาณรายจ่ายประจำ�ปี 22.3 20.4

ตารางที่ 3 - 11
งบประมาณรายจ่ายการสังคมสงเคราะห์

หน่วย : ล้านบาท
ปีงบประมาณ
การสังคมสงเคราะห์
2553 2554
1. สวัสดิการผู้สูงอายุ 109,216.2 129,644.5
2. สวัสดิการสังคมอื่น 6,063.5 6,975.3
3. การสังคมสงเคราะห์อื่น 2,716.4 2,846.1
รวมการสังคมสงเคราะห์ 117,996.1 139,465.9
ร้อยละของงบประมาณรายจ่ายประจำ�ปี 7.0 6.7

64
ตารางที่ 3 - 12
งบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ พ.ศ. 2554
จำ�แนกตามลักษณะงานและงบรายจ่าย
หน่วย : ล้านบาท
งบรายจ่าย งบดำ�เนิน งบเงิน งบรายจ่าย
งบบุคลากร งบลงทุน รวม
ลักษณะงาน งาน อุดหนุน อื่น
การบริหารทั่วไปของรัฐ 45,066.8 108,377.4 42,803.3 48,892.2 274,270.4 519,410.1
การป้องกันประเทศ 73,647.8 18,298.1 4,420.5 1,889.3 71,875.0 170,130.7
การรักษาความสงบภายใน 61,915.9 23,474.6 8,349.8 503.6 29,997.2 124,241.1
การเศรษฐกิจ 43,087.9 26,772.0 120,408.0 161,560.8 69,365.2 421,193.9
การสิ่งแวดล้อม 312.4 485.8 207.7 1,651.2 424.7 3,081.8
การเคหะและชุมชน 4,813.3 10,161.8 18,650.8 7,812.9 4,172.7 45,611.5
การสาธารณสุข 59,255.3 12,393.4 15,892.9 20,218.6 102,087.8 209,848.0
การศาสนา วัฒนธรรม 2,502.4 1,649.7 2,567.4 7,081.5 1,020.9 14,821.9
และนันทนาการ
การศึกษา 203,091.4 28,858.2 26,779.6 136,080.5 27,385.4 422,195.1
การสังคมสงเคราะห์ 2,286.5 3,735.9 881.9 132,067.5 494.1 139,465.9
รวมทั้งสิ้น 495,979.7 234,206.9 240,961.9 517,758.1 581,093.4 2,070,000.0

65
ตารางที่ 3 - 13
งบประมาณรายจ่าย
จำ�แนกตามลักษณะเศรษฐกิจตามระบบ Government Finance Statistics (GFS)
หน่วย : ล้านบาท
ปีงบประมาณ ปีงบประมาณ 2554
เทียบกับ
ลักษณะเศรษฐกิจตามระบบ GFS 2553 2554 ปีงบประมาณ 2553
จำ�นวน ร้อยละ จำ�นวน ร้อยละ จำ�นวน ร้อยละ
วงเงินงบประมาณรายจ่าย 1,700,000.0 100.0 2,070,000.0 100.0 370,000.0 21.8
ค่าใช้จ่าย 1,515,073.2 89.1 1,802,464.7 87.1 287,391.5 19.0
ค่าตอบแทนแรงงาน 609,945.8 35.9 644,947.3 31.2 35,001.5 5.7
เงินเดือนและค่าจ้าง 583,121.4 34.3 614,034.8 29.7 30,913.4 5.3
เงินสมทบเพื่อสังคม 26,824.4 1.6 30,912.5 1.5 4,088.1 15.2
การใช้สินค้าและบริการ 264,010.2 15.5 386,439.1 18.7 122,428.9 46.4
รายจ่ายดอกเบี้ย 158,451.3 9.3 178,861.5 8.6 20,410.2 12.9
รายจ่ายดอกเบี้ยภายในประเทศ 153,273.3 9.0 175,254.0 8.4 21,980.7 14.3
รายจ่ายดอกเบี้ยต่างประเทศ 5,178.0 0.3 3,607.5 0.2 -1,570.5 -30.3
เงินอุดหนุน 38,066.6 2.2 96,711.4 4.7 58,644.8 154.1
เงินอุดหนุนให้แก่รัฐวิสาหกิจ 38,061.6 2.2 96,706.4 4.7 58,644.8 154.1
เงินอุดหนุนรัฐวิสาหกิจที่ ไม่ใช่ 32,435.5 1.9 44,659.5 2.2 12,224.0 37.7
สถาบันการเงิน
เงินอุดหนุนสถาบันการเงิน 5,626.1 0.3 52,046.9 2.5 46,420.8 825.1
เงินอุดหนุนให้แก่หน่วยธุรกิจ 5.0 0.0 5.0 0.0 0.0 0.0
เงินช่วยเหลือ 292,229.8 17.2 323,075.6 15.6 30,845.8 10.6
เงินช่วยเหลือที่ให้แก่องค์กรระหว่าง 1,351.9 0.1 1,387.4 0.1 35.5 2.6
ประเทศ
เงินช่วยเหลือที่ให้แก่หน่วยงานอื่น 290,877.9 17.1 321,688.2 15.5 30,810.3 10.6
ของรัฐบาล
เพื่อการใช้จ่ายประจำ� 274,908.1 16.2 302,802.0 14.6 27,893.9 10.1
เพื่อการลงทุน 15,969.8 0.9 18,886.2 0.9 2,916.4 18.3
ผลประโยชน์เพื่อสังคม 147,601.4 8.7 168,612.0 8.1 21,010.6 14.2
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ 4,768.1 0.3 3,817.8 0.2 -950.3 -19.9
เพื่อการใช้จ่ายประจำ� 3,481.2 0.2 3,121.3 0.2 -359.9 -10.3
เพื่อการลงทุน 1,286.9 0.1 696.5 0.0 -590.4 -45.9
รายจ่ายเพื่อซื้อสินทรัพย์ทุนถาวร 145,362.3 8.6 225,921.5 10.9 80,559.2 55.4
รายจ่ายเพื่อสินทรัพย์การเงิน 69.6 0.0 872.7 0.0 803.1 1,153.9
รายจ่ายชำ�ระคืนต้นเงินกู้ * 39,494.9 2.3 10,395.0 0.5 -29,099.9 -73.7
รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง 0.0 0.0 30,346.1 1.5 30,346.1 100.0

หมายเหตุ * ไม่รวมรายจ่ายชำ�ระต้นเงินกู้ของรัฐวิสาหกิจ เนื่องจากได้รวมไว้อยู่ ในหัวข้อเงินอุดหนุนรัฐวิสาหกิจที่ ไม่ใช่


สถาบันการเงิน

66
2. งบประมาณรายจ่ายจำ�แนกตามกระทรวงและหน่วยงาน
งบประมาณรายจ่ายจ�ำนวน 2,070,000 ล้านบาท ได้จัดสรรให้เเก่กระทรวงและ
หน่วยงานเพือ่ ด�ำเนินภารกิจทีอ่ ยู่ในความรับผิดชอบ ทัง้ ในส่วนทีเ่ ป็นภารกิจพืน้ ฐานและภารกิจ
ยุทธศาสตร์ซึ่งสอดคล้องกับแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2552 - 2554
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 กระทรวงศึกษาธิการ ได้รบั งบประมาณสูงเป็นอันดับหนึง่
ส�ำหรับพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับ ล�ำดับรองลงมาได้แก่
งบกลาง กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง และกระทรวงกลาโหม ตามล�ำดับ
รายละเอียดปรากฏในตารางต่อไปนี้

67
ตารางที่ 3 - 14
เปรียบเทียบงบประมาณรายจ่ายจำ�แนกตามกระทรวง
หน่วย : ล้านบาท
ปีงบประมาณ ปีงบประมาณ 2553
เทียบกับ
กระทรวง 2553 2554 ปีงบประมาณ 2554
จำ�นวน สัดส่วน จำ�นวน สัดส่วน จำ�นวน ร้อยละ
1. งบกลาง 215,006.8 12.6 265,763.0 12.8 50,756.2 23.6
2. สำ�นักนายกรัฐมนตรี 22,909.9 1.3 25,473.5 1.2 2,563.6 11.2
3. กระทรวงกลาโหม 154,032.5 9.1 170,285.0 8.2 16,252.5 10.6
4. กระทรวงการคลัง 215,709.7 12.7 209,120.0 10.1 -6,589.7 -3.1
5. กระทรวงการต่างประเทศ 6,903.8 0.4 7,670.0 0.4 766.2 11.1
6. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 4,113.1 0.2 5,839.0 0.3 1,725.9 42.0
7. กระทรวงการพัฒนาสังคม เเละ 9,225.8 0.5 9,826.1 0.5 600.3 6.5
ความมั่นคงของมนุษย์
8. กระทรวงเกษตรเเละสหกรณ์ 54,357.8 3.2 76,138.4 3.7 21,780.6 40.1
9. กระทรวงคมนาคม 54,041.6 3.2 76,713.4 3.7 22,671.8 42.0
10. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ 20,108.5 1.2 22,341.3 1.1 2,232.8 11.1
เเละสิ่งเเวดล้อม
11. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ 3,677.6 0.2 4,070.0 0.2 392.4 10.7
เเละการสื่อสาร
12. กระทรวงพลังงาน 1,869.5 0.1 2,130.0 0.1 260.5 13.9
13. กระทรวงพาณิชย์ 6,251.7 0.4 7,307.6 0.4 1,055.9 16.9
14. กระทรวงมหาดไทย 187,998.7 11.1 231,685.0 11.2 43,686.3 23.2
15. กระทรวงยุติธรรม 15,168.2 0.9 17,029.6 0.8 1,861.4 12.3
16. กระทรวงเเรงงาน 21,540.6 1.3 29,170.0 1.4 7,629.4 35.4
17. กระทรวงวัฒนธรรม 4,347.8 0.3 5,220.0 0.3 872.2 20.1
18. กระทรวงวิทยาศาสตร์ 7,159.7 0.4 8,760.0 0.4 1,600.3 22.4
เเละเทคโนโลยี
19. กระทรวงศึกษาธิการ 346,713.1 20.4 388,050.3 18.7 41,337.2 11.9
20. กระทรวงสาธารณสุข 71,625.4 4.2 88,334.2 4.3 16,708.8 23.3
21. กระทรวงอุตสาหกรรม 5,601.9 0.3 6,750.0 0.3 1,148.1 20.5
22. ส่วนราชการไม่สังกัดสำ�นักนายก 74,383.0 4.4 83,399.5 4.0 9,016.5 12.1
รัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง
23. หน่วยงานของรัฐสภา 4,173.7 0.2 9,014.8 0.4 4,841.1 116.0
24. หน่วยงานของศาล 12,221.5 0.7 14,525.4 0.7 2,303.9 18.9
25. หน่วยงานขององค์กรตาม 10,162.6 0.6 11,442.5 0.6 1,279.9 12.6
รัฐธรรมนูญ
26. จังหวัดและกลุ่มจังหวัด 3,300.0 0.2 18,000.0 0.9 14,700.0 445.5
27. รัฐวิสาหกิจ 48,909.1 2.9 109,555.5 5.3 60,646.4 124.0
28. สภากาชาดไทย 2,724.5 0.2 3,709.3 0.2 984.8 36.1
29. กองทุนเเละเงินทุนหมุนเวียน 115,761.9 6.8 132,330.5 6.4 16,568.6 14.3
30. รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง 0.0 0.0 30,346.1 1.5 30,346.1 100.0
รวมทั้งสิ้น 1,700,000.0 100.0 2,070,000.0 100.0 370,000.0 21.8

68
ตารางที่ 3 - 15
งบประมาณรายจ่ายจำ�แนกตามหน่วยงาน
หน่วย : ล้านบาท
ปีงบประมาณ
หน่วยงาน
2553 2554
งบกลาง 215,006.8 265,763.0
1. ค่าใช้จ่ายตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ 2,300.0 2,300.0
2. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำ�เนินและต้อนรับประมุขต่างประเทศ 500.0 600.0
3. ค่าใช้จ่ายการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องใน
โอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 - 300.0
4. เงินชดเชยค่างานสิ่งก่อสร้าง 1,000.0 2,750.0
5. เงินสำ�รองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำ�เป็น 38,333.1 47,600.0
6. ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานของรัฐ 48,500.0 62,000.0
7. เงินเบี้ยหวัด บำ�เหน็จ บำ�นาญ 87,633.7 96,103.0
8. เงินช่วยเหลือข้าราชการ ลูกจ้างและพนักงานของรัฐ 5,000.0 5,280.0
9. เงินเลื่อนเงินเดือนและเงินปรับวุฒิข้าราชการ 5,000.0 5,000.0
10. เงินสำ�รอง เงินสมทบและเงินชดเชยของข้าราชการ 26,000.0 30,070.0
11. เงินสมทบของลูกจ้างประจำ� 740.0 760.0
12. ค่าใช้จ่ายการปรับบัญชีเงินเดือน ค่าจ้างและค่าตอบแทนรายเดือนของ
บุคลากรภาครัฐ - 13,000.0
สำ�นักนายกรัฐมนตรี 22,909.9 25,473.5
1. สำ�นักงานปลัดสำ�นักนายกรัฐมนตรี 3,352.8 4,535.0
2. กรมประชาสัมพันธ์ 1,269.9 1,448.8
3. สำ�นักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค 177.9 190.6
4. สำ�นักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี 2,414.7 2,210.2
5. สำ�นักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี 510.1 581.0
6. สำ�นักข่าวกรองแห่งชาติ 655.6 733.0
7. สำ�นักงบประมาณ 607.8 633.1
8. สำ�นักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ 181.5 194.1
9. สำ�นักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา 285.6 318.7
10. สำ�นักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน 2,018.3 2,068.0
11. สำ�นักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 444.3 491.8
12. สำ�นักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ 306.3 323.3
13. กองอำ�นวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร 8,240.3 8,792.6
14. สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย 1,100.3 1,206.6
69
หน่วย : ล้านบาท
ปีงบประมาณ
หน่วยงาน
2553 2554
15. สำ�นักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) 423.1 364.1
16. สำ�นักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) 749.8 747.9
17. องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
(องค์การมหาชน) 171.6 184.7
18. สำ�นักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) - 450.0
กระทรวงกลาโหม 154,032.5 170,285.0
1. สำ�นักงานปลัดกระทรวงกลาโหม 5,679.2 6,129.7
2. กรมราชองครักษ์ 631.4 559.8
3. กองบัญชาการกองทัพไทย 12,669.5 13,676.3
4. กองทัพบก 75,864.2 83,508.8
5. กองทัพเรือ 29,822.5 33,506.6
6. กองทัพอากาศ 28,748.1 31,871.5
7. สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) 617.6 1,032.3
กระทรวงการคลัง 215,709.7 209,120.0
1. สำ�นักงานปลัดกระทรวงการคลัง 1,097.4 867.2
2. กรมธนารักษ์ 3,092.3 3,237.5
3. กรมบัญชีกลาง 1,056.2 1,220.9
4. กรมศุลกากร 2,418.4 2,744.6
5. กรมสรรพสามิต 1,966.2 2,168.9
6. กรมสรรพากร 7,195.2 7,795.9
7. สำ�นักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ 113.5 114.3
8. สำ�นักงานบริหารหนี้สาธารณะ 198,033.0 189,820.0
9. สำ�นักงานเศรษฐกิจการคลัง 285.5 638.1
10. สำ�นักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน
(องค์การมหาชน) 452.0 512.6
กระทรวงการต่างประเทศ 6,903.8 7,670.0
1. สำ�นักงานปลัดกระทรวงการต่างประเทศ 6,903.8 7,670.0
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 4,113.1 5,839.0
1. สำ�นักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 608.2 1,553.9
2. สำ�นักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ 832.9 904.8
3. สำ�นักงานพัฒนาการท่องเที่ยว 741.1 1,294.1
4. สถาบันการพลศึกษา 1,930.9 2,086.2

70
หน่วย : ล้านบาท
ปีงบประมาณ
หน่วยงาน
2553 2554
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 9,225.8 9,826.1
1. สำ�นักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 1,877.0 1,877.0
2. กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ 4,557.1 5,489.0
3. สำ�นักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว 326.7 356.6
4. สำ�นักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน
ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงอายุ 482.8 653.3
5. สำ�นักงานส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ 162.9 192.0
6. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) 1,819.3 1,258.2
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 54,357.8 76,138.4
1. สำ�นักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 3,140.4 3,190.2
2. กรมการข้าว 1,234.2 1,624.4
3. กรมชลประทาน 24,384.1 41,582.5
4. กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ 1,045.7 1,117.5
5. กรมประมง 2,785.0 3,312.3
6. กรมปศุสัตว์ 4,292.6 4,756.9
7. กรมพัฒนาที่ดิน 4,081.2 4,412.7
8. กรมวิชาการเกษตร 3,055.7 3,271.9
9. กรมส่งเสริมการเกษตร 4,394.6 5,301.4
10. กรมส่งเสริมสหกรณ์ 3,266.0 3,786.6
11. กรมหม่อนไหม - 476.3
12. สำ�นักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม 1,600.7 1,810.4
13. สำ�นักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ 230.5 245.2
14. สำ�นักงานเศรษฐกิจการเกษตร 531.1 585.5
15. สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) 316.0 463.8
16. สำ�นักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) - 200.8
กระทรวงคมนาคม 54,041.6 76,713.4
1. สำ�นักงานปลัดกระทรวงคมนาคม 322.4 400.9
2. กรมเจ้าท่า 3,339.2 4,130.8
3. กรมการขนส่งทางบก 2,163.6 2,139.3
4. กรมการบินพลเรือน 846.0 1,374.3
5. กรมทางหลวง 26,385.9 47,444.9
6. กรมทางหลวงชนบท 20,436.2 20,768.5
7. สำ�นักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร 548.3 454.7
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 20,108.5 22,341.3
1. สำ�นักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 1,151.0 1,358.3

71
หน่วย : ล้านบาท
ปีงบประมาณ
หน่วยงาน
2553 2554
2. กรมควบคุมมลพิษ 449.9 538.1
3. กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 825.9 1,067.7
4. กรมทรัพยากรธรณี 469.5 534.4
5. กรมทรัพยากรน�้ำ 5,019.1 4,902.2
6. กรมทรัพยากรน�้ำบาดาล 1,098.8 1,354.5
7. กรมป่าไม้ 3,031.1 3,339.1
8. กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม 449.8 549.5
9. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช 7,135.4 8,107.9
10. สำ�นักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 279.0 330.1
11. สำ�นักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) 119.0 158.7
12. องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) 80.0 100.8
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 3,677.6 4,070.0
1. สำ�นักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 1,311.5 1,561.4
2. กรมอุตุนิยมวิทยา 998.2 1,125.8
3. สำ�นักงานสถิติแห่งชาติ 1,039.1 1,004.5
4. สำ�นักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) 328.8 378.3
กระทรวงพลังงาน 1,869.5 2,130.0
1. สำ�นักงานปลัดกระทรวงพลังงาน 505.5 555.5
2. กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ 176.5 216.7
3. กรมธุรกิจพลังงาน 273.9 291.6
4. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน 830.8 953.2
5. สำ�นักงานนโยบายและแผนพลังงาน 62.3 91.8
6. สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) 20.5 21.2
กระทรวงพาณิชย์ 6,251.7 7,307.6
1. สำ�นักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ 1,154.3 1,353.9
2. กรมการค้าต่างประเทศ 387.8 510.5
3. กรมการค้าภายใน 770.7 1,105.0
4. กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ 383.5 428.0
5. กรมทรัพย์สินทางปัญญา 226.0 338.1
6. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า 516.2 583.2
7. กรมส่งเสริมการส่งออก 2,484.7 2,603.2
8. ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) 199.9 245.4
9. สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 128.6 140.3
กระทรวงมหาดไทย 187,998.7 231,685.0
1. สำ�นักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย 2,697.8 3,093.2
2. กรมการปกครอง 28,383.9 34,443.7
3. กรมการพัฒนาชุมชน 3,287.2 4,000.0

72
หน่วย : ล้านบาท
ปีงบประมาณ
หน่วยงาน
2553 2554
4. กรมที่ดิน 4,827.8 5,673.8
5. กรมป้องกันเเละบรรเทาสาธารณภัย 2,949.1 2,623.6
6. กรมโยธาธิการเเละผังเมือง 4,442.3 6,800.7
7. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น 126,878.4 160,025.4
8. กรุงเทพมหานคร 13,182.2 13,629.6
9. เมืองพัทยา 1,350.0 1,395.0
กระทรวงยุติธรรม 15,168.2 17,029.6
1. สำ�นักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม 559.6 804.6
2. กรมคุมประพฤติ 1,344.0 1,449.9
3. กรมคุ้มครองสิทธิเเละเสรีภาพ 362.9 410.9
4. กรมบังคับคดี 644.3 740.3
5. กรมพินิจเเละคุ้มครองเด็กเเละเยาวชน 1,368.9 1,459.8
6. กรมราชทัณฑ์ 7,910.8 8,870.3
7. กรมสอบสวนคดีพิเศษ 685.0 732.8
8. สำ�นักงานกิจการยุติธรรม 109.4 195.8
9. สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ 203.5 249.5
10. สำ�นักงานคณะกรรมการป้องกันเเละปราบปรามยาเสพติด 1,789.5 1,896.1
11. สำ�นักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ 190.3 219.6
กระทรวงเเรงงาน 21,540.6 29,170.0
1. สำ�นักงานปลัดกระทรวงเเรงงาน 1,029.0 1,146.7
2. กรมการจัดหางาน 872.6 946.1
3. กรมพัฒนาฝีมือเเรงงาน 1,537.5 1,907.0
4. กรมสวัสดิการเเละคุ้มครองเเรงงาน 873.7 964.7
5. สำ�นักงานประกันสังคม 17,227.8 24,205.5
กระทรวงวัฒนธรรม 4,347.8 5,220.0
1. สำ�นักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม 1,015.8 1,289.2
2. กรมการศาสนา 316.3 405.4
3. กรมศิลปากร 1,386.0 1,706.2
4. สำ�นักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมเเห่งชาติ 596.3 654.1
5. สำ�นักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย 135.3 146.7
6. สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ 825.2 865.2
7. ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) 72.9 94.7
8. หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) - 58.5
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 7,159.7 8,760.0
1. สำ�นักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2,206.5 2,043.9
2. กรมวิทยาศาสตร์บริการ 366.9 444.1
3. สำ�นักงานปรมาณูเพื่อสันติ 235.7 270.8

73
หน่วย : ล้านบาท
ปีงบประมาณ
หน่วยงาน
2553 2554
4. สำ�นักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 3,158.3 4,040.9
5. สำ�นักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ 96.2 110.2
6. สำ�นักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) 265.2 326.6
7. สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) 421.4 491.5
8. สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) 241.7 270.5
9. สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) 81.4 192.4
10. สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน�้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) 86.4 144.0
11. สำ�นักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) - 425.1
กระทรวงศึกษาธิการ 346,713.1 388,050.3
1. สำ�นักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ 38,089.4 41,233.9
2. สำ�นักงานเลขาธิการสภาการศึกษา 241.8 310.1
3. สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 221,100.0 241,406.9
4. สำ�นักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา 18,028.6 22,284.3
5. สำ�นักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 5,970.9 7,448.6
6. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2,870.0 3,310.8
7. มหาวิทยาลัยขอนเเก่น 3,099.3 3,614.4
8. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2,024.8 2,287.1
9. มหาวิทยาลัยนเรศวร 1,822.2 2,379.5
10. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 720.9 847.0
11. มหาวิทยาลัยแม่ โจ้ 678.1 826.5
12. มหาวิทยาลัยรามคำ�แหง 1,085.8 1,248.6
13. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2,118.6 2,694.5
14. มหาวิทยาลัยศิลปากร 921.5 1,118.3
15. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 3,267.6 3,719.5
16. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 635.0 708.9
17. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 493.7 633.8
18. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 429.8 515.8
19. สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน 80.3 96.4
20. มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 514.8 617.8
21. มหาวิทยาลัยนครพนม 382.0 489.5
22. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี 169.2 201.5
23. มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์ 76.7 92.0
24. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำ�แพงเพชร 227.8 271.8
25. มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม 259.6 315.3
26. มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ 69.1 153.9
27. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย 226.2 309.3
28. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 330.8 396.9

74
หน่วย : ล้านบาท
ปีงบประมาณ
หน่วยงาน
2553 2554
29. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี 229.2 273.3
30. มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี 205.9 247.1
31. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม 196.7 244.4
32. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 233.4 326.8
33. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 253.4 286.9
34. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 217.3 260.0
35. มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 239.6 319.4
36. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 210.8 253.0
37. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร 313.3 379.2
38. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา 153.0 217.0
39. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม 268.6 308.0
40. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี 258.2 316.6
41. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี 270.0 323.0
42. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ 215.6 257.8
43. มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต 149.9 183.9
44. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 233.5 278.6
45. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 212.8 255.4
46. มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ 197.5 236.3
47. มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด 122.0 166.4
48. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำ�ไพพรรณี 196.6 234.8
49. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 201.3 329.2
50. มหาวิทยาลัยราชภัฏลำ�ปาง 183.7 228.0
51. มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 161.7 210.9
52. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 203.7 272.3
53. มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา 272.5 324.6
54. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต 396.7 493.4
55. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 392.3 493.4
56. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี 242.0 294.9
57. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 203.1 243.7
58. มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง 132.8 159.3
59. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี 236.0 346.2
60. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ 243.4 290.1
61. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี 234.8 318.3
62. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี 821.0 985.2
63. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ 621.5 730.2
64. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก 454.4 543.0

75
หน่วย : ล้านบาท
ปีงบประมาณ
หน่วยงาน
2553 2554
65. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร 639.4 765.5
66. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ 570.8 721.7
67. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา 833.8 998.8
68. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย 700.6 827.5
69. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ 577.8 691.9
70. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน 851.7 1,017.9
71. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 767.8 1,007.4
72. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 564.2 742.7
73. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 941.2 1,128.3
74. มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 485.8 642.6
75. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 873.3 1,048.0
76. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 601.9 722.3
77. มหาวิทยาลัยมหิดล 9,027.3 10,271.1
78. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 1,061.0 1,245.2
79. มหาวิทยาลัยบูรพา 985.9 1,238.2
80. มหาวิทยาลัยทักษิณ 512.1 612.1
81. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 3,709.0 4,264.5
82. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 4,135.9 4,555.6
83. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 1,091.9 1,265.6
84. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 1,378.8 1,585.6
85. สำ�นักงานเลขาธิการคุรุสภา 190.1 298.2
86. สำ�นักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและ
สวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา 152.5 209.0
87. โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ 283.3 318.2
88. สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (องค์การมหาชน) 42.3 49.6
89. สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน ) 422.0 659.3
กระทรวงสาธารณสุข 71,625.4 88,334.2
1. สำ�นักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 58,170.7 71,071.5
2. กรมการเเพทย์ 3,494.2 5,659.3
3. กรมควบคุมโรค 3,192.3 3,379.2
4. กรมพัฒนาการเเพทย์เเผนไทยและการเเพทย์ทางเลือก 173.3 273.4
5. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 781.9 971.0
6. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 703.5 854.3
7. กรมสุขภาพจิต 1,917.3 2,343.8
8. กรมอนามัย 1,524.5 1,793.1
9. สำ�นักงานคณะกรรมการอาหารและยา 567.7 708.6
10. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข 186.8 100.6

76
หน่วย : ล้านบาท
ปีงบประมาณ
หน่วยงาน
2553 2554
11. สำ�นักงานหลักประกันสุขภาพเเห่งชาติ 858.5 964.2
12. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ 54.7 164.8
13. สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) - 50.4
กระทรวงอุตสาหกรรม 5,601.9 6,750.0
1. สำ�นักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม 1,164.3 1,435.5
2. กรมโรงงานอุตสาหกรรม 753.7 814.6
3. กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม 964.9 1,058.6
4. กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองเเร่ 305.3 393.9
5. ส�ำนักงานคณะกรรมการอ้อยเเละน�้ำตาลทราย 373.8 739.7
6. สำ�นักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม 605.1 757.3
7. สำ�นักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม 584.5 587.2
8. สำ�นักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน 850.3 963.2
ส่วนราชการไม่สังกัดสำ�นักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง 74,383.0 83,399.5
1. สำ�นักราชเลขาธิการ 477.5 474.2
2. สำ�นักพระราชวัง 2,429.4 2,606.3
3. สำ�นักงานพระพุทธศาสนาเเห่งชาติ 3,588.8 3,807.7
4. สำ�นักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงาน
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำ�ริ 83.0 225.2
5. สำ�นักงานคณะกรรมการวิจัยเเห่งชาติ 914.0 981.8
6. ราชบัณฑิตยสถาน 117.6 131.3
7. สำ�นักงานตำ�รวจแห่งชาติ 66,594.6 74,990.7
8. สำ�นักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน 178.1 182.3
หน่วยงานของรัฐสภา 4,173.7 9,014.8
1. สำ�นักงานเลขาธิการวุฒิสภา 1,189.6 1,280.8
2. สำ�นักงานเลขาธิการสภาผู้เเทนราษฎร 2,578.0 7,350.7
3. สถาบันพระปกเกล้า 406.1 383.3
หน่วยงานของศาล 12,221.5 14,525.4
1. สำ�นักงานศาลรัฐธรรมนูญ 182.4 212.2
2. สำ�นักงานศาลยุติธรรม 10,836.0 12,981.3
3. สำ�นักงานศาลปกครอง 1,203.1 1,331.9
หน่วยงานขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ 10,162.6 11,442.5
1. สำ�นักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง 1,595.8 1,724.0
2. สำ�นักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน 155.6 191.9
3. สำ�นักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ 983.7 1,032.1
4. สำ�นักงานการตรวจเงินเเผ่นดิน 1,500.2 1,653.2
5. สำ�นักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 152.0 182.0
6. สำ�นักงานอัยการสูงสุด 5,596.9 6,469.4

77
หน่วย : ล้านบาท
ปีงบประมาณ
หน่วยงาน
2553 2554
7. สำ�นักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ 178.4 189.9
จังหวัดและกลุ่มจังหวัด 3,300.0 18,000.0
1. จังหวัดนนทบุรี 32.1 156.6
2. จังหวัดปทุมธานี 35.0 176.9
3. จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 39.3 202.8
4. จังหวัดสระบุรี 33.9 154.7
5. จังหวัดชัยนาท 35.2 144.0
6. จังหวัดลพบุรี 33.4 159.1
7. จังหวัดสิงห์บุรี 30.3 121.6
8. จังหวัดอ่างทอง 31.1 129.0
9. จังหวัดฉะเชิงเทรา 37.4 177.9
10. จังหวัดปราจีนบุรี 34.3 146.1
11. จังหวัดสระแก้ว 38.2 157.1
12. จังหวัดนครนายก 34.2 135.6
13. จังหวัดสมุทรปราการ 46.0 273.1
14. จังหวัดกาญจนบุรี 36.3 170.6
15. จังหวัดนครปฐม 32.4 162.4
16. จังหวัดราชบุรี 33.6 171.6
17. จังหวัดสุพรรณบุรี 36.8 169.9
18. จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 38.7 145.5
19. จังหวัดเพชรบุรี 39.4 145.9
20. จังหวัดสมุทรสาคร 42.4 194.6
21. จังหวัดสมุทรสงคราม 35.7 142.8
22. จังหวัดชุมพร 32.9 138.4
23. จังหวัดสุราษฎร์ธานี 34.8 164.1
24. จังหวัดนครศรีธรรมราช 39.8 197.2
25. จังหวัดพัทลุง 32.3 139.5
26. จังหวัดระนอง 29.8 116.8
27. จังหวัดพังงา 28.4 123.1
28. จังหวัดภูเก็ต 28.4 126.2
29. จังหวัดกระบี่ 31.9 135.5
30. จังหวัดตรัง 32.2 140.3
31. จังหวัดสงขลา 37.5 190.0
32. จังหวัดสตูล 33.8 130.5
33. จังหวัดปัตตานี 37.6 166.4
34. จังหวัดยะลา 34.9 154.5
35. จังหวัดนราธิวาส 39.3 165.3

78
หน่วย : ล้านบาท
ปีงบประมาณ
หน่วยงาน
2553 2554
36. จังหวัดจันทบุรี 33.5 144.2
37. จังหวัดชลบุรี 44.8 246.1
38. จังหวัดระยอง 45.1 248.4
39. จังหวัดตราด 32.3 133.2
40. จังหวัดหนองคาย 44.4 172.2
41. จังหวัดเลย 43.6 158.9
42. จังหวัดอุดรธานี 45.9 192.9
43. จังหวัดหนองบัวลำ�ภู 44.4 154.5
44. จังหวัดนครพนม 47.1 179.5
45. จังหวัดมุกดาหาร 39.1 144.5
46. จังหวัดสกลนคร 47.9 188.3
47. จังหวัดร้อยเอ็ด 49.6 198.6
48. จังหวัดขอนแก่น 52.8 215.1
49. จังหวัดมหาสารคาม 43.9 163.1
50. จังหวัดกาฬสินธุ์ 45.5 180.0
51. จังหวัดอำ�นาจเจริญ 35.0 152.1
52. จังหวัดศรีสะเกษ 46.7 207.9
53. จังหวัดยโสธร 40.5 173.6
54. จังหวัดอุบลราชธานี 44.5 212.5
55. จังหวัดสุรินทร์ 42.2 197.3
56. จังหวัดนครราชสีมา 48.6 262.4
57. จังหวัดบุรีรัมย์ 46.6 219.5
58. จังหวัดชัยภูมิ 41.3 194.9
59. จังหวัดเชียงใหม่ 42.3 218.9
60. จังหวัดแม่ฮ่องสอน 48.7 187.4
61. จังหวัดลำ�ปาง 35.5 170.4
62. จังหวัดลำ�พูน 35.2 155.8
63. จังหวัดน่าน 39.7 163.2
64. จังหวัดพะเยา 39.8 164.3
65. จังหวัดเชียงราย 43.8 189.0
66. จังหวัดแพร่ 36.6 150.8
67. จังหวัดตาก 40.6 170.0
68. จังหวัดพิษณุโลก 37.3 175.3
69. จังหวัดสุโขทัย 35.8 162.0
70. จังหวัดเพชรบูรณ์ 41.4 186.0
71. จังหวัดอุตรดิตถ์ 34.7 149.1
72. จังหวัดกำ�แพงเพชร 36.0 167.5

79
หน่วย : ล้านบาท
ปีงบประมาณ
หน่วยงาน
2553 2554
73. จังหวัดพิจิตร 35.9 151.4
74. จังหวัดนครสวรรค์ 38.1 182.5
75. จังหวัดอุทัยธานี 35.0 153.1
76. กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 1 25.0 284.0
77. กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2 23.2 225.2
78. กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนกลาง 33.2 364.9
79. กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 24.8 276.9
80. กลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2 5.0 257.4
81. กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย 25.0 261.8
82. กลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอันดามัน 26.9 258.6
83. กลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน 32.7 329.3
84. กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 19.2 318.7
85. กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 5.0 278.6
86. กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 5.0 211.7
87. กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง 5.0 312.2
88. กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 31.9 362.5
89. กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 29.8 307.6
90. กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 28.9 301.8
91. กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 2 28.6 273.8
92. กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 33.9 344.6
93. กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 2 25.9 268.4
รัฐวิสาหกิจ 48,909.1 109,555.5
1. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 5,579.5 52,000.0
2. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำ�เข้าแห่งประเทศไทย 35.9 -
3. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย 7.7 41.9
4. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม - 525.0
5. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 4,549.8 5,278.0
6. การกีฬาแห่งประเทศไทย 2,503.4 2,890.0
7. การเคหะแห่งชาติ 3,306.2 3,511.5
8. องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร 339.8 444.5
9. องค์การสวนยาง 20.4 22.5
10. สำ�นักงานกองทุนสงเคราะห์การทำ�สวนยาง 977.4 1,214.3
11. การทางพิเศษแห่งประเทศไทย 7,036.0 8,143.6
12. องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ 20.5 1,308.2
13. สถาบันการบินพลเรือน 196.0 244.7
14. การรถไฟเเห่งประเทศไทย 9,216.6 11,994.9
15. การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย 6,423.1 7,626.4

80
หน่วย : ล้านบาท
ปีงบประมาณ
หน่วยงาน
2553 2554
16. องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ 100.5 140.2
17. องค์การสวนพฤกษศาสตร์ 160.8 188.7
18. องค์การจัดการน�้ำเสีย 188.6 71.4
19. องค์การสวนสัตว์ 708.6 1,029.0
20. องค์การคลังสินค้า 4,918.9 3,406.1
21. การไฟฟ้านครหลวง 8.9 646.3
22. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 62.0 3,941.3
23. การประปานครหลวง 7.0 627.9
24. การประปาส่วนภูมิภาค 1,188.3 2,501.3
25. สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์เเละเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย 716.3 846.6
26. องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ 364.3 462.8
27. องค์การเภสัชกรรม 263.6 446.4
28. การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 9.0 2.0
สภากาชาดไทย 2,724.5 3,709.3
1. สภากาชาดไทย 2,724.5 3,709.3
กองทุนเเละเงินทุนหมุนเวียน 115,761.9 132,330.5
1. กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ 200.0 230.0
2. กองทุนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ - 300.0
3. กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา 20,068.8 21,000.0
4. กองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร 1,000.0 1,000.0
5. กองทุนบริหารเงินกู้เพื่อการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะและ
พัฒนาตลาดตราสารหนี้ ในประเทศ 10.0 26.7
6. กองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม - 100.0
7. กองทุนคุ้มครองเด็ก - 60.0
8. กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ - 50.0
9. กองทุนผู้สูงอายุ - 100.0
10. กองทุนเพื่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ - 20.0
11. กองทุนจัดรูปที่ดิน 60.0 200.0
12. กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร 1,127.0 3,614.1
13. กองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ
การแข่งขันของประเทศ - 100.0
14. กองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจน - 50.0
15. กองทุนพัฒนาสหกรณ์ 100.0 116.8
16. กองทุนสงเคราะห์เกษตรกร - 200.0
17. กองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม 1,000.0 -
18. กองทุนสิ่งแวดล้อม - 100.0
19. กองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ 430.0 200.0

81
หน่วย : ล้านบาท
ปีงบประมาณ
หน่วยงาน
2553 2554
20. กองทุนยุติธรรม - 30.0
21. กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง 50.0 -
22. กองทุนเพื่อผู้ ใช้แรงงาน - 50.0
23. กองทุนส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 28.0 -
24. กองทุนเพื่อการพัฒนาระบบมาตรวิทยา 200.0 300.0
25. กองทุนสงเคราะห์ - 795.0
26. กองทุนส่งเสริมโรงเรียนในระบบ 50.0 60.0
27. กองทุนส่งเสริมและพัฒนาการศึกษาสำ�หรับคนพิการ 100.0 120.0
28. กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 89,384.8 101,057.9
29. กองทุนภูมิปัญญาแพทย์แผนไทย 130.0 150.0
30. กองทุนการแพทย์ฉุกเฉิน 390.3 525.0
31. กองทุนส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางเเละขนาดย่อม 266.0 600.0
32. กองทุนเพื่อการสืบสวนและสอบสวนคดีอาญา 550.0 500.0
33. กองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง 50.0 65.0
34. กองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง 100.0 200.0
35. กองทุนพัฒนาการกีฬาเเห่งชาติ 400.0 400.0
36. กองทุนกีฬามวย 30.0 10.0
37. กองทุนส่งเสริมกีฬาอาชีพ 37.0 -
รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง - 30,346.1
1. รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง - 30,346.1
รวมทั้งสิ้น 1,700,000.0 2,070,000.0

82
ตารางที่ 3 - 16
งบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ พ.ศ. 2554
จำ�แนกตามกระทรวงและงบรายจ่าย
หน่วย : ล้านบาท
งบรายจ่าย งบบุคลากร งบดำ�เนินงาน งบลงทุน งบเงินอุดหนุน งบรายจ่ายอื่น รวม
กระทรวง
1. งบกลาง 18,000.0 71,080.0 41,250.0 126,933.0 8,500.0 265,763.0
2. สำ�นักนายกรัฐมนตรี 3,014.7 1,886.9 589.9 8,121.6 11,860.4 25,473.5
3. กระทรวงกลาโหม 73,148.3 16,786.1 5,262.8 2,886.6 72,201.2 170,285.0
4. กระทรวงการคลัง 9,636.1 6,196.3 1,465.3 524.4 191,297.9 209,120.0
5. กระทรวงการต่างประเทศ 2,615.3 2,190.0 655.2 955.2 1,254.3 7,670.0
6. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 1,195.4 929.5 2,570.2 838.7 305.2 5,839.0
7. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 2,286.4 3,735.9 881.8 2,737.8 184.2 9,826.1
8. กระทรวงเกษตรเเละสหกรณ์ 21,212.5 12,819.4 38,226.4 2,806.4 1,073.7 76,138.4
9. กระทรวงคมนาคม 7,589.5 2,074.3 66,062.4 39.2 948.0 76,713.4
10.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 7,759.5 5,048.0 7,466.9 429.5 1,637.4 22,341.3
11.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 829.5 1,570.3 792.2 533.5 344.5 4,070.0
12.กระทรวงพลังงาน 608.6 670.1 529.8 26.9 294.6 2,130.0
13.กระทรวงพาณิชย์ 2,161.1 2,758.5 283.0 640.8 1,464.2 7,307.6
14.กระทรวงมหาดไทย 15,467.2 32,758.7 7,525.3 174,053.8 1,880.0 231,685.0
15.กระทรวงยุติธรรม 6,655.8 6,996.2 1,711.8 407.1 1,258.7 17,029.6
16.กระทรวงเเรงงาน 2,744.2 1,849.3 258.8 23,600.2 717.5 29,170.0
17.กระทรวงวัฒนธรรม 1,780.6 867.9 1,396.2 789.7 385.6 5,220.0
18.กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 311.5 538.2 89.7 7,730.3 90.3 8,760.0
19.กระทรวงศึกษาธิการ 203,802.5 28,562.0 25,801.9 124,512.4 5,371.5 388,050.3
20.กระทรวงสาธารณสุข 56,726.0 11,301.5 15,240.4 4,760.7 305.6 88,334.2
21.กระทรวงอุตสาหกรรม 1,677.2 885.5 483.9 805.2 2,898.2 6,750.0
22.ส่วนราชการไม่สังกัดสำ�นักนายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง 56,757.8 14,788.7 6,188.8 5,226.4 437.8 83,399.5
23.หน่วยงานของรัฐสภา - - - 2,260.1 6,754.7 9,014.8
24.หน่วยงานของศาล - - - - 14,525.4 14,525.4
25.หน่วยงานขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ - - - 1,915.9 9,526.6 11,442.5
26.จังหวัดและกลุ่มจังหวัด - 7,913.6 8,891.4 - 1,195.0 18,000.0
27.รัฐวิสาหกิจ - - 7,337.8 20,413.4 81,804.3 109,555.5
28.สภากาชาดไทย - - - 3,709.3 - 3,709.3
29.กองทุนเเละเงินทุนหมุนเวียน - - - 100.0 132,230.5 132,330.5

83
30.รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง - - - - 30,346.1 30,346.1
รวมทั้งสิ้น 495,979.7 234,206.9 240,961.9 517,758.1 581,093.4 2,070,000.0
แผนภูมิที่ 3 - 2
งบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีงบประมาณ 2554
จ�ำแนกตามงบรายจ่าย

28.0% 24.0%

11.3%
25.1%
11.6%

งบบุคลากร

งบด�ำเนินการ

งบลงทุน

งบเงินอุดหนุน

งบรายจ่ายอื่น

84
ตารางที่ 3 - 17
เปรียบเทียบงบประมาณรายจ่ายกับเงินเดือนเเละค่าจ้างประจำ�
หน่วย : ล้านบาท
เงินเดือนและค่าจ้าง
ปีงบประมาณ งบประมาณรายจ่าย ร้อยละของ
จำ�นวน
งบประมาณรายจ่าย
2539 843,200.0 223,717.0 26.5
2540 925,000.0 242,847.0 26.3
2541 830,000.0 291,580.9 35.1
2542 825,000.0 263,210.9 31.9
2543 860,000.0 275,047.9 32.0
2544 910,000.0 279,940.9 30.8
2545 1,023,000.0 287,494.5 28.1
2546 999,900.0 298,027.1 29.8
2547 1,163,500.0 314,610.5 27.0
2548 1,250,000.0 352,705.8 28.2
2549 1,360,000.0 374,720.0 27.6
2550 1,566,200.0 413,104.0 26.4
2551 1,660,000.0 447,011.1 26.9
2552 1,951,700.0 478,376.8 24.5
2553 1,700,000.0 474,489.0 27.9
2554 2,070,000.0 495,979.7 24.0

หมายเหตุ 1. เงินเดือนและค่าจ้าง หมายถึง เงินทีจ่ า่ ยให้แก่ขา้ ราชการและพนักงานของรัฐทุกประเภทเป็นรายเดือน


รวมถึงค่าจ้างทีจ่ า่ ยให้แก่ลกู จ้างประจ�ำของส่วนราชการ โดยมีอตั ราตามทีก่ �ำหนดไว้ ในบัญชีถอื จ่ายประจ�ำปี
รวมถึงเงินที่กระทรวงการคลังก�ำหนดให้จ่าย ในลักษณะเงินเดือน ค่าจ้างประจ�ำ และเงินเพิ่มอื่นที่จ่าย
ควบกับเงินเดือน
2. ปีงบประมาณ 2540 เป็นตัวเลขที่ปรับลดจาก พ.ร.บ.ที่ประกาศใช้จ�ำนวน 984,000 ล้านบาท
3. ปีงบประมาณ 2541 เป็นตัวเลขทีป่ รับลดและปรับเพิม่ จาก พ.ร.บ.ทีป่ ระกาศใช้ จ�ำนวน 923,000 ล้านบาท
4. ปีงบประมาณ 2547 ตัวเลขงบประมาณรายจ่ายเป็นตัวเลขทีร่ วมงบประมาณ ตาม พ.ร.บ งบประมาณ
รายจ่ายเพิม่ เติมจ�ำนวน 135,500 ล้านบาทไว้ดว้ ย
5. ปีงบประมาณ 2548 ตัวเลขงบประมาณรายจ่ายเป็นตัวเลขทีร่ วมงบประมาณตาม พ.ร.บ งบประมาณ
รายจ่ายเพิม่ เติมจ�ำนวน 50,000 ล้านบาทไว้ดว้ ย
6. ปีงบประมาณ 2549 รวมค่าใช้จา่ ยการปรับเงินค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐ
7. ปีงบประมาณ 2551 รวมค่าใช้จา่ ยการปรับเงินค่าตอบแทนบุคลากรภาครัฐ
8. ปีงบประมาณ 2552 ตัวเลขงบประมาณรายจ่ายเป็นตัวเลขทีร่ วมงบประมาณตาม พ.ร.บ งบประมาณ
รายจ่ายเพิม่ เติมจ�ำนวน 116,700 ล้านบาทไว้ดว้ ย

85
ตารางที่ 3 - 18
การใช้จ่ายเงินงบประมาณ
หน่วย : ล้านบาท
การใช้จ่ายเงินงบประมาณ
ปี งบประมาณ เงินกันไว้ งบประมาณ
งบประมาณ รายจ่าย เบิกจ่ายในปี เบิกจ่าย คงเหลือ
เบิกจ่าย รวม
งบประมาณ เหลื่อมปี
เหลื่อมปี
2548 1,250,000.0 1,140,551.4 - 129,455.3 1,270,006.7 -20,006.7
สัดส่วนต่อ
งบประมาณ 91.2 - 10.4 101.6 -1.6
2549 1,360,000.0 1,266,805.9 - 118,607.7 1,385,413.6 -25,413.6
สัดส่วนต่อ
งบประมาณ 93.2 - 8.7 101.9 -1.9
2550 1,566,200.0 1,466,915.2 - 112,594.6 1,579,509.8 -13,309.8
สัดส่วนต่อ
งบประมาณ 93.6 - 7.2 100.8 -0.8
2551 1,660,000.0 1,514,847.5 - 140,947.5 1,655,795.0 4,205.0
สัดส่วนต่อ
งบประมาณ 91.2 - 8.5 99.7 0.3
2552 1,951,700.0 1,771,446.4 - 183,414.6 1,954,861.0 -3,161.0
สัดส่วนต่อ
งบประมาณ 90.8 - 9.4 100.2 -0.2

หมายเหตุ 1. ปีงบประมาณ 2548 - 2550 และ 2552 ส่วนที่ใช้จ่ายเกินวงเงินงบประมาณ ใช้จากเงินคงคลัง


2. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 เป็นข้อมูลเบื้องต้นจากระบบ GFMIS
ที่มา 1. กรมบัญชีกลาง
2. ระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS)

86
3. งบประมาณที่จัดสรรให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หมวด 14 การปกครอง
ส่วนท้องถิน่ มาตรา 283 วรรคสาม ก�ำหนดให้มกี ฎหมายก�ำหนดแผนและขัน้ ตอนการกระจาย
อ�ำนาจ เพื่อก�ำหนดการแบ่งอ�ำนาจหน้าที่และการจัดสรรรายได้ระหว่างราชการส่วนกลาง
และราชการส่วนภูมิภาคกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และระหว่างองค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นด้วยกันเอง โดยค�ำนึงถึงการกระจายอ�ำนาจเพิ่มขึ้นตามระดับความสามารถ
ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ แต่ละรูปแบบ และตามนัยมาตรา 30 (4) ของพระราชบัญญัติ
ก�ำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอ�ำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 2)
พ.ศ. 2549 ก�ำหนดให้ รั ฐ จั ด สรรรายได้ ให้ แ ก่ อ งค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น มี ร ายได้
คิดเป็นสัดส่วนรายได้สุทธิของรัฐบาลในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ตั้งแต่ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2550 เป็ นต้ นไป และการจัดสรรเงินอุดหนุนให้แ ก่ อ งค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่น
ต้องมีจ�ำนวนไม่น้อยกว่าที่จัดสรรให้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 (เงินอุดหนุนที่จัดสรร
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 จ�ำนวน 126,013 ล้านบาท)
เพื่อให้การกระจายอ�ำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสอดคล้องกับหลักการ
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และพระราชบัญญัติก�ำหนด
แผนและขั้นตอนการกระจายอ�ำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549
ที่ต้องการให้มีการกระจายอ�ำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มขึ้น ในปีงบประมาณ
พ.ศ. 2554 ได้ ให้ความส�ำคัญกับการเสริมสร้างศักยภาพและเร่งรัดการเพิ่มประสิทธิภาพ
การจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สูงขึ้น เพื่อให้สามารถพึ่งตนเองได้มาก
ยิ่งขึ้น รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการจัดบริการสาธารณะให้แก่ประชาชนในด้านคุณภาพชีวิต
ให้ดียิ่งขึ้น จึงเห็นควรก�ำหนดสัดส่วนรายได้ที่รัฐบาลจัดสรรให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่
ต่อรายได้สุทธิของรัฐบาลเป็นร้อยละ 26.14 หรือจ�ำนวน 431,255 ล้านบาท โดยเป็นรายได้
ขององค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น ทั้ ง ที่ จั ด เก็ บ เองและรั ฐ บาลจั ด เก็ บ ให้ แ ละแบ่ ง ให้
จ�ำนวน 257,355 ล้านบาท และจัดสรรเป็นเงินอุดหนุนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
จ�ำนวน 173,900 ล้านบาท เพิม่ ขึน้ จากปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ทีไ่ ด้รบั การจัดสรรเงินอุดหนุน
ไว้ 139,895.19 ล้านบาท เป็นเงิน 34,004.81 ล้านบาท หรือร้อยละ 24.30

87
ตารางที่ 3 - 19
การจัดสรรรายได้ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554
หน่วย : ล้านบาท
ปีงบประมาณ +เพิ่ม / -ลด
ลักษณะการจัดสรร
ปี 2553 ปี 2554 จำ�นวน ร้อยละ
1. รายได้ทอี่ งค์กรปกครองส่วนท้องถิน่ จัดเก็บเอง 201,100.0 257,355.0 56,255.0 28.0
และรายได้ที่รัฐบาลเก็บให้และแบ่งให้
2. เงินอุดหนุน 139,895.2 173,900.0 34,004.8 24.3
2.1 องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และ
องค์การบริหารส่วนตำ�บล 125,363.0 158,875.4 33,512.4 26.7
2.2 กรุงเทพมหานคร 13,182.1 13,629.6 447.4 3.4
2.3 เมืองพัทยา 1,350.0 1,395.0 45.0 3.3
รวมทั้งสิ้น 340,995.2 431,255.0 90,259.8 26.5

88
4. การผูกพันงบประมาณข้ามปี
การผูกพันงบประมาณข้ามปี หมายถึง รายการงบประมาณรายจ่าย ซึ่งจะต้อง
ท�ำสัญญาก่อหนีผ้ กู พัน และมีวงเงินทีค่ าดว่าจะต้องก่อหนีผ้ กู พันงบประมาณรายจ่ายประจ�ำปี
ต่อๆ ไป โดยวงเงินผูกพันดังกล่าวจะรวมเงินเผื่อเหลือเผื่อขาดไว้ด้วยแล้ว ทั้งนี้ เป็นไป
ตามหลักการที่ก�ำหนดไว้ ในมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502
และที่แก้ ไขเพิ่มเติม
ส�ำหรับภาระผูกพันงบประมาณข้ามปีทจี่ ะเริม่ ด�ำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554
และภาระผูกพันงบประมาณข้ามปีทงั้ สิน้ ซึง่ รวมปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 ด้วยนัน้ สรุปได้ดงั นี้
4.1 ภาระผูกพันงบประมาณข้ามปีรายการใหม่ทเี่ ริม่ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554
ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 มีภาระผูกพันงบประมาณรายการใหม่ของส่วนราชการ
และรัฐวิสาหกิจที่จะเริ่มด�ำเนินการ คิดเป็นวงเงินรวม 189,981.6 ล้านบาท จ�ำแนกเป็นเงิน
งบประมาณ 177,607.8 ล้านบาท เงินนอกงบประมาณ 5,063.4 ล้านบาท และเงินส�ำรอง
เผือ่ เหลือเผือ่ ขาดอีก 7,310.4 ล้านบาท รายละเอียดเป็นรายกระทรวงปรากฏในตารางที่ 3 - 20
4.2 ภาระผูกพันงบประมาณข้ามปีทั้งสิ้น
ภาระผู ก พั น งบประมาณจากรายการที่ ไ ด้ รั บ อนุ มั ติ ไ ว้ แ ล้ ว จนถึ ง ปี ง บประมาณ
พ.ศ. 2553 รวมกับภาระผูกพันงบประมาณจากรายการใหม่ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554
แล้วจะเป็นวงเงินทีผ่ กู พัน ทัง้ สิน้ 802,577.5 ล้านบาท จ�ำแนกเป็นเงินงบประมาณ 764,690.5
ล้านบาท เงินนอกงบประมาณ 29,476.5 ล้านบาท และเงินส�ำรองเผื่อเหลือเผื่อขาด 8,410.5
ล้านบาท รายละเอียดเป็นรายกระทรวงปรากฏในตารางที่ 3 - 21
ส�ำหรับภาระผูกพันงบประมาณรวมทั้งสิ้นจนถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 จ�ำนวน
117,396.0 ล้านบาท ดังกล่าว ประกอบด้วยภาระผูกพันงบประมาณที่ได้รับอนุมัติแล้วจนถึง
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 จ�ำนวน 83,228.3 ล้านบาท และเป็นภาระผูกพันงบประมาณ
รายการใหม่ที่เริ่มในปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 จ�ำนวน 34,167.7 ล้านบาท โดยสามารถแสดง
ภาระผูกพันงบประมาณในแต่ละปี เริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 และปีงบประมาณ
ต่อๆ ไป ได้ ในตารางที่ 3 - 22

89
ตารางที่ 3 - 20

90
ภาระผูกพันงบประมาณข้ามปี สำ�หรับรายการผูกพันที่จะเริ่มดำ�เนินการ ในปีงบประมาณ 2554
จำ�แนกตามกระทรวง
หน่วย : ล้านบาท
งบประมาณ เงินสำ�รอง
เงินนอก รวมวงเงิน
กระทรวง เผื่อเหลือ
ปี 2554 ปี 2555 ปี 2556 ปี 2557 ปีต่อๆ ไป งบประมาณ ภาระผูกพัน
เผื่อขาด
สำ�นักนายกรัฐมนตรี 70.9 163.4 52.0 2.1 - - - 288.4
กระทรวงกลาโหม 11,765.3 22,188.2 20,094.1 6,275.3 - - 3,016.1 63,339.0
กระทรวงการคลัง 139.7 365.6 50.0 - - - 17.4 572.7
กระทรวงการต่างประเทศ 69.5 69.5 56.4 16.1 - - - 211.5
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 134.6 533.8 - - - - - 668.4
กระทรวงการพัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์์ 132.4 344.3 406.1 - - - - 882.8
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 5,440.3 9,870.1 6,708.3 1,506.4 - - 1,107.2 24,632.3
กระทรวงคมนาคม 3,980.5 11,105.5 8,383.8 - - - 1,081.1 24,550.9
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม 36.0 144.0 - - - - 3.0 183.0
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสาร 78.1 312.4 - - - - 36.8 427.3
กระทรวงพลังงาน 28.2 80.4 3.2 - - - - 111.8
กระทรวงพาณิชย์ 33.4 34.0 16.1 16.8 - - - 100.3
กระทรวงมหาดไทย 2,430.6 6,186.3 3,696.4 - - - 37.8 12,351.1
กระทรวงยุติธรรม 512.4 1,610.0 1,135.1 - - - 76.4 3,333.9
กระทรวงแรงงาน - - - - - - - -
หน่วย : ล้านบาท
งบประมาณ เงินสำ�รอง
เงินนอก รวมวงเงิน
กระทรวง เผื่อเหลือ
ปี 2554 ปี 2555 ปี 2556 ปี 2557 ปีต่อๆ ไป งบประมาณ ภาระผูกพัน
เผื่อขาด
กระทรวงวัฒนธรรม 185.0 665.0 525.0 - - - 8.8 1,383.8
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 46.3 105.3 1.7 - - - - 153.3
กระทรวงศึกษาธิการ 2,957.2 7,552.2 5,800.4 991.6 - 4,291.4 964.8 22,557.6
กระทรวงสาธารณสุข 2,711.2 8,125.8 3,809.9 700.0 - 287.0 180.5 15,814.4
กระทรวงอุตสาหกรรม 29.4 70.9 9.2 9.5 - - 3.5 122.5
ส่วนราชการไม่สังกัดสำ�นัก
นายกรัฐมนตรี กระทรวง หรือทบวง 224.6 383.5 190.6 - - - - 798.7
หน่วยงานของรัฐสภา 2,236.3 4,502.0 5,031.8 - - - 588.5 12,358.6
หน่วยงานของศาล 267.8 719.3 609.6 - - - 79.8 1,676.5
หน่วยงานขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ 134.2 321.1 289.7 - - 50.0 25.0 820.0
รัฐวิสาหกิจ 486.4 1,037.2 341.9 41.0 - 294.9 65.8 2,267.2
สภากาชาดไทย 37.4 90.1 90.1 - - 140.1 17.9 375.6
รวมทั้งสิ้น 34,167.7 76,579.9 57,301.4 9,558.8 0.0 5,063.4 7,310.4 189,981.6

91
92
ตารางที่ 3 - 21
ภาระผูกพันงบประมาณข้ามปีทั้งสิ้น จำ�แนกตามกระทรวง
หน่วย : ล้านบาท
ภาระผูกพันในปีงบประมาณ เงินสำ�รอง
เงินนอก รวมวงเงิน
กระทรวง เผื่อเหลือ
ถึงปี 2553 ปี 2554 ปี 2555 ปี 2556 ปี 2557 ปีต่อๆ ไป งบประมาณ ภาระผูกพัน
เผื่อขาด
สำ�นักนายกรัฐมนตรี 11,368.6 187.4 261.7 105.5 53.0 - - - 11,976.2
กระทรวงกลาโหม 63,685.8 28,915.8 32,755.8 20,095.5 6,275.3 - - 3,067.1 154,795.4
กระทรวงการคลัง 8,623.0 2,944.2 3,805.4 2,936.5 2,582.7 67,231.0 333.0 107.8 88,563.5
กระทรวงการต่างประเทศ 2,441.7 1,543.9 1,041.8 202.4 148.0 - - - 5,377.8
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา 1,721.5 1,413.1 735.5 23.7 16.9 - - - 3,910.8
กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคง -
ของมนุษย์ 713.3 330.8 469.8 406.1 - - - - 1,920.0
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 11,246.7 11,438.3 12,676.8 6,953.3 1,510.3 - - 1,129.7 44,955.1
กระทรวงคมนาคม 121,063.3 21,779.4 25,876.3 15,037.5 - - 754.5 1,374.4 185,885.4
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ -
และสิ่งแวดล้อม 1,076.6 543.6 840.3 - - - - 3.0 2,463.5
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ -
และการสื่อสาร 1,073.1 543.1 470.0 26.9 3.8 - - 36.8 2,153.8
กระทรวงพลังงาน 2,374.9 308.6 794.1 664.3 248.0 - - - 4,390.0
กระทรวงพาณิชย์ 1,047.4 244.3 156.3 37.1 16.8 - - - 1,501.8
กระทรวงมหาดไทย 18,686.8 8,996.2 19,547.5 8,885.7 6,660.2 - 5,814.8 37.8 68,629.0
กระทรวงยุติธรรม 3,435.2 1,155.5 2,358.0 1,229.7 10.1 - - 215.6 8,404.1
กระทรวงแรงงาน 69.1 109.7 - - - - - - 178.8
หน่วย : ล้านบาท
ภาระผูกพันในปีงบประมาณ เงินสำ�รอง
เงินนอก รวมวงเงิน
กระทรวง เผื่อเหลือ
ถึงปี 2553 ปี 2554 ปี 2555 ปี 2556 ปี 2557 ปีต่อๆ ไป งบประมาณ ภาระผูกพัน
เผื่อขาด
กระทรวงวัฒนธรรม 678.4 603.2 717.7 530.1 - - - 8.8 2,538.3
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 1,676.2 1,013.9 481.4 276.0 - - - - 3,447.5
กระทรวงศึกษาธิการ 36,112.0 15,499.8 18,781.4 10,759.6 4,462.8 - 16,569.5 1,262.1 103,447.2
กระทรวงสาธารณสุข 3,784.1 4,940.4 10,870.2 4,544.3 732.7 - 291.6 200.3 25,363.5
กระทรวงอุตสาหกรรม 195.2 121.1 156.6 51.0 32.4 - - 3.5 559.6
ส่วนราชการไม่สังกัดสำ�นักนายกรัฐมนตรี -
กระทรวง หรือทบวง 9,160.3 6,755.7 5,584.4 319.9 97.2 - 525.0 - 22,442.6
หน่วยงานของรัฐสภา 23.7 2,294.3 4,600.5 5,197.1 13.9 - - 601.7 12,731.1
หน่วยงานของศาล 3,703.7 1,778.8 3,391.3 2,033.1 1,230.3 - - 119.0 12,256.0
หน่วยงานขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ 2,183.2 951.8 1,834.6 504.6 1.1 - 247.6 94.7 5,817.6
รัฐวิสาหกิจ 14,208.2 1,905.3 1,202.0 385.6 60.2 - 1,102.0 65.8 18,929.1
สภากาชาดไทย 1,094.4 1,077.8 2,193.8 1,652.5 - - 3,838.6 82.6 9,939.7
รวมทั้งสิ้น 321,446.7 117,396.0 151,603.0 82,858.1 24,155.7 67,231.0 29,476.5 8,410.5 802,577.5

หมายเหตุ รายการผูกพันงบประมาณข้ามปี ของกระทรวงการคลัง ประกอบด้วย รายการค่าเช่าศูนย์ราชการกรุงเทพมหานคร ของกรมธนารักษ์


ซึ่งในตารางแสดงภาระผูกพันไว้ 7 ปี คิดเป็นวงเงิน 17,264.4 ล้านบาท
(จากวงเงินทั้งสิ้นตามสัญญา 82,114.1 ล้านบาท ระยะเวลา 30 ปี)

93
94
ตารางที่ 3 - 22
สรุปภาระผูกพันงบประมาณข้ามปีทั้งสิ้น
จำ�แนกเป็นภาระผูกพันที่ ได้รับอนุมัติแล้วกับภาระผูกพันที่เสนอขอใหม่
หน่วย : ล้านบาท
ได้รับงบประมาณ ภาระผูกพันในปีงบประมาณ รวมภาระ
เงินสำ�รอง
ตั้งแต่ ปี 2558 งบประมาณ เงินนอก
รายการ เผื่อเหลือ รวม
เริ่มดำ�เนินการ ปี 2554 ปี 2555 ปี 2556 ปี 2557 และ ปี 2554 งบประมาณ
เผื่อขาด
จนถึงปี 2553 ปีต่อๆ ไป จนถึงสิ้นสุด
1. รายการที่อนุมัติ
ให้ผูกพันแล้ว
จนถึงปี 2553 321,446.7 83,228.3 75,023.1 25,556.7 14,596.9 67,231.0 265,636.0 24,413.1 1,100.1 612,595.9
1.1 ภาระผูกพัน
ก่อนปี 2553 317,748.7 67,967.7 65,240.6 21,832.2 14,596.9 67,231.0 236,868.4 22,477.3 230.1 576,864.3
1.2 ภาระผูกพัน
ปี 2553 3,698.0 15,260.6 9,782.5 3,724.5 0.0 - 28,767.6 1,935.8 870.0 35,731.6
2. เสนอขอผูกพันใหม่
ในปี 2554 - 34,167.7 76,579.9 57,301.4 9,558.8 - 177,607.8 5,063.4 7,310.4 189,981.6

รวมทั้งสิ้น 321,446.7 117,396.0 151,603.0 82,858.1 24,155.7 67,231.0 443,243.8 29,476.5 8,410.5 802,577.5
แผนภูมิที่ 3 - 3
สรุปภาระผูกพันงบประมาณข้ามปีทั้งสิ้น

ล้านบาท
160,000.0
151,603.0
140,000.0
117,396.0
120,000.0

100,000.0
82,858.1
80,000.0
67,231.0
60,000.0

40,000.0 24,155.7

20,000.0

0.0

2554 2555 2556 2557 2558

ขออนุมัติผูกพันปี 2554

ผูกพันปี 2553

ผูกพันก่อนปี 2553

หมายเหตุ ไม่รวมเงินนอกงบประมาณและเงินส�ำรองเผื่อเหลือเผื่อขาด

95
ภาค 4
การคลังของรัฐบาล

1. ฐานะการคลังของรัฐบาล
รายได้ หมายถึง รายได้ที่น�ำส่งคลังในแต่ละปีงบประมาณ ซึ่งประกอบด้วย รายได้
จากภาษีอากร รายได้จากการขายสิ่งของและบริการ รายได้จากรัฐพาณิชย์ และรายได้อื่นๆ
รายจ่าย หมายถึง รายจ่ายจริงจากเงินงบประมาณประจ� ำปีงบประมาณนั้นๆ
และรายจ่ายจากปีงบประมาณก่อนๆ ซึ่งเป็นรายจ่ายจากเงินกันไว้เบิกจ่ายเหลื่อมปี
เงินนอกงบประมาณ หมายถึง เงินใดๆ ที่ไม่ ใช่เงินงบประมาณ ซึ่งส่วนราชการ
และองค์การน�ำมาฝากไว้กับกระทรวงการคลัง เช่น เงินกู้จากต่างประเทศ เงินทุนหมุนเวียน
เป็นต้น
เงินกู้ หมายถึง การกู้เงินของรัฐบาลในแต่ละปีงบประมาณเพื่อชดเชยการขาดดุล
งบประมาณหรือเมื่อมีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ โดยอาศัยอ�ำนาจตามมาตรา 9 ทวิ ของ
พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2502 และที่แก้ ไขเพิ่มเติม และมาตรา 21 ของ
พระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 ซึ่งก�ำหนดให้กู้ ได้ร้อยละ 20 ของ
งบประมาณรายจ่ายประจ�ำปีที่ใช้บังคับอยู่ ในขณะนั้นและงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
กับอีกร้อยละ 80 ของงบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ส�ำหรับช�ำระคืนต้นเงินกู้ การกู้เงินดังกล่าว
จะเป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ก�ำหนดในกฎหมายว่าด้วยหนี้สาธารณะ

96
ตารางที่ 4 - 1
ฐานะการคลังของรัฐบาล
หน่วย : ล้านบาท
ปีงบประมาณ
2548 2549 2550 2551 2552*
รายการ
รายได้ 1,214,000.3 1,332,099.2 1,428,294.9 1,537,719.0 1,451,254.9
รายจ่าย 1,245,957.3 1,391,925.7 1,571,737.6 1,615,773.6 1,897,712.8
ดุลเงินงบประมาณ -31,957.0 -59,826.5 -143,442.7 -78,054.6 -446,457.9
ดุลเงินนอกงบประมาณ -4,184.1 73,707.0 4,117.2 -3,980.6 42,958.1
ดุลเงินสด -36,141.1 13,880.5 -139,325.5 -82,035.2 -403,499.8
ชดเชยการขาดดุลเงินกู้ - - 146,200.0 164,252.5 441,060.5
ผลกระทบต่อเงินคงคลัง -36,141.1 13,880.5 6,874.5 82,217.3 37,560.7
ฐานะเงินคงคลังสิ้นปีงบประมาณ 117,926.2 155,423.6 142,806.1 229,060.3 293,835.2

หมายเหตุ *เป็นข้อมูลเบื้องต้นจากระบบ GFMIS


ที่มา กรมบัญชีกลาง

ส�ำหรับฐานะเงินคงคลังเป็นรายเดือน ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 - 2552


ปรากฏตามแผนภูมิที่ 4 - 1

97
แผนภูมิที่ 4 - 1
เงินคงคลัง
ปีงบประมาณ 2548 - 2552

พันล้านบาท
450
400
350
300
250
200
150
100
50
0
.47 .48 .48 .49 .49 .50 .50 .51 .51 .52 .52
ต.ค เม.ย ต.ค เม.ย ต.ค เม.ย ต.ค เม.ย ต.ค เม.ย ก.ย

98
2. หนี้สาธารณะ
หนีส้ าธารณะทีเ่ ป็นข้อผูกพันของรัฐบาลซึง่ เกิดจากการกูย้ มื โดยตรง และการค�ำ้ ประกัน
เงินกู้ โดยรัฐบาล

ตารางที่ 4 - 2
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 มกราคม 2553
หน่วย : ล้านบาท
ลักษณะเงินกู้ รัฐบาลกู้ โดยตรง รัฐบาลค�้ำประกัน รวม
ในประเทศ 2,587,800.9 583,052.2 3,170,853.1
อัตราเพิ่ม/(ลด)1 21.3 (7.4) 14.7
สัดส่วนต่องบประมาณ2 152.2 34.3 186.5
สัดส่วนต่อ GDP3 26.6 6.0 32.6
ต่างประเทศ4 57,216.7 179,783.1 236,999.8
อัตราเพิ่ม/(ลด)1 (23.7) (11.0) (14.4)
สัดส่วนต่องบประมาณ2 3.4 10.6 13.9
สัดส่วนต่อ GDP3 0.6 1.8 2.4
รวม 2,645,017.6 762,835.3 3,407,852.9
อัตราเพิ่ม/(ลด)1 19.8 (8.3) 12.1
สัดส่วนต่องบประมาณ2 155.6 44.9 200.5
สัดส่วนต่อ GDP3 27.2 7.8 35.0

หมายเหตุ 1. อัตราเพิ่ม/ลด เป็นการเปรียบเทียบกับวันที่ 31 มกราคม 2552


2. งบประมาณที่ใช้เปรียบเทียบ คือ งบประมาณรายจ่ายประจำ�ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ซึ่งเท่ากับ
1,700,000 ล้านบาท
3. GDP ปี 2553 เท่ากับ 9,726,200 ล้านบาท ตามแถลงภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่ 4 ทั้งปี 2552
และแนวโน้มปี 2553 ของ สศช. ณ วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2553
4. อัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสหรัฐ = 33.1039 บาท ณ วันที่ 29 มกราคม 2553 ซึ่งเป็นวันทำ�การ
สุดท้ายของเดือน
ที่มา สำ�นักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง

99
แผนภูมิที่ 4 - 2
หนี้สาธารณะคงค้าง
ณ วันที่ 31 มกราคม 2553
ยอดรวม 3,407,852.9 ล้านบาท

ล้านบาท
3,500,000
3,000,000
2,500,000
2,000,000
1,500,000
1,000,000
500,000
0
เทศ ระเทศ รวม
ในประ ่างป

รัฐบาลกู้ โดยตรง รัฐบาลค�้ำประกัน

100
2.1 หนี้ภายในประเทศ
2.1.1 หนี้คงค้าง
รัฐบาลมีหนี้สินและข้อผูกพันในประเทศ ณ วันที่ 31 มกราคม 2553 เป็ น จ� ำ นวน
3,170,853.1 ล้านบาท เป็นพันธบัตรจ�ำนวน 2,189,695.4 ล้านบาท ตั๋วสัญญาใช้เงินจ�ำนวน
100,565.5 ล้ า นบาท ตั๋ ว เงิ น คลั ง จ� ำ นวน 202,540 ล้ า นบาท สั ญ ญาเงิ น กู ้ ร ะยะสั้ น
จ�ำนวน 95,000 ล้านบาท ที่เหลือเป็นการค�้ำประกันเงินกู้ของรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเบิกแล้ว
และค้างช�ำระอีกจ�ำนวน 583,052.2 ล้านบาท

ตารางที่ 4 - 3
หนี้ภายในประเทศคงค้าง ณ วันที่ 31 มกราคม 2553
หน่วย : ล้านบาท
แหล่งเงินกู้ รัฐบาลกู้ โดยตรง รัฐบาลค�้ำประกัน รวม
1. ธนาคารแห่งประเทศไทย 17,286.2 2,394.5 19,680.7

2. สถาบันการเงินที่รับฝากเงิน 904,846.4 183,585.7 1,088,432.1

3. สถาบันการเงินอื่นและอื่นๆ 1,665,668.3 397,072.0 2,062,740.3

รวม 2,587,800.9 583,052.2 3,170,853.1

ที่มา สำ�นักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง


ธนาคารแห่งประเทศไทย

101
แผนภูมิที่ 4 - 3
หนี้ภายในประเทศ
ณ วันที่ 31 มกราคม 2553
ยอดรวม 3,170,853.1 ล้านบาท

ล้านบาท
2,200,000
2,000,000
1,800,000
1,600,000
1,400,000
1,200,000
1,000,000
800,000
600,000
400,000
200,000
0

ไทย เงิน อื่นๆ


ทศ ฝาก และ
ง่ ประเ ่รี ับ ื่น
ห ินท เงินอ
ค ารแ กา รเง การ
ธนา บัน บัน
สถา สถา

รัฐบาลกู้ โดยตรง รัฐบาลค�้ำประกัน

102
2.1.2 เงินกู้ประจ�ำปีงบประมาณ
เงินกู้ภายในประเทศโดยตรงของรัฐบาลประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 รัฐบาล
ได้กเู้ งินทัง้ สิน้ จ�ำนวน 836,221.7 ล้านบาท จ�ำแนกเป็นเงินกูเ้ พือ่ ชดเชยการขาดดุลงบประมาณ
จ�ำนวน 347,060.5 ล้านบาท เงินกู้กรณีรายจ่ายสูงกว่ารายได้จ�ำนวน 94,000 ล้านบาท
เงินกูเ้ พือ่ การบริหารและจัดการหนีจ้ �ำนวน 217,000 ล้านบาท ตามพระราชบัญญัตกิ ารบริหาร
หนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 เงินกู้เพื่อกองทุน
เพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF1) จ�ำนวน 49,999.2 ล้านบาท
ตามพระราชก�ำหนดให้อ�ำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุน
เพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 เงินกู้เพื่อกองทุนเพื่อการฟื้นฟู
และพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF3) จ�ำนวน 48,162 ล้านบาท ตามพระราชก�ำหนด
ให้ อ� ำ นาจกระทรวงการคลั ง กู ้ เ งิ น และจั ด การเงิ น กู ้ เ พื่ อ ช่ ว ยเหลื อ กองทุ น เพื่ อ การฟื ้ น ฟู
และพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. 2545 และเงินกู้เพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้าง
ความมั่ น คงทางเศรษฐกิ จ จ� ำ นวน 80,000 ล้ า นบาท ตามพระราชก� ำ หนดให้ อ� ำ นาจ
กระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552

ตารางที่ 4 - 4
เงินกู้ภายในประเทศโดยตรงของรัฐบาล
หน่วย : ล้านบาท
ปีงบประมาณ
2550 2551 2552 2553 2554
แหล่งเงินกู้
1. ธนาคารแห่งประเทศไทย 23,680.8 750.9 1,211.9

2. สถาบันการเงินที่รับฝากเงิน 263,407.1 129,427.5 296,679.8 1,162,171.0 899,189.0

3. สถาบันการเงินอื่นและอื่นๆ 115,413.1 284,271.6 538,330.0

รวม 402,501.0 414,450.0 836,221.7 1,162,171.0 899,189.0

หมายเหตุ 1. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 เป็นผลการด�ำเนินงานตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะ


2. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 เป็นวงเงินในแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ปรับปรุงครั้งที่ 3
3. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 เป็นข้อมูลเบื้องต้น
ที่มา ธนาคารแห่งประเทศไทย
ส�ำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง

103
2.2 หนี้ต่างประเทศ
2.2.1 หนี้คงค้าง
ณ วันที่ 31 มกราคม 2553 รัฐบาลมีหนี้คงค้างจ�ำนวน 7,159.28 ล้านเหรียญสหรัฐ
(ประมาณ 236,999.84 ล้านบาท) จ�ำแนกเป็นการกู้ โดยตรงของรัฐบาล 1,728.40 ล้านเหรียญ
สหรัฐ (ประมาณ 57,216.76 ล้านบาท) และการค�้ำประกันเงินกู้ของรัฐวิสาหกิจ 5,430.88
ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 179,783.08 ล้านบาท)

ตารางที่ 4 - 5
หนี้ต่างประเทศคงค้าง ณ วันที่ 31 มกราคม 2553
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
แหล่งเงินกู้ รัฐบาลกู้ โดยตรง รัฐบาลค�้ำประกัน รวม
1. ธนาคารโลก 133.02 - 133.02

2. ธนาคารพัฒนาเอเชีย - 12.99 12.99

3. องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น 822.85 5,093.78 5,916.63

4. ตลาดเงินทุน 652.15 94.95 747.10

5. อื่นๆ 120.38 229.16 349.54

รวม 1,728.40 5,430.88 7,159.28

หมายเหตุ อัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสหรัฐ = 33.1039 บาท ณ วันที่ 29 มกราคม 2553


ที่มา ส�ำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง

104
แผนภูมิที่ 4 - 4
หนี้ต่างประเทศ
ณ วันที่ 31 มกราคม 2553
ยอดรวม 7,159.28 ล้านเหรียญสหรัฐ

ล้านเหรียญสหรัฐ

6,000

5,000

4,000

3,000

2,000

1,000

0
โลก เชีย ี่ปุ่น ุน ๆ
าร อ ญ เงินท อื่น
นาค นาเ ของ ลาด
ธ รพัฒ ระเทศ ต
คา
ธนา ว ่างป
ือระห
่วมม
ความร
์การ
องค
รัฐบาลกู้ โดยตรง รัฐบาลค�้ำประกัน

105
2.2.2 เงินกู้ประจ�ำปีงบประมาณ
เงินกู้ต่างประเทศ มีสองประเภทหลัก คือ การกู้ โดยตรงของรัฐบาล และการกู้
ของรัฐวิสาหกิจซึ่งรัฐบาลค�้ำประกัน การกู้จากต่างประเทศอาจจ�ำแนกได้ตามแหล่งเงินกู้
ที่ส�ำคัญ ดังนี้
1. ธนาคารโลก (IBRD)
2. องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA)
3. ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB)
4. ตลาดเงินทุน
5. อื่นๆ
แผนการก่อหนีจ้ ากต่างประเทศ ประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 มีวงเงินรวมทั้งสิ้น
3,438.80 ล้านเหรียญสหรัฐ ประกอบด้วย โครงการที่รัฐบาลกู้ โดยตรง 3 โครงการ วงเงิน
2,036.50 ล้านเหรียญสหรัฐ และโครงการที่รัฐบาลค�้ำประกัน 7 โครงการ วงเงิน 1,402.30
ล้านเหรียญสหรัฐ
การจัดท�ำแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 จะพิจารณา
จากปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรอบการกู้เงินและการค�้ำประกันตามที่กฎหมายก�ำหนด
ความต้องการกู้เงินจากแหล่งเงินต่างประเทศเพื่อใช้ ในโครงการลงทุนที่มีค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่ง
ที่ต้องจ่ายเป็นเงินตราต่างประเทศ ปัญหาค่าเงินบาท แรงกดดันจากการเคลื่อนย้ายเงินทุน
ความมีเสถียรภาพของค่าเงินบาท ดุลบัญชีเดินสะพัด และเงินทุนส�ำรองของประเทศ
ตลอดจนการพิจารณาสัดส่วนภาระหนีต้ า่ งประเทศต่อรายได้จากการส่งออกสินค้าและบริการ
(Debt Service Ratio : DSR) ทีก่ ำ� หนดไว้ ไม่เกินร้อยละ 9 นอกจากนี้ ได้มกี ารก�ำหนดแผนการ
กู ้ เ งิ น ในประเทศทดแทนเงิ น กู ้ จ ากต่ า งประเทศของรั ฐ วิ ส าหกิ จ ซึ่ ง เป็ น การกู ้ เ งิ น บาท
จากแหล่งเงินทุนในประเทศเพือ่ ใช้จา่ ยในส่วนของค่าใช้จา่ ยทีเ่ ป็นเงินตราต่างประเทศทีก่ ำ� หนด
ไว้เดิมว่าจะกู้จากตลาดเงินทุนต่างประเทศ และแหล่ง Export Credit โดยมีเป้าหมาย
เพื่อลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ลดต้นทุนการกู้เงิน และสนับสนุนการพัฒนาตลาด
ตราสารหนี้ในประเทศ

106
ตารางที่ 4 - 6
เงินกู้ต่างประเทศโดยตรงของรัฐบาล
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ปีงบประมาณ
2550 2551 2552 2553 2554
แหล่งเงินกู้
1. ธนาคารโลก - - - 1,074.30

2. ธนาคารพัฒนาเอเชีย - - - 586.28 554.87

3. องค์การความร่วมมือระหว่าง - - 649.08 375.92


ประเทศของญี่ปุ่น

4. ตลาดเงินทุน - - - - -

5. อื่นๆ - - - - -

รวม - - 649.08 2,036.50 554.87

หมายเหตุ 1. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 - 2552 เป็ น ผลการด� ำ เนิ น งานตามแผนการก่ อ หนี้ จ ากต่ า งประเทศ
ภายใต้แผนการบริหารหนี้สาธารณะ
2. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 เป็นวงเงินตามแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศ ปรับปรุงครั้งที่ 3
3. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 เป็นข้อมูลตามแผนโครงการเงินกู้ 3 ปี ของส�ำนักงานคณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ที่มา ส�ำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง

107
ตารางที่ 4 - 7
เงินกู้ต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจซึ่งรัฐบาลค�้ำประกัน
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ปีงบประมาณ
2550 2551 2552 2553 2554
แหล่งเงินกู้
1. ธนาคารโลก - - - - -

2. ธนาคารพัฒนาเอเชีย - - - - -

3. องค์การความร่วมมือระหว่าง - 628.56 - 612.30 3,709.23


ประเทศของญี่ปุ่น

4. ตลาดเงินทุน - - - - -

5. อื่นๆ - - - 790.00 -

รวม - 628.56 - 1,402.30 3,709.23

หมายเหตุ 1. ปีงบประมาณ 2550 - 2552 เป็นผลการด�ำเนินงานตามแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศภายใต้แผน


การบริหารหนีส้ าธารณะ
2. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 เป็นวงเงินตามแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศ ปรับปรุงครั้งที่ 3
3. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2554 เป็นข้อมูลเบื้องต้นตามแผนโครงการเงินกู้ 3 ปี ของส�ำนักงานคณะกรรมการ
พั ฒ นาการเศรษฐกิ จ และสั ง คมแห่ ง ชาติ ซึ่ ง ไม่ ร วมวงเงิ น ของธนาคารเพื่ อ การส่ ง ออกและน� ำ เข้ า
แห่งประเทศไทย
ที่มา ส�ำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง

108
2.2.3 แผนการเบิกจ่ายเงินกู้ต่างประเทศประจ�ำปีงบประมาณ 2554
ในปี ง บประมาณ พ.ศ. 2554 หน่ว ยราชการภาครั ฐ มี แ ผนที่ จ ะเบิ ก จ่ า ยเงิ น กู ้
ต่างประเทศจากการกู้ตรงของรัฐบาล จ�ำนวน 2,324.2 ล้านบาท

ตารางที่ 4 - 8
แผนการเบิกจ่ายเงินกู้ต่างประเทศ ประจ�ำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554

หน่วย : ล้านบาท
ประมาณการเบิกจ่าย
กระทรวง/หน่วยงาน/โครงการ แหล่งเงินกู้
เงินบาท
เงินกู้ รวม
สมทบ
รวมทั้งสิ้น 1,460.3 863.9 2,324.2
1. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 15.0 10.2 25.2
สำ�นักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม 15.0 10.2 25.2
- โครงการเงินกู้ OECF เพื่อฟื้นฟูสภาพแวดล้อม JICA 15.0 10.2 25.2
ที่เสื่อมโทรมในเขตปฏิรูปที่ดิน
2. กระทรวงคมนาคม 1,445.3 853.7 2,299.0
กรมทางหลวง 648.1 648.1 1,296.2
- โครงการเร่งรัดขยายทางสายประธานให้เป็น World Bank / 648.1 648.1 1,296.2
4 ช่องจราจร (ระยะที่ 2) ADB
กรมทางหลวงชนบท 797.2 205.6 1,002.8
- โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น�้ำเจ้าพระยา JICA 797.2 205.6 1,002.8
บริเวณถนนนนทบุรี 1

หมายเหตุ อัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสหรัฐ = 34 บาท, 100 เยน = 37 บาท


ที่มา ส�ำนักงบประมาณ

109
3. ความช่วยเหลือจากต่างประเทศ
ประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและวิชาการจากต่างประเทศ
ในรูปของผู้เชี่ยวชาญ อาสาสมัคร ทุนการศึกษาและฝึกอบรม วัสดุอุปกรณ์ และเงินให้เปล่า
ความช่วยเหลือส่วนใหญ่จัดสรรให้ ในด้านการศึกษา การเกษตร การบริหารทั่วไป และ
การพัฒนาสังคม
ความช่วยเหลือที่รัฐบาลได้รับจ�ำแนกตามแหล่งที่มาได้ ดังนี้

ตารางที่ 4 - 9
ความช่วยเหลือจากต่างประเทศ
หน่วย : ล้านบาท
ปีงบประมาณ
แหล่งความช่วยเหลือ
2550 1
25512 25523
1. ญี่ปุ่น 288.2 216.6 210.6
2. ประเทศในยุโรป สแกนดิเนเวีย และแคนาดา 365.7 269.3 235.2
3. สหรัฐอเมริกา 237.1 90.8 89.0
4. ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ประเทศในเอเชีย 4.7 4.0 4.7
5. สหประชาชาติ 108.3 100.2 104.8
6. สหภาพยุโรป 26.4 50.7 14.1
7. อาสาสมัคร 157.0 130.3 130.1
8. องค์กรเอกชนต่างประเทศ 330.6 456.4 450.4
4
9. แหล่งอื่นๆ 1.8 2.3 2.8
รวม 1,519.8 1,320.6 1,241.7

หมายเหตุ 1. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2550 อัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสหรัฐ = 35.30 บาท


2. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 อัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสหรัฐ = 33.12 บาท
3. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 อัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสหรัฐ = 34.65 บาท
4. แหล่งอื่นๆ ได้แก่ องค์การการศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่มประเทศอาเซียน
วิทยาลัยนักบริหารการศึกษาช่างเทคนิคแผนโคลัมโบ และประเทศในแอฟริกา
ที่มา ส�ำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ

110
แผนภูมิที่ 4 - 5
ความช่วยเหลือจากต่างประเทศ
ปีงบประมาณ 2550 - 2552

ล้านบาท

500

400

300

200

100

0

ุ่น
ญี่ป คนาด
า ริกา อเช
ีย ชาต โุ รป ัคร
ระเ
ทศ ื่นๆ
เม เ ชา าพย าสม ล่งอ
ล ะ แ รัฐอ ศใน ประ สห
ภ อาส ต่าง
ป แห
ีย แ สห ร ะเท สห น
ิเนเว ด์ ป รเ อกช
นด ีแลน งค์ก
สแก ิวซ อ
ป ีย น
ยุโร เตร
เล
ศใน
เท ออส
ประ

ปี 2550 ปี 2551 ปี 2552

111
4. เงินและทรัพย์สินช่วยราชการ
ในปีหนึ่งๆ รัฐบาลได้รับเงินและทรัพย์สินที่บุคคล บริษัท ห้างร้าน สถาบัน บริจาค
เพือ่ ช่วยเหลือแก่สว่ นราชการตามวัตถุประสงค์ตา่ งๆ ซึง่ ส�ำนักงบประมาณได้พยายามรวบรวม
จ�ำนวนเงินและทรัพย์สินที่ได้รับบริจาคนี้ ตามรายงานของส่วนราชการต่างๆ ที่ส่งมายัง
ส�ำนักงบประมาณ ในรอบปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2551 ถึงวันที่
30 กันยายน 2552 (12 เดือน) และปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2552
ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553 (5 เดือน) ดังนี้
1. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 จ�ำนวนเงินสดและมูลค่าทรัพย์สินที่ได้รับบริจาค
รวมทัง้ สิน้ 3,967.5 ล้านบาท ซึง่ ในจ�ำนวนนีเ้ ป็นเงินสด 1,708.6 ล้านบาท และมูลค่าทรัพย์สนิ
2,258.9 ล้านบาท
2. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 จ�ำนวนเงินสดและมูลค่าทรัพย์สินที่ได้รับบริจาค
รวมทัง้ สิน้ 2,173.4 ล้านบาท ซึง่ ในจ�ำนวนนีเ้ ป็นเงินสด 1,201.0 ล้านบาท และมูลค่าทรัพย์สนิ
972.4 ล้านบาท

ตารางที่ 4 - 10
เงินและทรัพย์สินช่วยราชการ
หน่วย : ล้านบาท
เงินสด ทรัพย์สิน
ปีงบประมาณ
รับ จ่าย คงเหลือ (มูลค่า)
2544 705.9 892.5 -186.6 2,068.3
2545 762.2 890.1 -127.9 1,630.9
2546 539.9 545.8 -5.9 1,491.3
2547 927.4 764.7 162.7 1,300.8
2548 2,132.3 1,817.7 314.6 2,825.6
2549 784.9 783.8 1.1 2,069.3
2550 1,102.9 830.3 272.6 2,216.1
2551 2,099.4 2,020.3 79.1 3,566.5
2552 1,708.6 1,723.9 -15.3 2,258.9
2553 1,201.0 649.5 551.5 972.4

112
พิมพ์ที่ บริษัท รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977) จ�ำกัด โทร. 0-2743-9000
งบประมาณโดยสังเขป ประจำปงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔
งบประมาณ
โดยสังเขป
ประจำปงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๔

สำนักงบประมาณ
สำนักนายกรัฐมนตรี

สำนักงบประมาณ
สำนักนายกรัฐมนตรี

You might also like